การวิเคราะห์เนื้อหาผลงาน Meta R2R ปี 2566


การวิเคราะห์เนื้อหาผลงาน Meta R2R ปี 2566

 

นิภาพร ลครวงศ์

การวิเคราะห์เนื้อหาผลงาน Meta R2R ปี 2566 จากจำนวนที่ส่งมาทั้งหมด 37 เรื่อง และผ่านการพิจารณาคัดเลือกที่เข้าเกณฑ์และคุณสมบัติตามลักษณะของ Meta R2R จำนวน 8 เรื่อง และได้รับคัดเลือกเป็นผลงาน R2R ดีเด่น จำนวน 4 เรื่อง จากผลงานที่ส่งมาดังกล่าวสะท้อนให้เห็นว่า ความรู้ความเข้าใจในเรื่อง Meta R2R ยังมีความคลาดเคลื่อนอยู่มาก จากนิยามถึงความหมายของ Meta R2R คือ การทำ R2R ตั้งแต่จำนวน 2 เรื่องขึ้นไปภายใต้ Issue base หรือ Area Base และผู้วิจัยมีส่วนเกี่ยวข้องในทุกผลงาน แต่ร้อยละ 78.38 ที่ส่งผลงานไม่ได้เข้าข่ายคุณลักษณะของ Meta R2R และมีความคลาดเคลื่อนระหว่างงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development) ที่มีการศึกษาเป็นระยะ 3-4 ระยะ(Phase) ตีความว่าเป็นงานวิจัย Meta R2R

จากปรากฏการณ์ดังกล่าวสะท้อนให้เห็นได้ว่า ระยะเวลาที่ผ่านมาที่เริ่มมีการเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับMeta R2R ยังมีความคลาดเคลื่อนและเข้าใจผิดอยู่ค่อนข้างมาก การเข้าถึงความรู้และการออกแบบงานวิจัยให้มีลักษณะเป็นงานวิจัยหลายๆ ผลงานในประเด็นเดียวกันและศึกษาต่อเนื่องมาในช่วงเวลาหนึ่ง และท้ายที่สุดสังเคราะห์ผลงานวิจัยจากจำนวนดังกล่าว สะท้อนผลออกมาเป็นภาพรวมเชิงระบบ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะสามารถสะท้อนให้เห็นถึงศักยภาพและความสามารถของนักวิจัยทั้งมิติความคิดที่เป็นระบบ (System Thinking) หรือกระบวนการคิดเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ (Systematic Thinking) ในการแก้ปัญหาหรือตอบโจทย์ปัญหาทางการวิจัย (Research Question) 

การพัฒนางานวิจัยด้วยรูปแบบ Meta R2R นอกจากจะเป็นการแก้ปัญหาและพัฒนางานอย่างเป็นระบบแล้ว ยังเป็นการพัฒนาสมรรถของนักวิจัยให้มีทักษะและศักยภาพที่สูงขึ้นได้

 

จำนวนผลงานทั้ง 37 เรื่องที่ส่งมาประเด็นหรือโจทน์คำถามการวิจัยยังเกี่ยวข้องกับโรคเรื้อรัง อาทิเช่น เบาหวาน ความดันโลหิต โรคหลอดเลือดในสมอง เป็นต้น และเกือบครึ่งหนึ่งเป็นโรคโควิด-19และเข้าข่ายเป็นลักษณะงาน Meta R2R จำนวน 8 เรื่องที่ได้รับบทความวิจัย (Manu script) จำนวนผลงานวิจัยย่อย(R2R)จะมีตั้งแต่ 3 เรื่องขึ้นไปจนถึง 6-7 เรื่อง ระยะเวลาในการศึกษาประมาณ 1 ปี ขึ้นไป และสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของนักวิจัยในการพัฒนาประเด็นการวิจัยดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

 

สิ่งที่เห็นเป็นพัฒนาการเพิ่มขึ้นของผลงานที่ผ่านเข้ารอบการพิจารณา คือ การเขียนผลการวิจัย มีการเขียนในเชิงสังเคราะห์ผลการวิจัย (Research Synthesis) มากขึ้น ทำให้ผลงานมีคุณค่าและความงดงามในมิติทางสุนทรียศาสตร์การวิจัยมากขึ้น 

 

สำหรับผลงานที่ได้รับคัดเลือกเป็นผลงาน Meta R2R ดีเด่น จำนวน 4 เรื่องต่างมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันและสามารถเป็นผลงานต้นแบบแห่งการเรียนรู้ได้ดี ประกอบด้วย

เรื่องที่หนึ่ง การใช้รถจักรยานยนต์ฉุกเฉินในระบบการแพทย์ฉุกเฉินเพื่อการเข้าถึงผู้ป่วยอย่างรวดเร็ว - เป็นงานวิจัยพัฒนาทางนวตกรรมที่ดี มีลักษณะการสังเคราะห์งานที่ดี      - ผลวิจัยได้นำเสนอในระดับ International หลายเรื่อง

 

เรื่องที่สอง การพัฒนาระบบการพยาบาลควบคุมการติดเชื้อในช่วงวิกฤตการณ์โควิด-19 บริบทผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และโรงพยาบาลสนาม โรงพยาบาลยโสธร ' เป็นงานวิจัยในสถานการณ์ COVID-19 ที่ดี    - ทำให้เกิด COVID โมเดล

 

เรื่องที่สาม การพัฒนาแนวทางการดูแลและการป้องกันการติดเชื้อโรคโควิด-19 บริบทโรงพยาบาลชุมชน : โรงพยาบาลนาตาล จ.อุบลราชธานี - เป็นงานวิจัยในสถานการณ์ COVID-19 ที่ดี   - ทำให้เกิดโมเดลการจัดการของโรงพยาบาลชุมชน

 

การพัฒนารูปแบบการคุณภาพสมุนไพรต่อคุณภาพชีวิตของสมาชิกกลุ่มปลูกสมุนไพรอินทรีย์เขตอำเภอกุดชุม จังหวัดยโสธร '- เป็นงานวิจัย Issue based ที่ดี    - เป็นการศึกษาสมุนไพรและใช้ภูมิปัญญาไทยมาเชื่อมโยง    - มีเภสัชกรเป็นทีมนำวิจัยทำให้อุดช่องโหว่ของงานวิจัยของแผนไทย ทำให้งานสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง  - เป็นตัวอย่างให้ทีมทำงานวิจัยแบบสหสาขาวิชาชีพ   - มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลช่วยผลักดันงานด้านแผนไทย

 

ทั้งสี่ผลงานมีความโดดเด่นที่แตกต่างกันและเหมาะสมต่อการเป็นผลงานต้นแบบแห่งการเรียนรู้ และรูปแบบการวิจัยจากงานวิจัยแต่ละเรื่องสะท้อนถึงการปิดช่องว่างทางความรู้ (Knowledge GAP) ที่เกิดขึ้นจากการพัฒนางานดังกล่าว และในบางเรื่องจะมีการพัฒนาศึกษาวิจัยนวตกรรมควบคู่กันไปด้วย

 

ข้อเสนอแนะ:

ข้อเสนอนำสำหรับการพัฒนางานวิจัยด้วยรูปแบบ Meta R2R นักพัฒนางานในพื้นที่ต้องมีการออกแบบและวางแผนการวิจัยให้เป็นระบบ การกำหนด Research GAP และ Research Question ที่ชัดเจนจะทำให้การออกแบบการวิจัยมีความชัดเจนยิ่งขึ้น

 

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #km#r2r
หมายเลขบันทึก: 712957เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2023 10:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 29 พฤษภาคม 2023 10:27 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท