ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ (Implications of the Study)


ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ หรือ​ Implication of the Study เป็นความเห็นต่อเนื่องจากการรายงานผลการวิจัยและอภิปรายผลการวิจัยแล้วว่าผู้วิจัยเห็นว่าเมื่อผลการวิจัยออกมาเช่นนี้แล้ว ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้อย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่จะมีข้อเสนอแนะในสองลักษณะครับ คือ ข้อเสนอแนะว่าจะนำผลการวิจัยไปใช้ในดำเนินงาน หรือในชีวิตประจำวันอย่างไร และข้อเสนอแนะว่าควรมีการวิจัยในเรื่องใดต่อไป 

ข้อเสนอแนะนำการนำผลการวิจัยไปใช้ในการดำเนินงาน

           ข้อเสนอแนะในส่วนนี้หมายความว่าเมื่อผลการวิจัยที่ค้นพบจากการวิจัยนั้นเป็นแบบนั้น ผู้วิจัยเห็นว่าควรนำผลการวิจัยดังกล่าวไปใช้อย่างไร ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Implication of the Study ดังนั้นข้อเสนอแนะในส่วนนี้จึงต้องยึดโยงกับข้อผลการวิจัย หรือใช้ข้อค้นพบจากการวิจัยเป็นฐานในการเสนอแนะ เช่น สมมติว่าผลการวิจัยพบว่า 'การจัดการความขัดแย้งในสถานศึกษาของไทยที่สร้างความพึงพอใจให้กับคู่กรณีมากที่สุดคือการใช้การประนรประนอม'  ผู้วิจัยอาจจะเสนอแนะว่าหากเกิดความขัดแย้งในสถานศึกษา ผู้บรีหารควรเลือกใช้วิธีการประนีประนอมในการแก้ปัญหาความขัดแย้ง เป็นต้น โดยสรุปข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ ข้อเสนอแนะนั้นมาจากข้อค้นพบในการวิจัย ไม่ใช่ความเห็นข้อผู้วิจัยอะไรก็ได้ 

ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป 

         หลักสำคัญของข้อเสนอแนะในการวิจัยคร้งต่อไปก็ตั้งอยู่บนฐานคิดเดียวกันกับข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยไปใช้ในการทำงาน กล่าวคือต้องเป็นข้อเสนอแนะที่สืบเนื่องจากการวิจัยและผลการวิจัยนั้น ๆ ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ​Recommendations for Future Research เป็นข้อเสนอแนะว่าจากข้อค้นพบในการวิจัจครั้งนี้ทำให้เกิดช่องทาง หรือประเด็นที่อาจจะนำไปสู่งานวิจัยในอนาต ซึ่งผู้วิจัยอาจจะเสนอกรอบทิศทาง หรือ​​ ​ประเด็นที่ควรวิจัยก็ได้ เช่น เมื่อผลการวิจัยพบว่า 'ทักษะเชิงมนุษย์ (Human Skills) มีความสำพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา และมีค่าสหสัมพันธ์สูงกว่าด้านอื่นๆ' ผู้วิจัยอาจจะเสนอแนะว่าควรมีการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบบการพัฒนาทักษะเชิงมนุษย์สำหรับผู้บริหารสถานศึกษา เป็นต้น หรือผู้วิจัยอาจะเพียงเสนอแนะว่าจากข้อค้นพบในงานวิจัยครั้งนั้นพบว่า … แต่ถ้าได้มีการวิจัยเรื่อง … เพิ่มเติมน่าจะทำให้เราได้ข้อมูล หรือมีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้มากขึ้น และเป็นประโยชน์ต่อวงวิชาการ … เป็นต้น ประเด็นสำคัญก็คือ ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไปต้องยึดโยงกับข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนั้นๆ ไม่ใช่ผู้วิจัยอยากเสนอแนะอะไรก็เสนอ 

ผู้วิจัยบางคนอาจจะเข้าใจว่าข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยนั้นต้องเสนอเยอะๆ จึงจะดี ซึ่งไม่จริง หลักก็คือ ถ้าข้อค้นพบจาการวิจัยมีประเด็นสำคัญและสมควรที่จะเสนอ จึงควรเสนอครับ ถ้าไม่มีอะไรมาก เสนอด้านละข้อก็พอนะครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

20 มีนาคม 2566

            

หมายเลขบันทึก: 712023เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2023 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2023 21:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ผมอยากให้มีการติดตามผลการวิจัย หรือ follow up เป็นขั้นตอนต่อไปมากกว่าที่จะมีการวิจัยต่อไปเรื่อยๆ เพื่อหารายละเอียดที่มากขึ้น ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นก็ควรกำหนดเป้าหมายของงานวิจัยที่ครอบคลุมไว้ให้มากเท่าที่จะเป็นไปได้ และเห็นด้วยครับที่ข้อเสนอแนะของผู้วิจัย ซึ่งแม้จะอาศัยข้อมูลหรือผลทดลองที่เิกิดขึ้นก็ตาม ต้องเขียนให้ชัดเจนว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ และไม่ต้องคิดว่ายิ่งมีข้อเสนอแนะยิ่งมากยิ่งดี อีกประการหนึ่งผมไม่คิดว่า”การประนีประนอม”จะเป็นคำตอบที่ดีเสมอไป เพียงแต่ดูดี และเหมือนมีความเป็นกลางอยู่ในตัวเท่านั้น เพราะน่าจะต้องผ่านกระบวนการชี้ถูกผิดเสียก่อน แล้วจึงหาทางประนีประนอมอีกทีหนึ่ง…ขอโทษครับ หากผมอ่านบทความไม่ถี่ถ้วนมากพอ….วิโรจน์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท