ชีวิตที่พอเพียง 4423. PMAC 2023 – Global Health in the Nexus of Climate Change, Biodiversity Loss and Pollution 7. Day 2


 

๒๘ มกราคม ๒๕๖๖   

การประชุมเริ่ม ๘.๓๐ น.  จบ ๑๘.๐๐ น.   ผมตื่นตาตื่นใจกับข้อมูลใหม่ๆ ที่ได้เรียนรู้    เช่นนิยามแบบขยายความของ One Health  และเรื่องอื่นๆ อีกมากมายที่ต้องค่อยๆ ทำความเข้าใจหลังการประชุม    แต่เมื่อพบ ศ. ดร. นพ. วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์ ท่านกลับบอกว่าการประชุมปีนี้ไม่มีอะไรใหม่    เป็นข้อมูลเก่าทั้งสิ้น    สะท้อนภาพความเป็นคนตามไม่ทันโลกของผม   

Political Economy   การดำเนินการแก้ไขการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ  การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ  และมลพิษ เป็นเรื่องซับซ้อนมาก   เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของหลากหลายฝ่าย ทั้งฝ่ายธุรกิจ และฝ่ายการเมือง   จึงย่อมมีปัจจัยด้านเศรษฐศาสตร์การเมืองเกี่ยวข้องอยู่อย่างซับซ้อน    และเป็นสาเหตุให้มีแรงเฉื่อยต้านการดำเนินการขับเคลื่อนมาตรการดำเนินการแก้ไข    ที่ฝ่ายวิชาการต้องทำความเข้าใจ  และเผยแพร่ให้สาธารณชนรับรู้   

เพราะ political economy มีส่วนทำให้ฝ่ายต่างๆ ที่รับผิดชอบ ไม่ดำเนินการ    ในที่ประชุมจึงมีการเสนอหลักการ polycentric governance  ที่มี ๕ องค์ประกอบคือ  (๑) มีการตัดสินใจ และดำเนินการในระดับพื้นที่  (๒) ดำเนินการแบบบูรณาการ ไม่แยกเป็นเสี่ยงๆ (๓) มีการดำเนินการเชิงทดลอง เรียนรู้ และปรับตัว  (๔) ความเชื่อถือไว้วางใจต่อกันและกัน ระหว่างภาคส่วน ระหว่างระดับ และระหว่างหน่วยงาน  (๕) มีเป้าหมายร่วม  ที่นำไปดำเนินการตามข้อ (๑)   

มี politico-emotional issue เกิดขึ้นในระหว่าง co-host กับทีม PMAC secretariat    เหตุเกิดวานนี้ ในห้องย่อยที่มีผู้บริหารระดับกลางของ ปตท. มาเป็นวิทยากร    และมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็น นศพ. จากอังกฤษที่อยู่ในทีม PHM เสนอในที่ประชุมว่า PMAC ต้องไม่เชิญคนจากภาคธุรกิจมาร่วมประชุม    ผมได้ข่าวนี้จากการไปนั่งฟังการประชุมทีม Rapporteur ตอน ๗.๓๐ น.  เรื่องนี้คุณหมอสุวิทย์ ต้องไปเจรจากับ Fran Baum ผู้ใหญ่ของ PHM  ว่าเราไม่สบายใจที่มีเหตุการณ์นี้    และไม่ต้องการให้เกิดขึ้นอีก    ช่วยตัดไฟแต่ต้นลมได้ดีมาก 

เปิดโอกาสให้ธรรมชาติดำเนินการ    นี่คือหลักการ Nature-Based Solution    หัวใจคือ อย่าไปทำสิ่งที่ขัดขวางธรรมชาติ   เพราะธรรมชาติมีความสามารถในการฟื้นตัวได้   หากการเปลี่ยนแปลงยังไปไม่ถึงจุดฟื้นตัวเองไม่ได้    จุดสนใจคือป่าฝนใน๓ พื้นที่หลักของโลกคือ ป่าอะเมซอน  บอร์เนียว  และเกาะมาดากัสการ์    ข้อช่วยให้ใจชื้นคือ สถานการณ์ในบอร์เนียวระหว่างปี 2008-2018 ป่าฟื้นตัวชัดเจน    มีตัวอย่างการดำเนินการแบบ Nature-Based Solution จากหลายโครงการ   รวมทั้งโครงการ Empowering Local Community Leadership, Youth Involvement, and Increasing Resiliency to Fight Triple Planetary Crises : Trang and Krabi Model  เสนอโดย ดร. นสพ. บริพัตร ศิริอรุณรัตน์ แห่งคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล  

ดำเนินการ เพื่อและโดย คนในพื้นที่   ตัวอย่างของ Action from the Ground     ที่เด่นชัดที่สุดคือโครงการ Nan Sandbox ที่ผู้ได้ไปเยี่ยมชมต่างก็แซ่ซร้องสรรเสริญ    เรื่องนี้เป็น Plenary 3   ที่ต้องการเน้นตัวอย่างการดำเนินการ หรือผลสำเร็จของ polycentric governance ที่กล่าวข้างต้น 

     

นิยาม One Health แบบขยายความ    เดิม One Health หมายถึงสุขภาพของ คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม     ในที่ประชุมนี้มีการขยายความ เช่น เป็นสุขภาพของ คน สัตว์ พืช และสิ่งแวดล้อม    และมีโครงการ HEARTH (Health, Eco-systems, and Agriculture for Resiliant, Thriving Society) สนับสนุนโดย USAID ร่วมกับภาคีภาคธุรกิจ  ในหลายประเทศ     

 

 

วิจารณ์ พานิช

๒๘ ม.ค. ๖๖

ห้อง ๔๕๐๒ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ 

 

 

หมายเลขบันทึก: 712020เขียนเมื่อ 20 มีนาคม 2023 16:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มีนาคม 2023 16:51 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท