ทำไม พ.ร.บ. คอมของไทยสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ (Why Thai Computer Act intercepts Creativities)


มีแฟนคลับถามผมต่างกรรมต่างวาระหลายครั้งว่าทำไมผมจึงเลิก facebook live และเลิกจัดรายการวิทยุสดที่ Clean Radio ร่วมกับพิธีกรประจำรายการ คือ คุณนพพร 

คำตอบคือ   ‘ผมกังวลใจกับ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์’ 

คำถามต่อเนื่องก็คือ ‘ถ้าเราไม่ทำอะไรผิด จะไม่กลัวอะไรกับ พ.ร.บ. ​คอมพิวเตอร์’

เพื่อตอบแฟนคลับที่ถาม และเป็นการอธิบายความเพิ่มเติมเรื่องนี้ โดยเฉพาะหัวข้อวันนี้ที่ผมจั่วหัวไว้ว่า  ‘พ.ร.บ. คอมของไทยสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์’ นั้นว่า พ.ร.บ. ดังกล่าวสกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์อย่างไร เผื่อผู้มีอำนาจได้อ่านแล้ว และเห็นแก่ประโยชน์ของประเทศชาติ จะได้แก้ไขต่อไป

เรื่องแรกผู้ต้องเรียนว่าโลกปัจจุบันจำเป็นต้องมี พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ หรือพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ​และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งผู้สนใจหาอ่านต้นฉบับได้ในอินเตอร์เน็ตครับ

ที่ผมเห็นว่าจำเป็นเพราะเป็นการป้องปราม และให้สิทธิผู้เสียหายใช้ข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เป็นหลักฐานประกอบการฟ้องร้อง และพิจารณาในศาล ด้วยเท่านั้น ซึ่งในช่วงต้นของ พ.ร.บ. นี้ก็อธิบายความพิดผ่านคอมพิวเตอร์ ซึ่งก็ดีครับ แม้จะยังต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นประโยชน์กับผู้เสียหายมากขึ้น 

ผู้เสียหายที่ว่านี้รวมทั้งหน่วยงานของรัฐ องค์การเอกชน และนิติบุคคลต่าง ๆ ด้วย ใครเสียหาก็แจ้งความและฟ้องร้องเองตามกระบวนการยุติธรรมปกติ จะเป็นคดีอาญา หรือแพ่ง หรือทั้งสองแบบก็ว่ากันไป แต่การที่มีข้อกำหนดให้มีพนักบงานเจ้าหน้าที่ดังที่กำหนดไว้ในหมวด 2 นั้นคือปัญหา เพราะเจ้าหน้าที่ชุดนี้เป็นสารตั้งต้นความทผิดทั้งมวล และมีอำนาจาแฝงอีกมากมาย  

ใครจะผิดหรือไม่ผิด คณะกรรมการชุดนี้เป็นผู้วินิจฉัยเบื้องต้น แทนที่จะให้ผู้เสียหายเป็นเจ้าทุกข์เอง 

ที่เป็นปัญหามากที่่สุดคือคณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่ตั้งขึ้นมาตามมาตราที่ 20 นั่นแหละครับ ซึ่งมีอำนาจครอบจักรวาลครับ ถ้าจะมีคณะกรรมการชุดนี้ ก็น่าจะเป็นแค่คณะกรรมการรักษาสิทธิละเมิดตาม พ.ร.บ. ที่รัฐเสียหายเ่ท่านั้น 

กรรมการชุดนี้ และพนักงานเจ้าหน้าที่ตามหมวดที่ 2 นี่และครับคือกลไกที่สะกัดกั้นความคิดสร้างสรรค์ของคนไทยครับ เพราะเจ้าหน้าที่และกรรมการชุดนี้ ‘จะกลั่นกรองว่าข้อมูลไหนเป็นเท็จ หรือไม่เป็นเท็จนั้นขึ้นอยู่กับข้อมูลและองค์ความรู้เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันเท่านั้น’ โดยวินิจฉัยกันเอง หรือส่งข้อมูลไปสอบถามผู้เชี่ยวชาญ หรือองค์กรที่คณะกรรมการนี้เห็นว่าเป็นผู้ที่จะบอกได้ว่าอะไรเป็นเท็จหรือไม่เป็นเท็จ 

และผู้เชี่ยวชาญทุกคน หรือองค์กรที่รับผิดชอบเรื่องนั้น ๆ ก็มีความเชี่ยวชาญ และข้อมูล หรือความรู้เท่าที่มีอยู่เท่านั้น ส่วนความคิดสร้างสรรค์น้้นเป็นสิ่งที่ยังไม่มีใครรู้ หรือทำมากก่อน 

เพราะฉนั้นคนที่คิด หรือเสนออะไรใหม่ ๆ ก็สุ่มเสี่ยงที่จะถูกพิจารณาว่าเป็น  ‘ข้อมุลเท็จ’  และถ้าเสนอความคิดนั้นผ่านทางอินเตอร์เน็ดก็อาจาจะถูกกล่าวหาว่านำข้อมูลเท็จเข้าสู่คอมพิวเตอร์ได้ 

ในการออกอากาศสดใน facebook  หรือจัดรายการวุทยุนั้นจะเป็นต้องหาเนื้อหา หรือ content ใหม่ ๆ หรือ เสนอมุมมองที่ไม่มีใครให้ความเห็นมาก่อน จึงเป็นเรื่องที่สุ่มเสี่ยงต่อความผิดต่อ พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ เป็นอย่างยิ่ง 

แล้วที่มาเขียนความเห็นใน GotoKnow ละไม่เสี่ยงเหรอ 

เสี่ยงแต่ไม่มาก เพราะเนื้อหาสาระส่วนใหญ่เป็นเรื่องทั่วไป ตามหลักวิชา หรือความเห็นโดยหลักวิชา ซึ่งสามารถอธิบายได้ และที่สำคัญคือ ในการเขียนงานนั้น สามารถเก็บไว้เป็นหลักฐานได้ว่าเขียนไว้อย่างไรครับ 

ถ้าผู้มีอำนาจเห็นว่าสิ่งที่ผมตั้งข้อสังเกตไว้ข้างต้น กรุณาแก้ พ.ร.บ. นี้ใหม่ด้วยครับ 

แล้วผมจะกลับมาทำ​ ​​facebook live และไปจัดรายการวิทยุอีกก็ได้ครับ 

รักนะ จุ๊บ ๆ 

สมาน อัศวภูมิ

22 กุมภาพันธ์ 2566 

 

หมายเลขบันทึก: 711750เขียนเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2023 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กุมภาพันธ์ 2023 12:00 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

Thank you for this spotlighting post.I thought about ‘fake news’, influencing and ‘trend’ and came to conclude that the difference is in the ‘intent’. So far I don’t think we can really prove ‘intent’, so we rely on physical/written ‘words’ (may mean) ;-)

Dear sr, Thank you for your warning thought. My point is that posting misunderstanding news or just for fun gags and intentional harmful news or destructive fake messages are different. We might get the wrong perceptions or judgement of some events, but these are not fake reports, but if we know exactly what happen but point it another way to distort the matter: this is a wrong conduct. But even so, it is right of the person who is affected by the matter to sue, but a committee appointed by the government to judge whether that is fake or not fake. More over, what worries me the most, and related to creative interception, is that the committee seeks only the known facts or knowledge to judge whether that claim is fake or not fake. Creative thinkings or ideas means something that never occurs before or known by anyone. This is harmful to creativeness that I mention in the blog. Thank you again for your comment.

ผมคิดไม่ออกจริงๆ ว่าควรทำอย่างไรกับปัญหาที่ผมไม่มีความรู้ แต่ทุกครั้งที่มีการตัดสินความผิดขอให้ประกาศให้สื่อมวลชนได้รับรู้ให้เร็วท่ี่่สุด ถึงตัวผู้รับสารส่วนมากได้ด้วย กระทั่งจัดการเผยแพร่ในเอกสารทางราชการ เป็นแบบ public hearing กระทั่งลงในราชกิจจานุเบกษา หากจำเป็น เพื่อให้ผู้ที่ถูกกล่าวหาสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ เพื่อไม่ให้มีการใช้กฎหมายดังกล่าวเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของฝ่ายที่มีอำนาจในการใช้กฎหมายดังกล่าวครับ….วิโรจน์ ครับ

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท