การแจ้งการวินิจฉัยแก่ผู้ป่วย : ขั้นตอนที่ 4


การให้ข้อมูลต้องตระหนักว่าเขาอาจเข้าใจไม่มาก
ขั้นที่ 4 การให้ข้อมูล

            การจะให้ข้อมูลอย่างไรมากน้อยเพียงใดนั้นขึ้นอยู่กับระยะของโรค ความสนใจของผู้ป่วย ข้อมูลที่ผู้ป่วยต้องการทราบหรือไม่ต้องการทราบ และปฏิกิริยาของผู้ป่วย ไม่สามารถบอกได้ตายตัวว่าจะต้องบอกอะไรบ้าง

            แต่อย่างไรก็ตามต้องเริ่มต้นที่จะยอมรับผู้ป่วย ไม่ว่าผู้ป่วยจะยอมรับหรือปฏิเสธการวินิจฉัยและการรักษาที่แพทย์เสนอให้ แพทย์ควรยอมรับปฏิกิริยาของผู้ป่วยที่เกิดขึ้นรวมถึงวิธีการแสดงอารมณ์ของผู้ป่วยที่มีต่อการวินิจฉัยนั้นด้วย แต่ในความเป็นจริงแพทย์หลายคนมักจะทนไม่ได้ เพราะแพทย์มักจะรู้สึกว่าผู้ป่วยต้องยอมรับการรักษาที่แพทย์เสนอให้และปฏิบัติตามโดยดี ในขณะที่ผู้ป่วยยังไม่สามารถยอมรับความจริงได้ทั้งหมดหรือบางส่วนก็ตาม

            ข้อแนะนำในการให้ข้อมูล

 

            4.1 บอกข้อมูลแก่ผู้ป่วยทีละน้อย  เรื่องทางการแพทย์เป็นเรื่องยากแก่การเข้าใจสำหรับผู้ป่วย อีกทั้งการแจ้งการวินิจฉัยมักมีผลกระทบต่ออารมณ์ของเขา ทำให้ไม่สามารถรับรู้ข้อมูลมากๆ ได้ ดังนั้นควรบอกเป็นลำดับเหมือนเป็นสัญญาณเตือนก่อน เช่น  แต่ความจริงมันร้ายแรงกว่าที่คุณคิด  และรอดูปฏิกิริยาของผู้ป่วยก่อนที่จะบอกข้อมูลอื่นต่อไป โดยสังเกตปฏิกิริยาเป็นระยะๆ

            4.2 อธิบายให้ฟังเข้าใจง่าย อย่าใช้ศัพท์แพทย์ ผู้ป่วยไทยมักไม่ค่อยกล้าถามแม้จะไม่เข้าใจศัพท์ที่แพทย์พูด  ในระยะแรกนี้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสนใจว่าต่อไปตนเองจะเป็นอย่างไร หายหรือไม่ มากกว่าที่จะสนใจรายละเอียดของการวินิจฉัยและการรักษา

            4.3  ประเมินสิ่งที่ผู้ป่วยรับรู้เป็นระยะๆ เพื่อตรวจสอบดูว่าผู้ป่วยเข้าใจหรือไม่ และเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูด ซึ่งจะได้ฟังน้ำเสียงและสังเกตความรู้สึกของผู้ป่วย  แพทย์อาจจะช่วยพูดย้ำในจุดที่คิดว่าสำคัญ  เพราะเป็นเรื่องยากที่จะให้ผู้ป่วยพูดซ้ำในสิ่งที่ร้ายแรงสำหรับตนเอง

หมายเลขบันทึก: 71150เขียนเมื่อ 6 มกราคม 2007 11:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤษภาคม 2012 09:09 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท