ปลุกให้ตื่น แล้วให้เดินเอง ไม่จูง : สู่ Dialogic Teaching


 

ในการประชุม AAR การดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการ Dialogic Teaching   ให้แก่นักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น   ที่มีอาจารย์ในสถาบันผลิตจำนวนหนึ่งเข้ามาฝึกเป็น โค้ช    รวมทั้ง นศ. เองจำนวนหนึ่งก็ได้รับการฝึกเป็นโค้ชด้วย   วิทยากรจาก CCE คือคุณ Paul Collard ให้ feedback ตรงใจผมมาก

ท่านบอกว่า นักศึกษาทุกคน   ทั้งที่มาฝึกเป็นโค้ช และที่มาเข้ารับการอบรม สนใจจริงจังมาก   เกิดการเรียนรู้มาก อย่างน่าชื่นใจ    แต่อาจารย์แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม

  1. ไม่สนใจ    จำใจมาเพราะถูกสั่งให้มา
  2. ไม่มีความสามารถ   ฝึกให้แล้ว ก็ทำไม่ได้ 
  3. สนใจมาก และมีความสามารถสูง    กลุ่มนี้มี แต่มีน้อย   น้อยกว่าสองกลุ่มแรกมาก   

มีผู้ใหญ่ฝ่ายไทย ที่เข้าร่วม AAR เสนอว่า อาจารย์กลุ่ม ๑ และ ๒ ฝึกได้  เปลี่ยนแปลงได้    ผมจึงเสนอต่อว่า    กสศ. ไม่ควรดำเนินการพัฒนาครูของครู ที่เข้าข่ายกลุ่ม ๑ และ ๒ โดยเข้าไปอุ้ม   ควรทำแค่ปลุกให้ตื่น   แล้วให้เขาเดินเอง    ช่วยแนะ แต่ไม่จูง   

นี่คือข้อแนะนำของผมต่อ กสศ. ที่ทำหน้าที่ catalyst for change   ไม่ได้มีหน้าที่บริหารระบบการศึกษาของประเทศ   

อาจารย์ประเภทที่ ๑ และ ๒ เป็นหน้าที่ของมหาวิทยาลัยนั้นๆ เองที่จะจัดการ    ไม่ใช่หน้าที่ของ กสศ. 

สิ่งที่ กสศ. ควรทำก็คือ    ไม่ปฏิบัติต่อมหาวิทยาลัยแหล่งผลิตแบบเสมอหน้ากัน    แต่ปฏิบัติอย่างแยกแยะ    สถาบันที่รับผิดชอบ ส่งอาจารย์ที่เอาถ่านและมีความสามารถมาทำงาน ย่อมต้องได้รับโอกาสมากเป็นพิเศษ    สถาบันที่ส่งอาจารย์ที่ไม่สนใจมาร่วม ย่อมไม่ได้รับความไว้วางใจในโอกาสต่อไป 

คุณ Paul ถึงกับยื่นข้อเสนอว่า ในการจัด workshop นี้สำหรับ นศ. ครูรัก(ษ์)ถิ่นรุ่นต่อๆ ไป   ไม่ควรมอบให้สถาบันผลิตจัดเอง   ในวงเล็บคือไว้ใจไม่ได้    แต่ผมเสนอว่า มีบางสถาบันที่น่าจะได้รับความไว้วางใจให้จัด   เพราะผู้นำเข้าคลุกเอง และทีมงานดี   คือต้องเลือกมอบความไว้วางใจให้ทำเพียงบางสถาบัน   

ผมเล่าให้ที่ประชุมว่า   ในโอกาสที่ผมไปสังเกตการณ์การประชุมปฏิบัติการที่คุณ Paul จัดครั้งหนึ่ง   ที่จัดในสถาบันแห่งหนึ่ง ผมจับได้ว่า ผู้บริหารระดับคณบดีไม่ได้สนใจงานที่กำลังประชุมปฏิบัติการอยู่นั้นอย่างจริงจัง    โดยที่ท่านกรุณามาต้อนรับและพูดคุยกับผม   และเมื่อผมซักถามว่ากิจกรรมที่กำลังจัดการประชุมปฏิบัติการอยู่นี้สำคัญมากต่อบ้านเมืองของเรา    ทางคณะอยากทำอะไรบ้าง ที่ผมจะกลับไปแนะนำ กสศ. ให้สนับสนุนได้    คำตอบคือ อยากให้ กสศ. มาใช้สถานที่จัดการประชุมแบบนี้อีก    

คุณ Paul พูดเสริมว่า คณบดีท่านนั้น ต้องการเพียงมาถ่ายรูปกับผม เพื่อเอาไปลงโซเชี่ยลมีเดียของตน   เมื่อได้รูปก็ไป   ไม่ได้สนใจสาระของการประชุมเลย  ซึ่งก็ตรงกับข้อสังเกตของผมว่า ท่านคณบดีมาในวันแรกแล้ว ไม่ได้โผล่มาอีกเลยตลอด ๔ วัน

เล่าไว้ เพื่อสื่อสารว่า คนเรารู้ทันกันผ่านพฤติกรรมของแต่ละคน   อย่าคิดว่าพฤติกรรมไม่รับผิดชอบ  ไม่ทำหน้าที่ตามตำแหน่ง ของเราจะพ้นการสังเกตของคนอื่นไปได้   

วิจารณ์ พานิช

๒๑ ธ.ค. ๖๕

 

หมายเลขบันทึก: 711427เขียนเมื่อ 26 มกราคม 2023 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 มกราคม 2023 17:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

It seems universal that training courses (and seminars and whatever names conferences) end up with “4 lotuses in the water” result. Though every attendant may all get a certificate (of participation), a small percentage will and can actually apply what the courses propose.

How many ‘you beaut’ methodologies and training courses break this ‘mold’?

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท