รายงานการพัฒนาความสามารถการอ่านวิชาภาษาไทย เรื่อง  การอ่านออกเสียงคำและประโยคที่มี  ร,ล


รายงานการพัฒนาความสามารถการอ่านวิชาภาษาไทย

เรื่อง   การอ่านออกเสียงคำที่มี ร,ล

 โรงเรียนชุมชนบ้านสำพันตา   ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3   ปีการศึกษา  2564

ปัญหาที่จะพัฒนา

ผู้วิจัยทำการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชาภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3  พบว่าความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ  ร,ล  นักเรียนส่วนมากไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน 

สาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาคือ

  1. นักเรียนส่วนมากอ่านออกเสียงคำที่มี ร,ล   ไม่ถูกต้องและไม่ชัดเจน 
  2. แบบฝึกปฏิบัติการอ่านออกเสียงคำที่มี  ร,ล น้อยเกินไป

จากสาเหตุปัญหาทั้ง  2  ประการนี้  ผู้วิจัยจึงทำการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาการอ่านออกเสียง  ร,ล ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3

จุดประสงค์จองการวิจัย

  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในหลักการของการอ่านออกเสียงคำที่มี  ร,ล
  2. เพื่อให้นักเรียนได้อ่านออกเสียงคำที่มี  ร,ล ได้ถูกต้องและชัดเจน
  3. เพื่อให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการอ่านออกเสียงคำที่มี ร,ล 
  4. เพื่อให้นักเรียนสามารถนำภาษาไทยไปใช้ในการสื่อสารได้คล่อง และเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น

แนวทางการแก้ไข

               จากการที่ได้ศึกษาพบว่า วิธีการแก้ปัญหาการอ่านออกเสียง  ร,ล  มีหลายวิธี  ได้แก่  การใช้แบบฝึกการอ่าน การใช้เพลง บทกลอน เกม ฯลฯ ผู้วิจัยได้พิจารณาถึงสาเหตุของปัญหาและแนวทางแก้ไข เห็นว่า  แบบฝึกการอ่านคำและประโยคต่างๆ มีความเหมาะสมในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้การอ่านออกเสียงคำที่มี ร,ล  ของนักเรียน

เครื่องมือที่ใช้แก้ปัญหา

                  ผู้วิจัยใช้และสร้างเครื่องมือตรวจสอบการพัฒนากระบวนการอ่าน  คำควบกล้ำ  ร,ล  ของนักเรียน  ดังนี้

  1. แบบฝึกความสามารถการอ่านออกเสียงคำที่มี  ร จำนวน  2  ชุด
  2. แบบฝึกความสามารถการอ่านออกเสียงคำที่มี  ล  จำนวน  2  ชุด
  3. แบบฝึกการออกเสียง  ร,ล   จำนวน   15   ประโยค  

เมื่ออ่านแบบครบทุกคนทั้ง 4 ชุดแล้ว จึงฝึกอ่านประโยคที่มีตัว ร,ล  จำนวน  15  ประโยค  โดยการอ่านพร้อมกัน  และอ่านเป็นรายบุคคล   

วิธีการจัดกระบวนการเรียนรู้

การจัดกระบวนการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ร,ล ได้ดำเนินการ ดังนี้

     อ่านออกเสียงแบบฝึกการอ่านออกเสียงคำที่มี ร,ล จำนวน  4 ชุด สับเปลี่ยนกันทุกวัน โดยนักเรียนอ่านพร้อมกันทั้งชั้น จากนั้นนักเรียนฝึกอ่านเป็นรายบุคคลวันละ 1 ชุด จนครบทุกคน 

 วิธีการเก็บรวบรวมผลงาน     โดยการสร้างแบบการประเมิน   คือ 

  1. ประเมินการอ่านเป็นรายบุคคลก่อนทุกชุด 
  2. ประเมินเป็นรายบุคคลโดยการจับฉลาก ในจำนวนแบบฝึก   4  ชุด 
  3. ประเมินการอ่านประโยค โดยอ่านเป็นรายบุคคล 

แจ้งการประเมินก่อนและหลังให้นักเรียนได้ทราบเพื่อปรับปรุงนำมาเฉลี่ยหาค่าการพัฒนา

เกณฑ์ความสำเร็จ

 1  อ่านคำในแบบฝึกอ่านทุกคำทุกชุดถ้าอ่านคำถูกต้องได้  1  คะแนน  ถ้าผิดได้  0         

 2. อ่านทุกประโยค  การให้คะแนนประโยคละ  5  คะแนน  ถ้าอ่านคำผิดหักคำละ  1  คะแนน

สมมุติฐานการวิจัย     ปีการศึกษา 2565

  1. นักเรียนมีความตั้งใจและสนใจในการอ่านอกเสียงคำควบกล้ำมากขึ้น ร้อยละ 75
  2. นักเรียนอ่านออกเสียง  ร  ในแบบฝึกชุดที่ 1 ได้ถูกต้อง ร้อยละ  75
  3. นักเรียนอ่านออกเสียง  ร  ในแบบฝึกชุดที่ 2 ได้ถูกต้อง ร้อยละ  75
  4. นักเรียนอ่านออกเสียง  ล  ในแบบฝึกชุดที่ 1 ได้ถูกต้อง ร้อยละ  75
  5. นักเรียนอ่านออกเสียง  ล  ในแบบฝึกชุดที่ 2 ได้ถูกต้อง ร้อยละ  75
  6. นักเรียนอ่านประโยคที่มี  ร,ล ได้ถูกต้อง  ร้อยละ 75

20221128222111.pdf

หมายเลขบันทึก: 710706เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2022 22:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2022 22:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท