กรณีนางสาวฮว่า ฟ่ามทิ ตามคำพิพากษาฎีกาที่ 3683/2530 : คนเชื้อชาติเวียดนามที่ประสบปัญหาในการมีสถานะเป็นคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายและได้รับการผ่อนผันให้อาศัยอยู่


คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของ ศาลไทยในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คนที่มีเชื้อชาติต่างประเทศโดยตั้งอยู่บนความถูกต้อง และเป็นธรรมแม้บุคคลที่มีเชื้อชาติต่างประเทศจะถูกฟ้องต่อศาลเป็นจำเลยศาลก็ตัดสินคดีโดยไม่นำเอาความเป็นคนที่มีเชื้อชาติต่างประเทศมาจำกัดในการให้ความยุติธรรม แต่อย่างใดเนื่องจากศาลคำนึงถึงสิทธิในความเป็นมนุษย์ของบุคคลว่าบุคคลพึงมีสิทธิที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองไม่ให้ถูกละเมิด

             น.ส.ฮว่า  ฟ่ามทิ  เป็นคนเชื้อชาติเวียดนามที่ได้อพยพหนีภัยสงคราม เข้ามาในประเทศไทย ในช่วงปี พ.ศ.2488-2489  ซึ่งประเทศไทยได้ให้ความช่วยเหลือตามหลักมนุษยธรรมโดยผ่อนผันให้อยู่ชั่วคราวในประเทศไทย โดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนญวนอพยพ

            ต่อมา น.ส.ฮว่า ฟ่ามทิ ได้หลบหนีไปอยู่ที่ประเทศสาธารณรัฐประชาชนลาว

            นายกุศล  ศานติธรรม   ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคายจึงได้อนุมัติให้ถอนชื่อ น.ส.ฮว่า ฟ่ามทิ ออกจากทะเบียนคนญวนอพยพ สำนักกิจการญวน จังหวัดหนองคาย เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2525    ตามบันทึกข้อความเรื่องขออนุมัติถอนชื่อคนญวนอพยพออกจากทะเบียนญวนอพยพ

 

            น.ส.ฮว่า  ฟ่ามทิ ได้เดินทางกลับเข้ามาอยู่ที่ประเทศไทยอีกครั้ง จึงถูกพนักงานอัยการฟ้องว่าเป็นคนญวนอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากน.ส.ฮว่า ฟามทิได้ถูกถอนชื่อออกจากทะเบียนญวนอพยพ ขอให้ลงโทษ       ตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ.2522 มาตรา 18

 

            คดีทำในสามศาล โดยศาลชั้นต้นพิพากษาว่า     จำเลยมีความผิดตามฟ้อง จำคุก 2 เดือน ปรับ 2,000 บาท รอการลงโทษไว้

 

            ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน

 

            ศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรได้เป็นการชั่วคราวโดยมีชื่ออยู่ในทะเบียนญวนอพยพ ต่อมา     จำเลยหลบหนีออกนอกราชอาณาจักรตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองมาตรา 39     ให้ถือว่าการได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวเป็นอันสิ้นสุด    ดังนี้เมื่อจำเลยกลับเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรอีกก็ต้องเป็นความผิดตามมาตรา 81 การที่ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย    มีคำสั่งอนุมัติให้ถอนชื่อจำเลยจากทะเบียนญวนอพยพ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่จึงไม่ใช่เรื่องสำคัญ    เพราะการถอนชื่อจำเลยออกจากทะเบียนญวนอพยพกับการอนุญาตถูกเพิกถอนเป็นคนละกรณีกัน ฎีกาข้อกฎหมายของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15,215,225

 

            คำพิพากษาศาลฎีกาฉบับนี้ได้แสดงให้เห็นถึงทัศนคติของ     ศาลไทยในการอำนวยความยุติธรรมให้แก่คนที่มีเชื้อชาติต่างประเทศโดยตั้งอยู่บนความถูกต้อง และเป็นธรรมแม้บุคคลที่มีเชื้อชาติต่างประเทศจะถูกฟ้องต่อศาลเป็นจำเลยศาลก็ตัดสินคดีโดยไม่นำเอาความเป็นคนที่มีเชื้อชาติต่างประเทศมาจำกัดในการให้ความยุติธรรม    แต่อย่างใดเนื่องจากศาลคำนึงถึงสิทธิในความเป็นมนุษย์ของบุคคลว่าบุคคลพึงมีสิทธิที่จะได้รับการรับรองและคุ้มครองไม่ให้ถูกละเมิด  

             จากคดีของ น.ส.ฮว่า ฟ่ามทิ   แสดงให้เห็นถึงปัญหาในการมีสถานะบุคคลของคนเชื้อชาติเวียดนามในกลุ่มนี้อันเกิดจาก     การบัญญัติกฎหมายที่ขาดความชัดเจนทำให้มีปัญหาในขั้นตอนของการใช้กฎหมาย      ประกอบกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ปฏิบัติหน้าที่ขาดความรู้ความเข้าใจในกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างถ่องแท้จึงทำให้เกิดปัญหาในการมีสถานะบุคคลดังกล่าว       แต่อย่างไรก็ตามเมื่อศาลได้เข้ามาเยียวยาแก้ไขปัญหาความถูกต้องและยุติธรรมจึงเกิดขึ้นได้            
หมายเลขบันทึก: 70810เขียนเมื่อ 4 มกราคม 2007 11:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 พฤษภาคม 2012 23:01 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท