สิ่งที่ควรรู้และระมัดระวังสำหรับผู้เริ่มต้นเส้นทางสาย 61 (What you need to know and aware of for 61st beginners)


หลายปีก่อนผมได้รับเชิญไปพูดให้ข้าราชการที่จะเกษียณฟังว่า ‘ควรเตรียมตัวอย่างไรจึงจะทำให้ชีวิตหลังเกษียณมีความสุข’

ก่อนอื่นผมต้องเรียนทุกคนที่อ่านบทเขียนนี้ว่า ‘ผมไม่เคยคิดว่า ผมจะมีอายุยืนถึงเวลาได้เกษียณอายุราชการเหมือนเพื่อนหรอก’ เพราะเป็นคนโรคชุมตั้งแต่เร่ิมเป็นใบไม้ในตับ (ปัจจุบันเรียกว่า ใบไมตับ) ในปี 2513 โรคขาดอาหารในปี 2521-2523 และไวรัสลงตับ หรือตับอักเสพในปี 2525 โดยเฉพาะในปี 2525 นั้นญาติๆ ทำใจและจองวัดรอผมแล้ว แต่ก็รอดมาได้จนได้เกษียณอายุราชการตามปกติในปี 2553 และหลังจากนั้นก็ได้ต่ออายุราชการอีก 5 ปี 

นี้ก็เกษียณมาได้ 12 ปีแล้ว ถ้านับจากอายุเกษียณราชการปกติ 

ก่อนจะไปบรรยายให้รุ่นน้องที่จะเกษียณในปีนั้นฟัง ผมก็พยายามสรุปบทเรียนจากชีวิต และค้นคว้าแนวคิดที่เกี่ยวข้องพอสมควร จึงอยากนำข้อค้นพบเหล่านั้น และประสบการณ์เพิ่มเติมหลังจากนั้นมาเหล่าสู่ฟัง 

ทั้งคนที่จะเกษียณอายุในปีนี้ ผู้ที่เกษียณไปแล้ว และผู้ที่ยังไม่เกษียณ เพราะอย่างไรเสียสักวันหนึ่งคุณก็ต้องเกษียณอายุอยู่ดี ถ้าอายุยืนถึงปีกำหนดในการเกษียณอายุครับ 

สิ่งแรกที่อยากจะเรียนคือ   ‘ควรเตรียมตัวเพื่อใข้ชีวิตหลังเกษียณแต่เนิ่น ๆ’ แต่สำหรับคนที่ยังไม่รู้และไม่ได้เตรียมตัวมาก่อน รู้วันนี้และเริ่มเตรียมตัวก็ยังดีกว่าไม่รู้และได้ได้เตรียม 

การเตรียมตัวเพื่อใช้ชีวิตหลังเกษียณอายุตั้งแต่เนิ่น ๆ  คือ (1) เตรียมใจ กล่าวคือ เราไม่ควรติดยึดในตำแหน่งแห่งที่ อำนาจบารมี และวิถีชีวิตที่ได้รับจากตำแหน่งแห่งที่ที่ท่านทำก่อนเกษียณอายุครับ เพราะทันที่ที่ท่านเกษียณอายุราชการไป สิ่งเหล่านี้จะหมดไปทันที่ ถ้าทำใจไม่ได้ หรือปรับใจไม่ทัน จะเกิดภาวะ ‘จิตช็อค’ ซึ่งอาจจะถึงเป็นโรคซืมเศร้า หรือตอมใจถึงระดับตายได้นะ จะบอกให้  (2) เตรียมสำรองท้ังรายได้ และวิถีชีวิต ต้อมมีเงินเก็บไว้พอสมควร และไม่ควรรับบำเหน็จ แม้จะเงินก้อนโต แต่จะหมดในระยะสั้นๆ หลังจากนั้นท่านจะไม่มีแหล่งรายได้อื่นแล้วจะลำบากครับ ส่วนท่านที่รับบำนาญก็ต้องเตรียมตัวเช่นกัน เพราะเงินประจำจะลดลง แต่ก็ยังดี เหมือนมีเงินฝากในธนาคารหลายล้าน และมีดอกรายเดือนให้ใช้ครับ ที่สำคัญคือต้องรักษาชีวิตให้ยืนยาวที่สุดเพราะท่านคือทร้พย์สิน ซึ่งจะมีค่าเฉพาะที่มีชีวิตอยู่เท่านั้น ตายปรั๊บ บำนาญจบครับ ส่วนแผนสำรองชีวิตคือ พยายามหากิจกรรมทำสำรองไว้ตั้งแต่ก่อนเกษียณ และจำได้เป็นปกติ แม้จะเกษียณแล้วก็ตาม 

การดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและจิตใจหลังเกษียณ ถ้าใครได้เตรียมตัวก่อนเกษียณดังกล่าวมาแล้วข้างต้น ประเด็นนี้ก็ไม่ต้องกังวลมาก เพียงแต่ให้ระมัดระวังเป็นพิเศษใน 3 ปีแรกหลังเกษียณนะครับ จากข้อสังเกตของผมทั้งก่อนที่ผมจะเกษียณ และหลังเกษียณแล้ว มีข้อสังเกตค่อนข้างชัดว่าคนที่เกษียณอายุมักจะเสียชีวิตหลังเกษียณได้ 1-3 ปี ทั้งนี้อาจจะเป็นเพราะทำงานหนักมานาน พอหยุดก็รู้สึกว่าหมดหน้าที่ รวมทั้งหน้าที่ในโลก หรือไม่ก็อาจจะปรับตัวไม่ทัน และถ้าอยู่ได้เลย 3 ปี แรกหลังเกษียณ มักจะพบว่า ‘อยู่ยาวเลยละที่นี้’ และต้องรู้จักดูแลตนเองทั้งสุขภาพกายและจิต เมื่อมีเวลามากขึ้นควรออกกำลังกายประจำ และเลือกทานอาหารที่มีคุณค่ามากขึ้น ใช้เวลาในการทานอาหารให้มากขึ้น เคียวช้า ๆ ระมัดระวังเรื่องสำรักอาหาร ครับ 

กิจกรรมหลังเกษียณ​ สิ่งที่ควรทำคือ ดำเนินชีวิตให้เป็นปกติให้มากที่สุด ยกเว้นที่ต้องไปทำงานทุกวันเหมือนก่อนเกษียณ ถ้ายังมีสัญญาจ้างทำงานอยู่ ก็ทำนะครับ และควรเสนอคุณค่าของงานมากกว่าเวลาในการทำงาน (ผมหมายความว่า ไม่ควรยังต้องทำงาน 5 วันเต็ม ต่อสัปดาห์ในเวลาราชการ ต่อเป็นงานที่ทำได้ทุกที่ทุกเวลา ครับ ถ้าไม่มีงานแบบนั้นก็ควรมีงานที่ทำให้เราได้ลุกจากที่นอน และทำโน่นทำนี่ อย่านั่งอยู่เฉย ๆ และดูทีวี เล่นไลน์ ฯลฯ โดยไม่ขยับเขยื้อน เพราะอีกไม่นานท่านจะลุก เดิน และไปไหนมาไหน ไม่ได้นะ ถ้ายังพอขับรถได้ ก็ควรขับต่อไป แต่ลดความเร็วลง เพราะการมองเห็นและตัดสินใจ รวมทั้งการตอบสนองของเราจะลดลงครับ สิ่งที่ไม่ควรทำคือ นำเงินหลังเกษียณไปลงทุน เพื่อหวังต่อรายได้ (ถ้าจะทำควรทำก่อนเกษียณ) เพราะหลังเกษียณแล้ว รายได้ประจำลดลงแน่นอน และหากการลงทุนล้มเหลว จะไม่มีเวลาแก้ตัวนะครับ 

3 ข้อสังเกต และแนะนำที่กล่าวมาข้างต้นคงช่วยให้ผู้ที่กำลังจะเกษียณอายุได้หลักคิดและวิธีที่จะดำเนินชีวิตอยู่หลังเกษียณมีความหมาย มีคุณค่า และเป็นสุขมากขึ้นนะครับ

ที่สำคัญคือมีอายุยืนที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ เพราะไม่รู้ว่าชาติหน้าจะได้เกิดเป็นคนอีกไหมนะครับ 

รักทุกคนครับ 

สมาน อัศวภูมิ 

23 กันยายน 2565

หมายเลขบันทึก: 707902เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2022 10:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2022 10:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อ่านแล้วได้ข้อคิด สะกิดใจครับ / ปีหน้าผมได้ใช้ปฏิบัติอย่างแน่นอน

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท