แนวโน้มของการศึกษาและทักษะในอนาคต@2030


วันนี้ค่ะ พี่ตุ่นมาชวนท่านผู้ฟังพูดคุยถึงแนวโน้มของการศึกษาและทักษะในอนาคตกันค่ะ  พี่ตุ่นได้รับฟังมาจากการเข้าร่วมโครงการสัมมนาการขับเคลื่อนด้านการศึกษา เพื่อรองรับการจัดการศึกษาตามกระบวนทัศน์ใหม่ ที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดขึ้นในเดือนเมษายน 2565 ค่ะ  คนห้องสมุดหากติดตามก็จะทำให้มีความเข้าใจในแนวโน้มทางการศึกษา  และสามารถปรับรูปแบบการให้บริการได้สอดคล้องกับการเรียนการสอนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

สาระสำคัญในการสัมมนาครั้งนั้นพูดถึงกระบวนทัศน์ใหม่ทางด้านการศึกษา ซึ่งได้แก่ เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน การปรับระบบการศึกษาเป็นแบบคลังหน่วยกิตที่ให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจและช่วงเวลาที่สอดคล้อง   ผู้สอนหรือครู อาจารย์ทำหน้าที่เป็น Facilitator ออกแบบการเรียนรู้มากกว่าเป็นผู้ถ่ายทอด   การวัดและประเมินเน้นการกระตุ้นการเรียนรู้ ใช้รูปแบบการวัดที่หลากหลายไม่เน้นแค่การสอบเพื่อวัดสมรรถนะและลักษณะการเรียนรู้รายบุคคล   และมีการบูรณาการเนื้อหาความรู้ข้ามศาสตร์ ( Integration) มากขึ้น และสิ่งที่พี่ตุ่นได้รับฟังและสนใจอย่างมากอีกประการหนึ่งคือ เรื่องของแนวโน้มของการศึกษาและทักษะในอนาคตกันค่ะ  ที่จะเกิดขึ้นในปี 2030 นับจากปีนี้ไปก็อีกไม่กี่ปีค่ะ  เป็นแนวโน้มทางการศึกษาที่ผู้ปกครอง  อาจารย์ ผู้เรียน คณะวิชา  นักวิชาการการศึกษา และหน่วยงานที่ทำหน้าที่สนับสนุนการศึกษารู้ไว้ไม่เสียหลายค่ะ  พี่ตุ่นจะขออนุญาตนำเรื่องนี้มาเป็น Topic ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน EP นี้นะคะ

OECD หรือ องค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (อังกฤษ: Organization for Economic Co-operation and Development, เป็นองค์กรระหว่างประเทศของกลุ่มประเทศที่พัฒนาแล้วและยอมรับระบอบประชาธิปไตยและเศรษฐกิจการค้าเสรีในการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจของภูมิภาคยุโรปและโลก  สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ได้พัฒนาโครงการที่เรียกว่า  OECD Future of Education and Skills 2030 (two Thuosand theirty project) ขึ้น เป็นโครงการพัฒนาทางด้านการศึกษาค่ะ โดยพูดถึงแก่นของการศึกษาที่จะเปลี่ยนไปในปี 2030 หรือปี พ.ศ. 2573  เกี่ยวกับ framework for teaching ว่าเกี่ยวข้องกับ ปัจจัยในด้านการเรียนการสอน 3 ด้านได้แก่ 1)ความรู้  2)ทักษะ 3)ทัศนคติและการให้คุณค่า 

ซึ่งเราเริ่มกันที่ปัจจัยแรกคือความรู้กันค่ะ ผลการศึกษาของ OECD ชี้ว่าในอนาคต Core Foundations หรือ ความรู้พื้นฐานในการศึกษาวิชาต่างๆ ที่ผู้เรียนจะต้องเรียนนั้นจะต้องสนับสนุนให้ให้ผู้เรียนผู้มีความสุขและสุขภาพที่ดีในการใช้ชีวิต ประกอบด้วยการนำความรู้ในเรื่องต่างๆเหล่านี้มาใช้ในการดำเนินชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่     Literacy&Numercy การรู้สารสนเทศทางด้านวิเคราะห์ตัวเลขและการเงิน, Social&Emotional ด้านสังคมและการบริหารจัดการอามรณ์, Health Literacy การรู้สารสนเทศทางด้านสุขภาพ,  Digital Literacy การรู้ดิจิทัล, Data Literacy การรู้เกี่ยวกับการจัดการข้อมูล  ส่วนความรู้เฉพาะวิชา OECD กล่าวถึงลักษณะความรู้ของผู้เรียน ว่าความรู้จากการเรียนต้องเป็นความรู้ที่ปฏิบัติได้จริง ใช้งานได้จริง  ไม่ใช่แค่การวัดตัดเกรดแต่อย่างเดียว  “procedural knowledge, which is knowledge that students can” 

การที่จะกล่าวว่าผู้เรียนมีความรู้ในการเรียนเฉพาะวิชาอย่างไร ในโลกอนาคตความรู้เมื่อผู้เรียนเลือกเรียนเฉพาะวิชานั้นเมื่อเรียนจบ กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษาผู้เรียนจะต้องมีความรู้ใน 3 ลักษณะได้แก่  

1) ความรู้แบบสหวิทยาการเกี่ยวข้องกับวิชานั้น  

2)  ความเข้าใจแนวคิดของผู้เชี่ยวชาญในวิชานั้นใช้ในการทำงาน ทำให้สามารถเรียนรู้ เข้าใจการประยุกต์ใช้กับสิ่งต่างๆ 

3) รู้ขั้นตอน มีความเข้าใจในวิธีการทำบางสิ่งโดยใช้ความรู้เข้าใจในการใช้เฉพาะวิชา และเชื่อมโยงแบบบูรณาการกับศาสตร์อื่นๆได้

สำหรับด้านทักษะ (Skills) ผู้เรียนจะต้องมีทักษะทางด้านความคิดสร้างสรรค์และการคิดแบบมีวิจารณญาณเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้  เป็นผู้มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อเรียนรู้สิ่งใหม่ที่เปลี่ยนแปลงและเกิดขึ้นในแต่ละช่วงเวลา  มีทักษะเกี่ยวกับการบริหารจัดการความไม่แน่นอน (uncertainty)ได้ดีกว่า AI  พัฒนาทักษะดิจิทัลไปพร้อมกับการพัฒนาเทคโนโลยี ในด้านทัศนคติและการคุณค่านั้น  (Attutudes&Value) ผู้เรียนควรมีทัศคติที่ดีและให้คุณค่าเกี่ยวกับ   ความเป็นอยู่ที่ดี  บุคลิกภาพดี  ความเคารพในความเป็นมนุษย์และสัญชาติ มีส่วนร่วมในการส่งเสริมทุนทางสังคมและความเป็นอยู่ที่ดีของสังคม และเป็นผู้มีศิลธรรมจริยธรรมที่ดี 

 เอาหล่ะค่ะวันนี้เรื่องที่พี่ตุ่นนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ก็จะดูวิชาการหน่อยๆ แต่พี่ตุ่นว่าเป็นเรื่องที่ไม่ใกล้ไม่ไกลตัวเราเลยค่ะ  พี่ตุ่นมาฟังไว้ใช่ว่าใส่บ่าแบกหามกันนะคะ เราได้รู้จัก OECD และปัจจัย 3 ด้านที่เกี่ยวกับการเรียนการสอน  พี่ตุ่นขอขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเว็บไซต์ของ OEDC ท่านที่ต้องการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก็ key OECD framework for teaching 2030  ในช่องสืบค้นของ Google ได้เลยนะคะ 

ขอบคุณภาพประกอบจาก OECD

หมายเลขบันทึก: 707901เขียนเมื่อ 27 กันยายน 2022 10:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 กันยายน 2022 10:18 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท