การบริหารเงินสด (2)


เงินสด

ประเภทของเงินสด

เงินสดที่กิจการหรือหน่วยงานมีอยู่ในมือและปรากฏตามบัญชีในงบดุลนั้น มักจะอยู่ภายใต้หัวข้อรายการ ถ้าเป็นภาคเอกชน "เงินสดและเงินฝากธนาคาร" ถ้าเป็นส่วนราชการภาครัฐ "เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด" ประกอบไปด้วย - เงินสดในมือ - เงินฝากธนาคาร - เงินสดย่อย - เงินฝากคลัง - รายการเทียบเท่าเงินสด เป็นต้น  บัญชีเงินฝากธนาคารกิจการหรือหน่วยงานอาจมีไว้เพื่อวัตถุประสงค์ต่างกัน เช่น เพื่อสะดวกของลูกค้าในการโอนเงินเพื่อชำระค่าสินค้า หรือบุคลากรภายในหน่วยงาน และบริการผ่านธนาคารซึ่งอยู่ใกล้สถานที่ประกอบการหรือหน่วยงานของตนเพื่อการจ่ายเช็คหรือเพื่อหาดอกผลจากดอกเบี้ยรับ เป็นต้น

สำหรับบางหน่วยงานหรือกิจการอาจจะกำหนดให้มีการเปิดบัญชีต่างธนาคารให้มากที่สุด หรือน้อยที่สุดตามที่หน่วยงานหรือกิจการต้องการ เพื่อความสะดวกในการบริหารจัดการและการตรวจสอบความถูกต้องของรายการบัญชีในแต่ละวัน หรือเพื่อความสะดวกให้แก่บุคลากรหรือลูกค้าที่มีบัญชีของแต่ละธนาคารนั้น ๆ ได้รับเงินอย่างรวดเร็ว หรือประหยัดค่าธรรมเนียมธนาคาร ซึ่งถ้าต่างธนาคารจะได้รับเงินล่าช้าต้องรอเคลียร์ริ่งเช็คเมื่อมีต่างธนาคาร จึงจำเป็นต้องเปิดบัญชีเงินฝากทุกธนาคาร

กิจการหรือหน่วยงานมักจะเปิดบัญชีกับธนาคารไว้ 2 ประเภท คือ บัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ ซึ่งจะได้รับดอกเบี้ยเงินฝาก กับ ประเภทกระแสรายวัน ซึ่งจะไม่ได้รับดอกเบี้ย แต่มีไว้ประโยชน์ในการจ่ายชำระด้วยเช็ค

เงินสดในมือ (cash on hand) หมายถึง เงินสดและเช็ครอเรียกเก็บซึ่งครบกำหนดชำระที่กิจการถืออยู่ ณ สิ้นวันใดวันหนึ่ง เงินสดที่คงเหลือเป็นจำนวนเงินสุทธิ หลังจากหักด้วยรายการจ่ายเงินสดแล้ว  หลักการควบคุมภายในที่ดี กิจการหรือหน่วยงานไม่ควรถือเงินสดไว้ในมือเป็นจำนวนมากหรือเก็บไว้เป็นเวลานาน เนื่องจากโอกาสที่จะเกิดการสูญหายหรือความยุ่งยากในการตรวจสอบความถูกต้องอาจมีมากขึ้น

การจัดเก็บเงิน

   ก็จะเข้ากับระเบียบการจัดเก็บรักษาเงินของกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2520 และแก้ไขเพิ่มเติมที่ได้กล่าวมาแล้ว ในกรณีที่รับเงินสดรับในแต่ละวันเป็นจำนวนมาก ย่อมจะต้องมีเงินสดจำนวนหนึ่งที่ยังไม่สามารถนำฝากธนาคารได้ภายในวันนั้น การจัดเก็บเงินจะต้องมีที่เก็บรักษาเงินที่ปลอดภัย เช่น การรับเงินช่วงหลังเวลาเลิกงานหรือในวันหยุดราชการที่มีการรับเงินสดเป็นจำนวนมากจะต้องมีตู้นิรภัยไว้สำหรับเก็บรักษาเงินแบบให้พนักงานสอดใส่ในตู้นิรภัยได้เลยเพื่อความปลอดภัย และมีการนำฝากธนาคารในวันถัดไป และในระหว่างวันให้ติดต่อธนาคารมารับเงินทุกสิ้นวันเพื่อจะได้เก็บรักษาเงินจำนวนน้อยที่สุดได้

 

คำสำคัญ (Tags): #เงินสด
หมายเลขบันทึก: 70748เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 22:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 มิถุนายน 2012 07:25 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • ขอบคุณครับ
  • เริ่มมีสีสันมากขึ้นครับ (ตัวอักษร)

 

เริ่มเรียนรู้ครับ จากคนอื่นๆ ครับมีสีสันก็อาจอ่านขึ้นครับ

  • ในฐานะเป็นการเงินวิชาชีพเดียวกัน ขอให้กำลังใจนะคะ เพราะรู้สึกว่าบันทึกของพวกเราชาวการเงินยังมีผู้มาแชร์ความคิดกันน้อย
  • ขอความคิดเห็นเรื่องการจัดเก็บเงิน ทำงานกับโรงพยาบาล มีคลินิกนอกเวลา มีผู้จัดการบริหารด้านอื่น แต่เรื่องเงินไม่มีคนรับผิดชอบ ได้แต่ใช้วิธีการให้เจ้าหน้าที่การเงินนำเงินมาหยอดในตู้เซฟ
  • ถ้าจะให้ทำตามระเบียบว่าด้วยวิธีการจัดเก็บเงินจะต้องมีคณะกรรมการ ก็คงจะใช้ชีวิตที่ไม่ปกติเหมือนคนอื่น ๆ แน่
  • เพิ่งจะเริ่มอบรมเรื่องบล็อกเดือน พย.นี้ค่ะ เริ่มฝึกหัดเหมือนกัน
สีม่วงอ่อน อ่านยากไปหน่อยนะคะคุณจักริน ในย่อหน้าสุดท้ายอ่ะค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท