009: การวิจัยเชิงพรรณนา....บันไดก้าวแรกของ R2R


การออกแบบการวิจัยมีหลากหลายรูปแบบ การวิจัยเชิงพรรณนา เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำได้ง่าย แต่ก็ยังมีประโยชน์

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive study)
เป็นการรวบรวมและนำเสนอข้อมูลที่ง่ายกว่าการวิจัยแบบอื่น
ทำให้ถูกตีค่าว่ามีประโยชน์น้อย จึงมักจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร
วารสารบางเล่ม ถึงกับมีนโยบายไม่รับตีพิมพ์ถ้าหากเป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง

แน่นอน..ว่าจะไม่มีประโยชน์เลย หากเป็นเพียงกระดาษชิ้นหนึ่งซึ่งทำแล้วก็เก็บไว้บนหิ้ง
แต่ในส่วนของ R2R แล้ว
การวิจัยเชิงพรรณนา นับเป็นบันไดก้าวแรกในการพัฒนา
เพราะการวิจัยเชิงพรรณนา จะทำให้เราทราบข้อมูลพื้นฐานและทราบข้อปัญหาที่เรามีอยู่

จึงเป็นการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันที่มีประโยชน์เพื่อที่จะทำวิจัยและพัฒนาต่อไป
ดังนั้น การวิจัยเชิงพรรณนา จึงมีส่วนในการทำงานทุกวันๆ ของผมมาโดยตลอด
เริ่มต้นโดยการทบทวนผลการดำเนินงานที่ผ่านมา
นำผลการทบทวนมามองหาปัญหาที่จะพัฒนาต่อไป
ทำการปรับปรุงแก้ไขปัญหาดังกล่าว
แล้วก็ ทบทวนผลการดำเนินงาน อีกครั้งหนึ่ง

นี่ก็คือ CQI นั่นเอง
ใช่ครับ แต่เป็นการทำ CQI ที่เป็นระบบ เป็นระเบียบ และมีหลักฐาน ทำให้ CQI มีคุณค่าสูงขึ้น ได้ผลงานที่สามารถนำไปตีพิมพ์ได้ และเป็น R2R ได้
ที่สำคัญที่สุดคือระบบการจัดเก็บข้อมูล
หน่วยระงับปวดหลังผ่าตัด มีการจัดเก็บข้อมูลที่ดี ต้องขอบคุณทีมงานทุกคนที่ทุ่มเทกับงานนี้ ทำให้สามารถดึงข้อมูลออกมาวิเคราะห์ตามประเด็นที่ต้องการได้ง่าย
สามารถนำผลงานในแต่ละปีมา Benchmark กันได้
การวิจัยเชิงพรรณนาจึงจะเกิดประโยชน์และไม่อยู่บนหิ้งอีกต่อไป

คำสำคัญ (Tags): #r2r#cop
หมายเลขบันทึก: 70649เขียนเมื่อ 3 มกราคม 2007 11:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (11)
ดิฉันอ่านบันทึกนี้ของอาจารย์แล้วทำให้มีกำลังใจในการทำมากยิ่งขึ้น...ดูง่ายดี....ขอถอนหายใจลึกๆยาวๆก่อนค่ะ......แล้วจะตั้งหลักเดินหน้ากับน้องๆในกลุ่มผู้สนใจ...อาจจะช้าหน่อยเพราะเดี๋ยวนี้กำลังใจถูกทอนง่ายมากเหลือเกิน...คอยเป็นที่ปรึกษานะคะ...อย่าเบื่อก่อนล่ะ
  • ยินดีอย่างยิ่งครับ
  • กำลังใจ  รู้สึกว่าใครๆ ก็ต้องการ ทำไมไม่มีขายบ้างนะ
  • เอาเป็นว่าให้กำลังใจกันและกันก็แล้วกันนะ
  • ประกาศ ประกาศ ถ้าคุณหมอเปลี่ยนรูป
  • รับรองหล่อมากๆๆๆๆๆ
เอากำลังใจใส่รถบรรทุก 18 ล้อมาฝากค่ะ
  • รับแค่ 8 ล้อ ก็พอ
  • ที่เหลือ อีก 10 เอาไว้ใช้เองบ้างครับ เห็นบอกว่าต้องการเหมือนกันไม่ใช่หรือ
  • ตกลงใส่รูปได้แล้วใช่ไม๊

อ.ขจิตครับ

  • ปรับขนาดรูปตามคำเรียกร้องแล้ว
  • ดูแล้วไม่เลวใช่ไม๊ครับ

ขอสมัครเป็นสมาชิกคุณหมอด้วยคนค่ะ  กำลังหาบล็อกพูดคุยเรื่อง R2R อยู่พอดีค่ะ  ว่าจะทำออกมายังไง เพราะส่วนมากถูกมองว่าคุณค่าน้อยจริงๆ ค่ะ

ขอให้ คณะทำงานศูนย์การเรียนรู้โรคติดต่อนำโดยแมลง ลองแวะไปเยี่ยมเยียนบล็อก R2R ของศิริราช ที่ http://gotoknow.org/blog/maewmee/76831หรือ www.si.mahidol.ac.th/r2r
แวะไปแล้วค่ะ น่าสนใจมากค่ะ จะขอติดตามเรื่อยๆ นะค่ะ

พึ่งผ่านมาพบ Blog ของอาจารย์ครับ มีข้อคิดที่น่าสนใจมากๆครับ สำหรับ Criteria ในการสนับสนุนของ R2R ที่ศิริราช เราไม่ได้ยึดติดกับรูปแบบงานวิจัยใดๆ หากแต่งานวิจัยนั้นสามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้จริงในหน่วยงาน ยกตัวอย่างโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน มีตั้งแต่การสร้างแบบวัดหรือการ Validate แบบวัดที่วัดทาง pyschometric ต่างๆเพื่อนำมาใช้ประเมินผู้ป่วยอย่างเป็นประจำและใช้เป็นแบบวัดในงานวิจัยต่อไป, การหยุดดูหรือประเมินตนเองว่าผลการทำงานดีเพียงใด ถ้าเทียบไปก็คือขั้นตอน plan ใน PDCA-CQI นั้นเองครับ แต่ถ้าจะให้ดี descriptive study หลายๆครั้งอาจนำ statistical process control chart เข้าไปเสริมด้วยก็จะทำให้ผลงานนั้น sexy ขึ้นอีกมากเลยครับ ซึ่งผมเห็นด้วยกับอาจารย์ครับว่า descriptive study นั้นจริงแล้วสำคัญมากๆเพื่อไปฐานที่จะขยับทำอะไรต่อไป  และยังมีอีกหลายโครงการเป็น multi cross-sectional study (before-after), cross-sectional survey study และโครงการที่เป็น RCT ก็มีจำนวนนึงครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท