เรียนรู้วิทยาศาสตร์ด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น


วิทยาศาสตร์ท้องถิ่น 1

    วิทยาศาสตร์อยู่ทุกหนทุกแห่ง วิทยาศาสตร์อยู่ในชีวิตจริงของเรา เราดำรงชีวิตที่ใด  ที่นั่นเราต้องเรียนรู้วิทยาศาสตร์รอบตัวเราเพื่อการปรับตัวทันต่อเหตุการณ์ ณ ที่นั้นๆ  จึงเป็นที่มาวิทาศาสตร์ท้องถิ่น

 

    การที่จะเรียนรู้วิทยาสตร์ในหลักสูตรได้ดีนั้น ผู้เรียนจะต้องได้ลงมือปฏิบัติด้วยตัวเองหรือมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว  พูดเป็นภาษาปฏิรูปการศึกษาว่าการเรียนรู้อย่างมีความหมาย (Meaning Full Leaning)  เนื้อหาที่จะใช้ในการเรียนรู้นั้นจำเป็นต้องเนื้อหาในท้องถิ่นของตนเองแทนที่จะเอาเนื้อหามาจากท้องถิ่นอื่น ยิ่งเรียน  ผู้เรียนก็ยิ่งสับสนเพราะผู้เรียน เรียนแล้วไม่ได้นำมาใช้ในชีวิตจริงการเรียนรู้ก็จึงไม่เกิดความหมายกับผู้เรียน ครูผู้สอนเองก็ออกแบบกิจกรรมยากลำบาก  ถามว่าเมื่อนำเนื้อหาจากท้องถิ่นมาจัดกระบวนการเรียนรู้ติดขัดที่หลักสูตรหรือไม่ ผู้เขียนขอตอบได้เลยว่าเรายึดมาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้นเป็นหลักวิเคราะห์เนื้อหาในท้องถิ่นนำมาจัดการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้แบบนี้ผู้ที่ขับเคลื่อนร่มกับครูก็คือภูมิปัญญาท้องถิ่น  ผู้ที่มากด้วยประสบการณ์  การจัดการเรียนรู้แบบนี้นอกจากนักเรียนจะบรรลุตามความมุ่งหมายของหลักสูตรแล้วนักเรียนยังได้เรียนรู้ร่วมกับพ่อ แม่ ผู้สูงอายุในท้องถิ่น เกิดความรัก ความเข้าใจ เกิดคุณธรรม  ความหวงแหน เกิดการอนุรักษ์  และพัฒนาท้องถิ่นของตนเองในอนาคต   การจะจัดการเรียนการสอนอย่างไรนั้น   ต้องเชิญชวนติดตามในวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น 2

 

หมายเลขบันทึก: 70443เขียนเมื่อ 1 มกราคม 2007 13:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 00:26 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

วิถีคน  กับ  วิถีวิทยาศาสตร์  ใกล้หรือไกลกันแค่ไหน

วิถีคิดแบบนี้น่าแลกเปลี่ยนไหม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท