นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่ ในการพัฒนคน


เอื้อต่อกันและเกิดเป็น "ดุลยภาพที่เคลื่อนไหว" (Dynamic Balance) "พึ่งพิงอิงกัน" (Interdependence) มากกว่าที่จะเป็นเพียงแค่การ "พึ่งพาอาศัย" (dependence)

     "ทฤษฎีใหม่" เป็นทฤษฎีที่มีรากฐานอยู่บนเมตตาธรรมและจริยธรรมของการให้ความพอดี ความเพียงพอ อิงธรรมของธรรมชาติ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้พระราชทานเป็นแนวทางไว้ และ ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ก็ได้อันเชิญไปปาฐกถา ในฐานะผู้แทนของราชบัณฑิตยสถาน เมื่อคราวการสัมนาโครงการปราชญ์เพื่อกู้แผ่นดิน เมื่อปี 2541 (รายละเอียดอื่นผมไม่ได้บันทึกย่อไว้ จากบันทึกย่อเรื่องเมื่อ 10 มี.ค.2543)

     ดร.ชัยอนันต์ สมุทวนิช ได้ให้ความหมายที่เกี่ยวกับ "ทฤษฎีใหม่" ว่า เป็นมิติความหลากหลาย เป็นทางสายกลาง มีจริยธรรมเป็นรากฐาน และเป็นทฤษฎีที่ว่าด้วยการอยู่รวมกันของสิ่งแตกต่างหลากหลาย โดยไม่จำเป็นต้องเป็นคู่ตรงกันข้าม ขัดแย้ง แข่งขัน เอาแพ้ เอาชนะ ครอบงำซึ่งกันและกัน หากเอื้อต่อกันและเกิดเป็น "ดุลยภาพที่เคลื่อนไหว" (Dynamic Balance) "พึ่งพิงอิงกัน" (Interdependence) มากกว่าที่จะเป็นเพียงแค่การ "พึ่งพาอาศัย" (dependence) ความยิ่งใหญ่ของ "ทฤษฎีใหม่" นี้ สรุปได้ 9 ประการ เรียกว่า "นพลักษณ์ของทฤษฎีใหม่" คือ

          1. หลากหลาย (Multiple Diverse)

          2. ร่วมนำ (Co - existing)

          3. คิด-ทำ (Thinking - Doing)

          4. เรียบง่าย (Simple)

          5. ผสานทุกอย่าง (Integrating)

          6. ควรแก่สถานการณ์ (Timely)

          7. องค์รวมรอบด้าน (Holistic)

          8. บันดาลใจ (Inspiling)

          9. ไม่ไฝ่อุดมการณ์ - เป็นการสากล (Universal)

หมายเลขบันทึก: 7032เขียนเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2005 13:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มีนาคม 2015 08:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท