ใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำจะดีกว่า


หลักธรรม “ใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนแล้ว จึงค่อยทำจะดีกว่า” นั้น เป็นหลักธรรมที่ทำให้เราตระหนักเสมอว่า จะต้อง รู้จักพิจารณาให้ถี่ถ้วน รอบคอบ แยกแยะให้รู้ดี รู้ชั่ว รู้ถูก รู้ผิดก่อน แล้วจึงค่อยทำ เราสามารถนำข้อคิดนี้ไป ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตในสถานการณ์อื่น ๆ ได้เสมอ ดังบทกลอนที่สอนใจเราไว้ว่า        “ก่อนจะเชื่อสิ่งใด ให้พิสูจน์            ก่อนจะพูด ให้ยั้งคิดวินิจฉัย            ก่อนจะทำสิ่งใดๆ ให้ดี              คิดให้ถ้วนถี่ จึงจะเกิดผลดีตามมา”

ใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน แล้วจึงค่อยทำจะดีกว่า

 

 ใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน

แล้วจึงค่อยทำจะดีกว่า

ดร. ถวิล อรัญเวศ

        เวลาใจเราสงบ เมื่อนำหลักธรรมมาพิจารณาแยกแยะ
เพื่อให้รู้ดีรู้ชั่ว รู้ผิดรู้ถูก ก็จะทำให้ใจเรามีความสุขได้เหมือนกัน
เช่นเดียวกับการที่เราได้ฟังสิ่งบันเทิงใจอื่น ๆ เช่น เสียงเพลง
เสียงลำ เสียงแหล่ เสียงออดอ้อน เสียงปลอบใจเป็นต้น

       เพราะบ่อเกิดแห่งความสุขนั้น อยู่ที่ใจเรา

เป็นสำคัญ ไม่เช่นนั้น โบราณเขาจะไม่พูดว่า

“สวรรค์ในอก นรกในใจ” หรือบางคนอาจจะ

พูดว่า “สวรรค์ อยู่ที่อก นรกอยู่ที่ใจ” ก็น่าจะ

เป็นคำที่อุปมาอุปไมยได้เช่นกัน เพียงแต่ว่าใจ

เราอย่าไปปรุงแต่งให้มันเกินเลยไปกว่านั้น

เพราะโดยปกติใจเรานั้น เป็นดุจสายน้ำ คือ

สายน้ำโดยธรรมชาตินั้น จะมีธรรมชาติไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ
ยกเว้นน้ำประปาที่ได้รับแรงดันจาก

ไฟฟ้า สามารถไหลจากต่ำไปสูงได้

      จิตใจเราก็เช่นกัน มักจะใฝ่ต่ำ หรือใฝ่ใน

การทำความชั่วมากกว่าทำความดี

      เพราะเหตุไร ? เพราะเหตุที่ว่า ความชั่วนั้น

ทำได้ง่าย แต่ความดีนั้น ทำได้ยาก…….

      สิ่งใดก็ตาม ถ้าฝืนใจ จะทำได้ยาก แต่ถ้าทำ

ตามใจชอบ ใจอยากนั้น จะทำได้ง่าย แต่ผลแห่ง

การกระทำนั้น จะเป็นเครื่องชี้บอก โดยเฉพาะ

การกระทำที่มีเจตนา หวังผลแห่งการกระทำ

จะก่อให้เกิดกรรม เกิดวิบากกรรม ถ้าทำดี ก็จะเป็นบุญ
ทำไม่ดีหรือทำชั่ว ก็จะเป็นบาป

        ท่านจึงให้แง่คิดแก่เราว่า “ถูกใจเป็นรอง

ถูกต้อง เป็นหลัก” หรือ “ฝืนใจ จะได้กำไร

ตามใจ จะขาดทุน”

        บาป บุญ ทุกข์ สุขนั้น คล้าย ๆ กัน

บาป ก่อให้เกิดทุกข์  บุญก่อให้เกิดสุข

บุญ มาจากการที่ใจเราคิดทำความดี บาป

เกิดมาจาก การที่ใจเรา คิดทำความชั่ว และ

ได้ลงมือทำความชั่วที่ได้คิดไว้แล้วนั้น

       เสียใจ เดือดร้อนใจ จะพาไปนรก

       ดีใจ สุขใจ บันเทิงใจ จะพาไปสวรรค์

       สุขใจ เย็นจิตเย็นใจ จะพาไปนิพพาน

     ดังนั้น ในบทบาลี พุทธศาสนสุภาษิต จึงสอน

เราไว้ว่า

    นิสมฺม กรณํ เสยฺโย.

[คำอ่าน : นิ-สำ-มะ, กะ-ระ-นัง, ไส-โย]

 “ใคร่ครวญ (ไตร่ตรอง) ให้ดีเสียก่อน

แล้วจึงค่อยทำ จะดีกว่า”

       เพราะการกระทำใด ๆ ที่ขาดการใคร่ครวญ

ไตร่ตรองให้ดีเสียก่อน การกระทำนั้น ย่อมมีโอกาสที่จะก่อให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย

เมื่อการกระทำนั้นเกิดการผิดพลาดแล้ว  ผลที่จะตามมาอาจเสียชื่อเสียง
เสียการงาน เสียภาพลักษณ์ที่ดี เสียชีวิต เสียเวลา เสียเงิน

เสียทอง หรือก่อให้เกิดความเสื่อมเสียด้านศีลธรรมจรรยาไปด้วย

     ดังนั้น การกระทำที่ขาดการใคร่ครวญ

ไตร่ตรองให้ดี ให้รอบคอบก่อนแล้วจึงค่อยทำนั้น

จะพาใจเราเป็นทุกข์ เดือดร้อนใจภายหลังได้

     ท่านจึงแนะนำตักเตือนให้เรา ให้เป็นคน

ที่ไม่ควรกินตามอยาก ทำตามใจอยากในทาง

ที่ไม่ดี  แต่ให้เรารู้จักข่มจิตข่มใจไว้ได้ จะก่อให้

เกิดความปลอดภัยดีกว่า จะมีชีวิตที่สุขกว่า

   

สรุป

     ข้อคิดจากหลักธรรม  “ใคร่ครวญไตร่ตรองให้ดีเสียก่อนแล้ว
จึงค่อยทำจะดีกว่า” นั้น เป็นหลักธรรมที่ทำให้เราตระหนักเสมอว่า จะต้อง
รู้จักพิจารณาให้ถี่ถ้วน รอบคอบ แยกแยะให้รู้ดี
รู้ชั่ว รู้ถูก รู้ผิดก่อน แล้วจึงค่อยทำ เราสามารถนำข้อคิดนี้ไป
ประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตในสถานการณ์อื่น ๆ ได้เสมอ 
ดังบทกลอนที่สอนใจเราไว้ว่า

         “ก่อนจะเชื่อสิ่งใด ให้พิสูจน์

            ก่อนจะพูด ให้ยั้งคิดวินิจฉัย

             ก่อนจะทำสิ่งใดๆ ให้ดี

              คิดให้ถ้วนถี่ จึงจะเกิดผลดีตามมา”

------------

 

 

หมายเลขบันทึก: 702537เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2022 03:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 พฤษภาคม 2022 03:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท