เรื่องเล่าเร้าพลัง เมื่อคน PC ลุกขึ้นมาทำ R2R


R2R_Palliative care

       Session: EP.3 เรื่องเล่าเร้าพลัง เมื่อคน PC ลุกขึ้นมาทำ R2R

ผู้นำเล่าเรื่อง

อุบล จ๋วงพานิช และ ปาริชาติ เพียสุพรรณ์ 

ผู้เล่า

พว เสริมสุข ธัญญะวัน และ ภก ศุภชัย แพงคำไหล

 

วัตถุประสงค์ 
          ให้ผู้เข้าร่วมประชุม ได้เรียนรู้วิธีและกระบวนการในการสร้างงานวิจัยจากงานประจำ เห็นคุณค่าของ R2R และการนำผลการวิจัยมาใช้ประโยชน์ได้จริง

 

แนวทางการเล่า

เราจะขอให้ผู้วิจัย เล่าเรื่อง การพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัย โดยเล่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง ตามลำดับในงานที่เราและทีมงานทำ เล่าได้อย่างอิสระและกระชับ รอบที่ 1 ไม่เกิน 20 นาที  รอบสองและสาม ผู้นำสนทนา พี่แก้วกับพี่ปา จะเป็น Facilitator ชวนคุยตามประเด็น เพื่อกระตุ้นให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มเติม

 

ประเด็นในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  • การตั้งคำถามวิจัย 
  • กระบวนการดำเนินวิจัย 
  • การวัดผลลัพธ์ของงานวิจัย 
  • ปัจจัยที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จมีอะไรบ้าง อะไรที่สำคัญที่สุดและ สิ่งที่เราภาคภูมิใจ
  • ปัจจัยที่ทำให้การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มากที่สุด?
  • วิธีการชักชวนผู้ร่วมงานให้นำผลการวิจัยไปใช้อย่างไร?
  • การนำผลการวิจัยไปใช้ มีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ต่อผู้ป่วย ต่อผู้ปฏิบัติงานและต่อองค์กรอย่างไร
  • ผู้มีส่วนร่วมและช่วยเหลืองานวิจัยจนประสบผลสำเร็จ 
  • หัวหน้าในหน่วยงานหรือองค์กรมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัยทั้งในปัจจุบันและในอนาคตอย่างไร?
  • ข้อคิดที่จะฝากให้ผู้ที่คิดจะทำงานวิจัยจากงานประจำ?
  • คิดว่า ประเด็นที่อยากพัฒนางานประจำให้เป็นวิจัยอีกคือเรื่องอะไรคะ?

   

สรุปประเด็น 

คุณจ้อ เสริมสุข  

    นักวิจัยทำ  R2R 

  • โฟกัสที่งานประจำ จากปัญหาหน้างาน การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย 
  • มีขนาดปัญหาชัดเจน พบว่า ผป กลับมาเสียชีวิตใน รพ กว่าครึ่ง พัฒนาจากการทำ CQI ก่อน
  • นำมา KM กัน กับทีมคุ้นเคยก่อน Med 15 คน นำข้อมูลมาวิเคราะห์ แล้ววางแผน ยกร่างระบบการวางแผนการจำหน่าย ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ระบบดูแลที่บ้าน เยี่ยมบ้าน นำไปปฏิบัติ ตอนแรกอาจจะมีประเด็นปัญหาแล้วปรับใหม่ 3 รอบ ให้สามารถนำไปใช้จริง ฝึก caregiver เตรียมอุปกรณ์ ติดตามเยี่ยมโดยใช้โทรศัพท์ เยี่ยมบ้าน 
  • วัดผล ปวด หายใจหอบเหนื่อย กระวนกระวาย ร้อยละ 34.85 readmit 
  • โดยใช้ช่วงเวลาที่ดี คือ ช่วงที่มีการประเมินคุณภาพ รพ 
  • เพื่อยกระดับคุณภาพ คือ การวางแผนจำหน่าย 
  •  เทคนิคการตั้งคำถามวิจัยของคุณจ้อ เอาตัวชี้วัดซึ่งเป็นเป้าหมายองค์กร แล้วค่อยๆพัฒนากระบวนการทำงาน เพื่อยกระดับผลลัพธ์การดูแลผู้ป่วย PC ให้ดีขึ้น 
  • ผลลัพธ์ ภาวะปวด หายใจหอบเหนื่อย กระวนกระวาย ร้อยละ 34.85  การกลับมานอนโรงพยาบาลด้วยปัญหาที่ป้องกันได้ คิดเป็นร้อยละ 18.18 ได้รับการเยี่ยมบ้าน ร้อยละ 78.80   สถานที่เสียชีวิต  ร้อยละ 92.89 เป็นที่บ้าน  ลักษณะการเสียชีวิต ด้วยอาการสงบ ร้อยละ 65.15  ครอบครัวมีความพึงพอใจต่อการดูแลผู้ป่วย อยู่ในระดับมากที่สุด ร้อยละ 73.26 ระดับมาก ร้อยละ 18.21  (91.47%) อีก

 

โจทย์วิจัย อ อัครินทร์ อธิบายว่า 

1) คลี่flow กระบวนการทำงาน  เข้าถึง ลีน 2) อุบัติการณ์ การบ่น 3) ตัวชี้วัด มีตัวที่ดีไหม ตัวชี้วัดที่ดี คือ ตัวที่เราทำได้ไม่ถึงเป้า  ตัวที่ทำได้ดีแล้ววางได้เลย  4) เป้าหมายองค์กร  เราก้าวหน้าไปในทิศทางไหน

 

สรุปประเด็น คุณแดง ศุภชัย  เภสัชกร 

  • โฟกัสที่งานประจำ จากปัญหาหน้างาน การดูแลผู้ป่วยระยะท้าย 
  • โจทย์มาจาก มองเข้าไปดูกระบวนการทำงาน ว่า ทำไมนะ pt ถึงไม่ได้ยา  ไม่มียา ไม่มีเงินค่ารถ สารพัดปัญหา 
  • แล้วหาปัญหา จากการทบทวนเวชระเบียน แล้วมา คลี่ flow กระบวนการทำงาน  เพื่อให้ pt เข้าถึง  แทนที่จะมีการบ่น
  • เริ่มจากใจ เห็นความทุกข์ทรมานของผู้ป่วย ไม่สามารถเข้าถึงยาแก้ปวดที่ดี  อยากช่วยเหลือให้เขาพ้นทุกข์ เริ่มจากทุนที่เรามี  
  • KM กับเพื่อนร่วมงาน เพื่อหารูปแบบและติดตามผล โดยใช้ action research ปี 2558 ทำสามวงรอบเริ่มทำปี 59-61 ดูจาก risk 3 ประเด็น ตั้งชื่อว่า ทีมปันบุญ  แล้วมาอบรม จนท ในเรื่องต่างๆ  ให้สามารถปฏิบัติได้ คลิปการให้ยา จากกล่องบรรเทา รอบที่ 3 สังเกต ตามเยี่ยมผู้ป่วยสัปดาห์ที่ 1 และ 3 
  • ผลลัพธ์ ได้ model รูปแบบการเข้าถึงยา …. ได้บทเรียน หาแหล่งประโยชน์ ทำผ้าป่าหาเงินซื้อของตอนหลัง  ผบห ซื้อให้  ปัญหาแก้ไม่ได้ด้วยตัวเรา เช่น ผป ไม่ได้ยาไปทานที่บ้าน ต้องสะท้อนให้ผู้บริหารคอยช่วยเหลือ หางบประมาณ  หาความรู้เพิ่ม โดยมาพบหน่วย PC รพ ศรีนครินทร์ คือ อ ศรีเวียง ทำให้การพัฒนางานราบรื่น
  • ทำงานประจำให้เป็นวิจัยอย่างต่อเนื่อง
  • เปลี่ยนระบบความคิดของคนทำงาน จนท ชุมชน นี่คือเราทำให้ ผป ตายดี ทำอะไรต่อก็ง่าย สำคัญทุกคน ทุกวิชาชีพ  เราคือ คนสำคัญ จุดคลิก ในการทำงาน เกิดขึ้นแล้ว กับคนทำงาน ชุมชนไม่ทิ้งกัน “ผ้าป่า syringe diver” อื่นๆ ผู้บริหารมองเห็นประโยชน์ ซื้อเครื่องต่างๆให้....

 

สรุปสุดท้าย 

อ.แดง  เล่าว่า 

  • คำถามวิจัย ต้องช่วยกัน และคิดว่าเป็นปัญหาส่วนร่วม ทำยังไงจะแก้ปัญหาได้ 
  • การประชุมทีมก็ตามมา
  • มองหาคนมีอำนาจที่จะแก้ปัญหา ขับเคลื่อนไปได้
  • หาแนวทางแก้ปัญหา วัดผล แล้วถอดบทเรียน
  • ทีมได้ประโยชน์ 
  • ไม่ผลักภาระให้ใคร
  • ทำแล้ว ต้องปรับเปลี่ยนนโยบาย
  • อันไหนยาก ก็หาอันที่ง่าย

 

คุณเขียว พยาบาลเล่าว่า 

  • ทำระดับเขต
  • สร้างรูปแบบการดูแลให้ชัดเจน
  • เจอ gap สร้างรูปแบบการดูแลในชุมชน
  • มีเครือข่ายมั่นใจ มากขึ้น
  • เอาข้อเสนอของอาจารย์มาพัฒนาไปเรื่อยๆ
  • ทำงานด้วยอย่างมีความสุข

 

คุณจ้อ

  • ทำวิจัย แล้วกำลังเผยแพร่ตีพิมพ์ มีกัลยาณมิตร มีพี่เลี้ยง ได้เครือข่าย มีที่ปรึกษา มีความสุขในการทำงาน

 

สรุป การจัดครั้งนี้ inspire คนเข้าประชุมทางซูมได้ คนเล่ามีความสุข ผู้นำเล่าเรื่องก็มีความสุขค่ะ

……………………………

แก้ว บันทึก

30-04-2565

หมายเลขบันทึก: 702473เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2022 10:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มีนาคม 2024 06:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท