หิ้วถุงยามาตามนัด


สุรีรัตน์ กลุ่มไหม, อุบล กำจัดภัย, เกศสุดา สวนแก้ว

วัตถุประสงค์
- เพื่อติดตามการรับประทานยาและการเก็บรักษายาที่ถูกต้อง รวมทั้งพัฒนาระบบนัดให้มีประสิทธิภาพ ตลอดจนช่วยประหยัดทรัพยากรเวชภัณฑ์ของโรงพยาบาล

วิธีการศึกษา
-เป็นการวิจัยเชิงสำรวจในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 – 30 ตุลาคม 2548 กลุ่มเป้าหมาย เป็นผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคหัวใจ ไทรอยด์ และความดันโลหิตสูง ที่ผ่านระบบนัดของโรงพยาบาล เก็บข้อมูล จำนวนและชนิดของยาที่เหลือของทุกคน นำมาคำนวณเป็นมูลค่า วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป

ผลการศึกษา
- จากผู้ป่วยที่ศึกษา มียา 47 รายการ มีจำนวนยาเหลือเป็นมูลค่าถึง 41,549 บาท ในช่วงเวลาที่ศึกษา อัตราการผิดนัดลดลงเหลือร้อยละ 2.87 โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน ผิดนัดลดลงเฉลี่ยร้อยละ 1.82 ต่อเดือน

สรุป
- การใช้ยาของโรงพยาบาลที่ลดลง หมายถึง การประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล จากการศึกษาพบการเก็บยาของผู้ป่วยไม่มีประสิทธิภาพ เม็ดยาแตกหัก ชื้น และสับสน นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการสั่งซื้อยาที่บรรจุเสร็จ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บรักษายาที่ผู้ป่วย จำนวนเม็ดยาที่เหลือ ช่วยเตือนผู้ป่วยว่าใกล้ถึงเวลากำหนดนัด ส่งผลให้อัตราการผิดนัดลดลง สามารถตรวจสอบวิธีการรับประทานยาของผู้ป่วยได้ โดยหากมาตรวจก่อนนัดและหลังนัด มักเกิดจากการรับประทานยาผิด ผลของโครงการฯ ทำให้มีการให้คำปรึกษาการรับประทานยารายบุคคล และคุณภาพการรักษาพยาบาลดีขึ้น ซึ่งหากมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง และการศึกษาต่อยอด จะช่วยแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด ทั้งงบประมาณ บุคลากรทางการแพทย์ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ ในขณะที่มีภาระในการดูแลรับผิดชอบภาวะสุขภาพของประชาชนจำนวนมาก

จาก บทคัดย่อผลงานวิชาการนำเสนอ
ในการประชุมวิชาการกระทรวงสาธารณสุข ประจำปี ๒๕๔๙
วันที่ ๔-๖ กันยายน ๒๕๔๙ ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ กรุงเทพมหานคร


หมายเลขบันทึก: 70042เขียนเมื่อ 29 ธันวาคม 2006 11:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 16:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท