คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นนักบริหาร 9


คุณสมบัติของผู้ที่จะเป็นนักบริหาร 9

          1.  ชีวิตของผู้ที่เป็นข้าราชการต่างก็พยายามปฏิบัติหน้าที่ราชการแสดงฝีมือออกมาให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของผู้บริหารของหน่วยงาน เพื่อจะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งขึ้นสู่ระดับสูงขึ้นไปเรื่อย ๆ เรียกว่า ใช้วิชาความรู้ที่ตนมีอยู่เสนอผลงานขณะเดียวกันการประพฤติปฏิบัติก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ด้วย ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งด้วย

            2.   หลักสูตรการฝึกอบรมสำคัญที่จะนำไปเป็นคุณสมบัติประการหนึ่งในการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 คือ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง (นบส.) ของสำนักงาน ก.พ.

            3.  หลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ. มีการจัดอบรมปีละ 2-3 รุ่น แต่ผู้ที่อยู่ในเกณฑ์ที่จะสมัครเข้ารับการอบรมมีมากกว่าจำนวนที่จะรับได้ หน่วยงานราชการและหน่วยงานของรัฐอื่นจึงได้จัดการฝึกอบรม ในลักษณะดังกล่าวขึ้นและเสนอหลักสูตรดังกล่าวให้ ก.พ. พิจารณารับรองด้วย ปรากฏว่ามีหลักสูตรที่ ก.พ. รับรองว่า ผู้ผ่านการอบรมหลักสูตรนั้นจะมีคุณสมบัติในการสมัครสอบเท่ากับผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงของสำนักงาน ก.พ. มีจำนวน 6 หลักสูตรดังนี้  

   1) หลักสูตรป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร   

   2) หลักสูตรการป้องกันราชอาณาจักรภาครัฐร่วมเอกชน (ปรอ.) วิทยาลัยป้องกัน ราชอาณาจักร     

    3) หลักสูตรนักปกครองระดับสูง (นปส.) สถาบันดำรงราชานุภาพ กระทรวงมหาดไทย     

    4) สูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การเมือง การปกครองในระบอบประชาธิปไตย สำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 1-9     

    5) หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารงานภาครัฐและกฎหมายมหาชน รุ่นที่ 1-5     

     6) หลักสูตรประกาศนียบัตรชั้นสูง การบริหารเศรษฐกิจสาธารณะสำหรับนักบริหารระดับสูง รุ่นที่ 1-4หลักสูตรที่ 1 และที่ 2 เป็นของกระทรวงกลาโหม ส่วนหลักสูตรที่ 4-6 เป็นของสถาบันพระปกเกล้า (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร. 1013.3/220 ลงวันที่ 31 สิงหาคม 2549) 

            4. ในการสมัครเข้ารับการคัดเลือกเพื่อเลื่อนขึ้นแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนักบริหาร 9 ก็ได้กำหนดให้การผ่านการอบรมหลักสูตรดังกล่าวข้างต้นเป็นคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิสมัครเข้ารับการคัดเลือกด้วย ดังปรากฏในหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร.0701/ว.9 ลงวันที่ 15 สิงหาคม 2544 ที่ นร1003/11ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2549 ที่ นร1003/13 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2549) เพียงแต่ช่องทางการเข้าสู่เวทีการคัดเลือกเท่านั้นที่มีปัญหาต้อง   ขึ้นโรงขึ้นศาลสู้รบกันจนถึงที่สุด มีผลสรุปออกมา ก็ขอนำมาบอกเล่าทบทวนให้เพื่อนข้าราชการและบุคลากร   ที่ต้องเกี่ยวข้องกับเรื่องฟัง จะได้ปฏิบัติได้ถูกต้องและไม่มีการฟ้องร้องกันอีกครับ

            5.  เดิมสำนักงาน ก.พ. ได้บอกว่าผู้ที่จะเข้าสู่เวทีการคัดเลือก จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรนักบริหารระดับสูงที่ ก.พ. รับรองและส่วนราชการที่มีตำแหน่งว่างเสนอชื่อด้วย แต่ปรากฏว่ามีการนำเรื่องขึ้นสู่ศาลปกครองจนศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษา คดีหมายเลขแดงที่ อ. 89/2549 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2549 สำนักงาน ก.พ.จึงออกหนังสือยกเลิกตามมติ ก.พ. เพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาลปกครองดังกล่าว (หนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร1003/ว.11 ลงวันที่ 30 มิถุนายน 2549) และ ก.พ. มีมติใหม่ว่าผู้มีสิทธิสมัครจะต้องมีคุณสมบัติ           ตรงตามคุณสมบัติเฉพาะสำหรับตำแหน่งและมีคุณสมบัติอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ

    1) -ผ่านการอบรมหลักสูตร นบส. ของ ก.พ.              

        -ผ่านการประเมินสมรรถนะหลักและ     

        -ขึ้นบัญชีผู้ผ่านการประเมิน หรือ

     2) -ผ่านการอบรมหลักสูตรที่ ก.พ. พิจารณารับรอง       

         -เข้ารับการประเมินสมรรถนะ (และต้องผ่านด้วย มิเช่นนั้นจะไม่มีสิทธิ) ตกลงเรื่องคุณสมบัติการอบรมก็ชัดเจนแล้วนะครับ  หลักสูตรนักบริหารของหน่วยงานใดที่เปิดอบรมอยู่และเห็นว่าอยู่ในเกณฑ์เช่นเดียวกับหลักสูตร นบส. ของ ก.พ. ก็เสนอมาเพื่อพิจารณาขอการรับรองจาก ก.พ.ได้ครับ เพื่อจะได้เปิดโอกาสแก่ผู้ที่ประสงค์จะเข้ารับการอบรมนั่นเอง

                                                                            แนวหน้า : 29 ธ.ค. 49

คำสำคัญ (Tags): #นักบริหาร
หมายเลขบันทึก: 69854เขียนเมื่อ 28 ธันวาคม 2006 10:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 21:38 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
ได้เข้ามาเรียนรู้ครับ ขอบคุณครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท