มหาวิทยาลัยกับงานวิจัย การปรับเปลี่ยนเพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา ตอน 3 (4)


วัฒนธรรมอำนาจ อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อฟังผู้มีอำนาจ ผู้มีอำนาจเป็นผู้ตัดสินถูกผิด แต่ในวัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องเน้นที่การท้าทายตั้งคำถามต่อความเชื่อเก่าหรือความรู้ความคิดแบบเดิม ๆ

         < เมนูหลัก >

         ตอน 3 (4)

         “ปฏิวัติวัฒนธรรม” เพื่อภารกิจสร้างสรรค์ปัญญา

         อำนาจ-การเรียนรู้

         วัฒนธรรมไทยในปัจจุบันยกย่องผู้มีอำนาจมีตำแหน่ง โดยหวังผลตอบแทนเชิงอุปถัมภ์ว่าผู้มีอำนาจเหล่านั้นจะบันดาลผลประโยชน์ในเชิงลาภและยศให้แก่ตัวเองได้

         วัฒนธรรมอำนาจ ผูกพันอยู่กับความสัมพันธ์เชิงอุปถัมภ์ เชิงนาย-บ่าว หัวหน้า-ลูกน้อง

         ในมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นองค์กรที่เน้นการเรียนรู้และสร้างสรรค์สิ่งใหม่ องค์ความรู้ใหม่ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลต้องเน้นเพื่อการเรียนรู้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งจะนำไปสู่จินตนาการใหม่ ๆ การค้นคว้าทดลองใหม่ ๆ วัฒนธรรมอำนาจ อยู่บนพื้นฐานของความเชื่อฟังผู้มีอำนาจ ผู้มีอำนาจเป็นผู้ตัดสินถูกผิด แต่ในวัฒนธรรมการเรียนรู้ต้องเน้นที่การท้าทายตั้งคำถามต่อความเชื่อเก่าหรือความรู้ความคิดแบบเดิม ๆ

         บทความพิเศษ ตอน 3 (4) นี้ได้ จากหนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ปีที่ 9 ฉบับที่ 2795 (105) 16 พ.ค.39 พิเศษ 6 (บทความไอที)

         เขียนโดย ศ.นพ.วิจารณ์   พานิช

         วิบูลย์  วัฒนาธร

 

หมายเลขบันทึก: 6972เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2005 12:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:05 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท