อ้อยทิพย์ คำป้อง 46311700


วรรณะของผึ้ง
วรรณะของผึ้ง แบ่งออกเป็น 3 วรรณะคือ 1. ผึ้งนางพญา (The Queen) ผึ้งนางพญาสามารถแยกออกจากผึ้งตัวผู้ และผึ้งงานได้โดยง่าย เพราะผึ้งนางพญาจะมีขนาดใหญ่ และมีลำตัวยาวกว่าผึ้งตัวผู้และผึ้งงาน ปีกของผึ้งนางพญาจะมีขนาดสั้น เมื่อเทียบกับความยาวของลำตัว เนื่องจากส่วนท้องของผึ้งนางพญาจะค่อนข้างเรียวยาว ดูแล้วมีลักษณะคล้ายกับตัวต่อ ผึ้งนางพญาจะมีเหล็กไน ซึ่งมีไว้สำหรับต่อสู้กับนางพญาตัวอื่นเท่านั้น ไม่เหมือนผึ้งงานที่ใช้เหล็กไนไว้ทำร้ายศัตรู การเคลื่อนไหวของผึ้งนางพญาค่อนข้างเชื่องช้า แต่สุขุมรอบคอบ แต่ถ้าจำเป็นก็พบว่านางพญาสามารถเคลื่อนไหวได้รวดเร็วเช่นกัน ในรังผึ้งนางพญาที่ถูกผสมพันธุ์แล้วเรามักจะพบอยู่บริเวณรวงผึ้งที่มีตัวอ่อนอยู่ภายในหลอดรวง นางพญาจะถูกห้อมล้อมด้วยผึ้งงาน โดยผึ้งงานจะใช้หนวดแตะหรือใช้ลิ้นเลียตามตัวผึ้งนางพญา ผึ้งงานเหล่านี้ทำหน้าที่คอยให้อาหาร ทำความสะอาดและนำของเสียที่ผึ้งนางพญาขับถ่ายออกไปทิ้ง นอกจากนั้นผึ้งงานยังรับเอาสารที่ผึ้งนางพญาผลิตออกมา แล้วส่งต่อให้ผึ้งงานตัวอื่น ๆ หรือใช้ปีกกระพือให้กลิ่นของสารแพร่กระจายไปทั่วรังผึ้ง

 


 

 

2. ผึ้งตัวผู้ (The Drone) ผึ้งตัวผู้จะมีขนาดใหญ่และตัวอ้วนกว่าผึ้งนางพญาและผึ้งงาน แต่จะมีความยาวน้อยกว่าผึ้งนางพญา ผึ้งตัวผู้จะไม่มีเหล็กไน ลิ้นจะสั้นมาก มีไว้สำหรับคอยรับอาหารจากผึ้งงาน หรือดูดกินน้ำหวานจากที่เก็บไว้ในรวงเท่านั้น ผึ้งตัวผู้จะไม่มีการออกไปหาอาหารกินเองภายนอกรัง ผึ้งตัวผู้ไม่มีที่เก็บละอองเกสร เป็นที่ทราบกันดีว่าผึ้งตัวผู้มีหน้าที่อย่างเดียวภายในรัง คือผสมพันธุ์ผึ้งตัวผู้จะไม่ทำงานอะไรทั้งสิ้นภายในรัง ปริมาณของผึ้งตัวผู้ภายในรังไม่แน่นอน อาจมีได้ตั้งแต่ศูนย์ถึงหลายพันตัวขึ้นกับฤดูกาล ผึ้งตัวผู้จะเจริญมาจากไข่ที่ไม่ได้รับการผสม (Un-fertilized egg) เมื่อตัวอ่อนของผึ้งตัวผู้โตเต็มที่ ผึ้งงานก็จะมาปิดฝาหลอดรวงด้วยไขผึ้ง ผึ้งตัวผู้ก็จะเข้าดักแด้อยู่ภายใน เมื่อครบกำหนดก็จะกัดไขผึ้งที่ปิดฝาออกมาเป็นตัวเต็มวัย อายุประมาณ 16 วัน พร้อมที่จะผสมพันธุ์ได้      ในการผสมพันธุ์พบว่า ผึ้งตัวผู้จากรังผึ้งต่าง ๆ ในปริมาณใกล้เคียงกันจะบินออกจากรังไปรวมกลุ่มกัน ณ สถานที่ซึ่งเรียกว่า ที่รวมกลุ่มของผึ้งตัวผู้ (Drone Congregation Area) ในวันที่อากาศดี ท้องฟ้าแจ่มใส การผสมพันธุ์จะเกิดขึ้นภายในบริเวณนี้คือเมื่อมีผึ้งนางพญาสาวบินเข้ามาในบริเวณนี้ ผึ้งตัวผู้เป็นกลุ่มก็จะบินติดตามไปเพื่อผสมพันธุ์ ตัวผู้แต่ละตัวใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาที ในการผสมพันธุ์โดยเริ่มตั้งแต่ผึ้งตัวผู้บินติดตามนางพญาได้ทัน ก็จะใช้ขาเกาะติดกับนางพญาทางด้านหลัง แล้วก็จะออกแรงดันให้อวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งตัวผู้เข้าไปในอวัยวะสืบพันธุ์ของผึ้งนางพญาแล้วผึ้งตัวผู้นั้นก็จะตกลงมาตาย โดยที่อวัยวะสืบพันธุ์ยังหลุดติดคาอยู่ที่ผึ้งนางพญา ถ้าตัวผู้ตัวไหนยังไม่ได้ผสมพันธุ์ในวันนั้นจะบินกลับรัง เพื่อรอโอกาสในวันต่อไป ถ้าหมดฤดูผสมพันธุ์ผึ้งตัวผู้ที่ยังไม่ได้ผสมพันธุ์ก็มักจะถูกไล่ออกจากรัง หรือผึ้งงานจะหยุดป้อนอาหารและตายไปในที่สุด

3. ผึ้งงาน (The Worker)

ผึ้งงานเป็นผึ้งที่มีขนาดเล็กที่สุดภายในรังผึ้ง แต่มีปริมาณมากที่สุด ผึ้งงานถือ กำเนิดมาจากไข่ที่ได้รับการผสมกับเชื้อตัวผู้ (Fertilized egg) ผึ้งงานเป็นเพศเมีย เช่นเดียวกับผึ้งนางพญา แต่เป็นเพศเมียที่ไม่สมบูรณ์ คือส่วนของรังไข่จะมีขนาดเล็กไม่สามารถสร้างไข่ได้ ยกเว้นในกรณีที่รังผึ้งรังนี้เกิดขาดนางพญาขึ้นมาก็พบว่า อาจมีผึ้งงานบางตัวสามารถวางไข่ได้ (Laying Worker) แต่ไข่ที่วางจะเป็นไข่ที่เป็นผึ้งตัวผู้
คำสำคัญ (Tags): #คนรักผึ้ง
หมายเลขบันทึก: 6968เขียนเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2005 11:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 22:36 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

อยากทราบว่า โดยปรกติ ผึ้งจะบินไปไหนมาไหนตัวเดียวรึเปล่า

เพราะที่บ้านอยู่กรุงเทพ และเป็นคอนโด เคยย้ายมาหลายครั้ง

ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหน  จะมีผึ้งแบบตัวเดี่ยวๆ บินมาให้หวาดเสียวเล่น

แล้ววันต่อมา เราก็จะพบศพ นอนตาย และซากศพนั้น แปลกมาก คือ ไม่เน่าเปื่อย  และต่อให้มีมด แมลงเดินกันขวักไขว่ แต่เขาจะไม่ไปตอมผึ้งเลย  ครั้งแรก ที่พบซากศพเค้า เราก็งงว่า ทำไมมาตายที่ระเบียงบ้านเราหนอ ทั้งที่ก็อยู่ในกรุง เธอจะบินหลงฝูงมาจากไหนกัน ถึงมาตัวเดียว แถมตัวใหญ่ห้วย เราเลย

ช่วยทำพิธีเผาให้ตรงนั้น  แต่สิ่งที่ละลาย กลายเป็นอะไรที่ทั้งขัด และถูก็ไม่ออก  ต่อมาย้ายบ้าน มาคอนโดใจกลางกรุงเข้ามาอีก

แถวสาทร ก็มาพบซากศพผึ้งนอนตายอีกที่ระเบียง เราก็ไม่ใส่ใจ

ผ่านไปหลายวันมากๆ  เขาก็อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่เน่า ไม่เปื่อย ไม่มีมดแมลงตอม หรือนำไปเป็นอาหาร  เราก็เลยหยิบ ขึ้นมาไว้ในที่ๆจะสังเกตเห็นได้ชัด บางทีน้ำไปโดนก็ไม่เป็นอะไร เราก็ยังเก็บเขาไว้อยู่จนถึงทุกวันนี้ ก็คงไม่ต่ำ กว่า 2-3เดือนนะ 

อยากทราบว่าพอมีใครรู้คำตอบบ้างค่ะ ว่า

1.ทำไมผึ้งบินมาเดี่ยว และต้องมาตายกลางเมือง

2.ทำไมซากเค้าไม่เน่าเปื่อย ไม่มีแมลงหรือมดไปยุ่งเลย

ไม่ได้ล้อเล่นนะคะ  ถามแบบจริงจังมาก  เพราะที่ยังไม่ได้เล่าเกี่ยวกับผึ้ง มีอีกเยอะค่ะ แต่ขอถามที่สงสัยจริงๆก่อน

ช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณมาก

   คำว่าผึ้งในชมรมคนรักผึ้งนี้ หมายถึง ผึ้งที่ให้น้ำผึ้งที่ฝรั่งเรียกว่า "Honeybees" ซึ่งเป็นแมลงสังคม หรือ Social insect แต่ตัวที่คุณพึ่งผึ้งเห็นนี้ อาจจะเป็นผึ้ง ในระดับ Subsocial insect หรืออาจเป็นผึ้งที่หากินตัวเดียว ที่เขาเรียกว่า Solitary insect ก็ได้

   เข้าใจว่าเป็นผึ้งเดี่ยว และมาเล่นไฟในเมืองจึงตายอยู่กลางเมือง เมื่อตายน่าจะสร้างสารบางอย่างไว้ทำให้มีกลิ่นที่ไม่น่าชวนดมสำหรับพวกมด และเนื่องจากแมลงมีขนาดเล็กร่างกายถูกแสงแดงเผา น้ำในร่างกายแห้งไปทำให้ตัวแห้งเลยไม่เน่าเปื่อย ....ถ้าจะให้ดีช่วยบอกสีตัวของผึ้งที่เห็นมาด้วยครับ อาจวิเคราะห์ออกว่าเป็นผึ้งอะไร หรือ เป็นพวกกลุ่ม มด ต่อ แตน ผึ้ง

ถ่ายรูปไว้แล้วค่ะ  อยากทราบความจริงเหมือนกัน

ยังไงช่วยลองเข้าไปดูให้หน่อยนะคะคุณสมลักษณ์

แต่ข้อความที่คุณกล่าวไว้ว่า "แสงแดงเผา น้ำในร่างกายแห้งไปทำให้ตัวแห้งเลยไม่เน่าเปื่อย " อันนี้จริงค่ะ เพราะส่วนล่างของเขาไม่มีอะไรเลย แต่ก็ยังคงสภาพปรกติ พอเราพลิกด้านล่างมาดู  ก็เห็นเป็นรู แต่ไม่ทราบว่าเป็นรูอะไร ส่วนสภาพอื่นๆ ค่อนข้างสมบูรณ์ดีค่ะ

พึ่งทราบว่ามีผึ้งแบบหากินตัวเดียว  ถือเป็นความรู้ใหม่ค่ะ

ขอบคุณนะคะที่ช่วยไขข้อข้องใจ  เพราะชอบเจอผึ้ง และเขาชอบมาบินวนใกล้เรา  เมื่อต้นปีไปพักดอยแม่สลอย  ขนาดอยู่ในร้านอาหาร  มีคนยืนอยู่กับเรา 4 คน แต่มาบินวนเหมือนเห็นเราเป็นเกสรดอกไม้ไปได้ ขนาดหลบพัลวัน เป็นนาทีเลยนะ

งง..ว่าทำไมเขาไม่กลัวเรา  และไม่เห็นไปบินตอมคนอื่น

เอ..เรามีสารอะไรในต้วที่ทำให้ผึ้งเข้าใจผิดรึเปล่าเนี่ย...

http://www.palungjit.com/gallery/bulkupload.php?ppaction=addphotos&do=preview&photopath=1160&upuser=&notify=no&defcat=500&deftitle=%BC%D6%E9%A7&defdesc=&numprocess=10&processall=no&dthumbs=

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท