ทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาของโลกในศตวรรษที่ 21


คุณภาพเป็นเรื่องที่การประชุมเกี่ยวกับการปฏิรูปอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องกล่าวถึง โดยเฉพาะจะต้องเน้นคุณภาพของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา คุณภาพของหลักสูตร คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพของการจัดการ ซึ่งมาตรการที่จะนํ าไปสู่คุณภาพนั้นควรประกอบไปด้วยการประเมิน โดยมีการประเมินกิจกรรมของอุดมศึกษาในทุกประเภท

          ถ้าสาวเรื่องราวย้อนกลับไปว่าทำไมมหาวิทยาลัยต้องออกนอกระบบ จะพบ ต้นตอของสาเหตุสำคัญอันหนึ่ง ที่มาจากข้อเสนอแนวทางการปฏิรูปการศึกษา  ตาม พ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542  โดยคณะกรรมการจัดทำแนวทางการปฏิรูปอุดมศึกษา ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.2542 ซึ่งมีศาสตราจารย์ นพ.เกษม  วัฒนชัย เป็นประธานกรรมการ

          ดิฉันไม่ขอเล่าถึงรายละเอียดข้อเสนอในรายงานฉบับดังกล่าว แต่จะนำเพียงภาคผนวก ที่เป็นการศึกษาวิจัยเอกสาร (documentary research) การปฏิรูปการศึกษาในต่างประเทศ  ได้แก่ การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศอังกฤษ  ออสเตรเลีย  นิวซีแลนด์  ญี่ปุ่น  สิงคโปร์  มาเลเซีย  สหรัฐอเมริกา การอุดมศึกษาของฮ่องกง และทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาในศตวรรษที่ 21 จากผลการประชุมระดับโลก คัดลอกมาให้ได้อ่านกัน

          เพื่อจะได้ศึกษาเปรียบเทียบ หลากหลายรูปแบบ และมีความรู้เพิ่มมากขึ้น และรู้ลึกเข้าไปอีกว่าทำไมต้องปฏิรูปการศึกษา

เริ่มด้วย เรื่องที่หนึ่ง

ทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาของโลกในศตวรรษที่ 21
โดย  ดร.ผดุงชาติ  สุวรรณวงศ์  และ  รศ.ดร.ไพฑูรย์  สินลารัตน์

          การปฏิรูปอุดมศึกษาของประเทศต่าง ๆ ที่เป็นอยู่ในป้จจุบัน เกิดจาก
ความเปลี่ยนแปลงอันรวดเร็วและกว้างขวางทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เทคโนโลยี วัฒนธรรม เหตุผลและที่มาของการปฏิรูปอุดมศึกษาของโลก สรุปได้ว่ามาจากปัจจัย 6 ประการ คือ

  1. การขยายตัวด้านปริมาณของนักศึกษา
  2. ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความต้องการในทรัพยากรมนุษย์ที่ดีขึ้นและมากขึ้น
  3. กระแสโลกาภิวัตน์
  4. เทคโนโลยีสารสนเทศ
  5. ข้อจำกัดด้านงบประมาณ และ
  6. การปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจ

          สำหรับทิศทางการปฏิรูปอุดมศึกษาของโลก สามารถพิจารณาได้จาก 7
เรื่อง คือ

  1. พันธกิจ
  2. การจัดการ
  3. การเข้าถึง
  4. คุณภาพ
  5. ความสอดคล้อง
  6. การเงิน และ
  7. ความเป็นนานาชาติ


พันธกิจ

          ในเรื่องพันธกิจของการอุดมศึกษานั้น พันธกิจหลัก 4 ด้านที่เป็นที่รู้จักกันดี คือ การจัดการเรียนการสอน การค้นคว้าวิจัย การบริการสังคม และทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมยังได้รับการรับรองว่าเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ตาม พันธกิจที่สำคัญอย่างยิ่งยวดของการอุดมศึกษา คือ การให้บริการแก่ตัวบุคคลและสังคม พันธกิจหลัก 4 ประการจะต้องมุ่งไปสู่การพัฒนาและแก้ปัญหาของตัวบุคคลและสังคม ตลอดทั้งเปิดวิถีทางและชี้นำอนาคตที่ดีกว่าให้ด้วย

การจัดการ

          ในเรื่องของการจัดการนั้น ถือเป็นเรื่องใหญ่ของการอุดมศึกษา เพราะจะเป็นตัวกํ าหนดความก้าวหน้าหรือล้าหลังของสถาบันอุดมศึกษา จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่สถาบันอุดมศึกษาของไทยจะต้องให้ความสํ าคัญกับการจัดการ โดยเฉพาะในส่วนของการพัฒนาการจัดการ  โดยการกระจายความรับผิดชอบโดยตรงจากรัฐบาลไปสู่องค์กรหรือคณะกรรมการกลางระหว่างรัฐบาลกับสถาบันอุดมศึกษา พร้อมพร้อมทั้งให้มหาวิทยาลัยมีอิสระในการบริหาร แต่ก็ต้องมีหลักประกันที่จะตรวจสอบคุณภาพและความสํ าเร็จตามนโยบายรัฐบาลได้  นอกจากนั้น จะต้องให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับมหาวิทยาลัย (stakeholders) เข้ามามีส่วนในการวางนโยบายและตัดสินใจในกิจการสำคัญของมหาวิทยาลัยด้วย ในขณะเดียวกันการจัดการในยุคใหม่ก็จะต้องอาศัยเทคโนโลยีและระบบการวางแผนที่มุ่งอนาคตเป็นสำตัญ ซึ่งสิ่งที่จะทำให้ข้อเสนอข้างต้นประสบความสํ าเร็จได้ก็คือการพัฒนาบุคลากรการบริหารในสถาบันอุดมศึกษาอย่างเร่งด่วน

การเข้าถึง

          ในส่วนของการเข้าถึงการอุดมศึกษานั้น ความต้องการของประชาชนที่จะเรียนในระดับนี้เพิ่มขึ้นอย่างมากมายเป็นประวัติการ เพื่อให้การเข้าถึงอย่างเป็นธรรมจึงมีการเสนออย่างจริงจังที่จะให้ใช้หลักการที่ว่า ต้องเปิดโอกาสให้ทุกคนเข้าาถึงการอุดมศึกษาอย่างเท่าเทียมกันบนพื้นฐานของความสามารถ การเตรียมตัวพร้อม และความ มุ่งมั่นที่จะเรียน โดยไม่คํ านึงถึงเรื่องอื่นใด เช่น อายุ ฐานะทางสังคม เพศ ศาสนา ภาษา ความบกพร่องทางกาย ด้วยหลักการนี้จะทํ าให้โอกาสทางการศึกษาระดับนี้ขยายตัวอย่างกว้างขวาง เรื่องการเข้าถึง ควรจะจัดอยู่ในบริบทของการศึกษาตลอดชีวิต ไม่ว่าจะเป็นในระบบ นอกระบบ หรือตามอัธยาศัย

คุณภาพ

          คุณภาพเป็นเรื่องที่การประชุมเกี่ยวกับการปฏิรูปอุดมศึกษาทุกแห่งจะต้องกล่าวถึง โดยเฉพาะจะต้องเน้นคุณภาพของบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา คุณภาพของหลักสูตร คุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐาน และคุณภาพของการจัดการ ซึ่งมาตรการที่จะนํ าไปสู่คุณภาพนั้นควรประกอบไปด้วยการประเมิน โดยมีการประเมินกิจกรรมของอุดมศึกษาในทุกประเภท การพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัย  พร้อมทั้งกำหนดพฤติกรรมขั้นต่ำของการเรียนการสอนตามมาด้วยการพัฒนาการเรียนการสอนอย่างสมํ่ าเสมอ ควรจะต้องมีการจัดตั้งหน่วยส่งเสริมการเรียนการสอนขึ้นในแต่ละสถาบัน และกระตุ้นให้มีกิจกรรมอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ นอกจากนั้น การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาการวิจัย และการมีเครือข่ายระหว่างสถาบันและระหว่างผู้สอน ก็จะเป็นเครื่องมือสำคัญของคุณภาพเช่นกัน

ความสอดคล้อง

          ความสอดคล้อง เป็นประเด็นสำคัญอีกประเด็นหนึ่งของการปฏิรูปอุดมศึกษา โดยสถาบันอุดมศึกษาจะต้องดํ าเนินการให้ตรงต่อปัญหาของสังคม (pertinence) พร้อมทั้งเข้ากันได้กับส่วนต่างๆ ของสังคม โดยเฉพาะเข้ากันได้
ได้กับนักการเมือง โลกของงาน วัฒนธรรม ระบบการศึกษาของชาติ และต่อทุกคน
รวมทั้งนักศึกษาและอาจารย์ ดังนั้น สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับปัญหาสังคมที่มนุษย์เผชิญอยู่อย่างแท้จริง และเข้าไปมีหุ้นส่วนกับองค์กรการผลิตต่างๆ อย่างเข้มข้น ในขณะเดียวกันรัฐบาลและชุมชนก็ต้องให้ความสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาอย่างจริงจังด้วย โดยนัยนี้สถาบันอุดมศึกษาและสังคมจึงควรพิจารณาวิธีการใหม่ในกิจกรรมของอุดมศึกษาให้มากขึ้นและควรมี “ศูนย์เฝ้าติดตาม” (observatories) เพื่อช่วยในการวางแผนอุดมศึกษาของสถาบันและของชาติด้วย

การเงิน

          สํ าหรับด้านการเงินของการอุดมศึกษา งบประมาณของการอุดมศึกษาโดยทั่วไป ขยายตัวน้อยกว่าการขยายตัวด้านปริมาณของนักศึกษา และเมื่อคิดเป็นค่าของเงินที่แท้จริงแล้วจะยิ่งลดน้อยลง จึงเห็นว่ารัฐบาลของประเทศต่างๆ  มีแนว
โน้มที่จะลงทุนด้านการอุดมศึกษาน้อยลง แต่เมื่อเปรียบเทียบกับการลงทุนในระดับก่อนอุดมศึกษา (คือระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษารวมกัน) แล้ว พบว่าการลงทุนในระดับอุดมศึกษาสูงกว่ามาก ความแตกต่างที่ชัดเจนเช่นนี้ยังเป็นแนวโน้มต่อไป ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะลงทุนในการอุดมศึกษาน้อยลง  แต่รัฐบาลควรถือเป็นหน้าที่ที่จะต้องสนับสนุนเงินงบประมาณแก่สถาบันอุดมศึกษาต่อไปและให้ถือว่าเป็นรายได้หลักของสถาบัน ในปัจจุบันสถาบันอุดมศึกษาส่วนใหญ่ต้องพยายามหารายได้จากแหล่งหรือกิจกรรมอื่น ๆ เช่น ค่าเล่าเรียน (เพิ่ม) การวิจัยภาคธุรกิจอุตสาหกรรม การจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม การเป็นที่ปรึกษา การให้เช่าที่ดินและอาคาร  เงินช่วยเหลือต่างๆ รวมทั้งการบริจาค

ความเป็นนานาชาติ

          ความเป็นนานาชาติเป็นทั้งธรรมชาติและผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและการเมืองในยุคใหม่ต่อสถาบันอุดมศึกษา โดยการ ร่วมมือกันในระดับนานาชาติของสถาบันอุดมศึกษานั้นควรจะร่วมมือกันในระดับภูมิภาค (regional integration) เป็นหลักและควรจะเป็นการร่วมมือกันเพื่อพัฒนา
ศักยภาพของแต่ละประเทศเป็นประเด็นสํ าคัญ ไม่ควรเน้นเพื่อเป็นแหล่งในการถ่ายทอดความรู้จากภายนอกเท่านั้น และควรหลีกเลี่ยงการดำเนินงานในลักษณะซํ้ าซ้อนให้มาก  ในงานของความเป็นนานาชาตินี้ควรเริ่มด้วยการรับรองการศึกษาและวุฒิปริญญาซึ่งกันและกัน เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและอาจารย์ร่วมกัน การมีเครือข่ายก็เป็นสิ่งสำคัญ เพื่อจะได้นำไปสู่การเรียนรู้ และยกระดับคุณภาพซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะควรให้ความสนใจกับเครือข่ายของเครือข่าย (network of networks) เพื่อให้ระบบที่มีอยู่แล้วดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ

หมายเลขบันทึก: 69587เขียนเมื่อ 27 ธันวาคม 2006 00:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 พฤษภาคม 2012 12:03 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท