การจัดการความรู้สู่การพัฒนาการส่งเสริมการเกษตร (7) เกษตรปลอดภัยสู่อินทรีย์


ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จก็คือ ปัญหาของชุมชน ที่จะมาเป็นโจทย์และเป็นแรงบันดาลใจให้เราต้องสู้และเราจะต้องทำ เพื่อให้บรรลุผลให้ได้

เสวนาเรื่อง  การทำเกษตรปลอดภัยสู่อินทรีย์

ณ บ้านนาป่าแดง  อ.พรานกระต่าย  จ.กำแพงเพชร

ในงานมหกรรมการจัดการความรู้แห่งชาติ ครั้งที่ 3 

วันที่ 2 ธค. 49 เวลา  13.30 - 14.30 น.

ณ ห้อง MR 225

ผู้ร่วมเสวนา       1. นายสมหมาย พลอาจ  เกษตรกรผู้นำ

                            2. นางรัตติยา ขวัญคำ  นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร                         

                      ผู้ดำเนินการเสวนา      นางนันทา  ติงสมบัติยุทธ์                             

                            KM37.jpg

     คุณสมหมาย พลอาจ และคุณรัตติยา  ขวัญคำ บนเวทีเสวนา

                             KM KP.jpg

                         นิทรรศการ KM จ.กำแพงเพชร

เกริ่นนำ 

                     บ้านนาป่าแดง  เป็นตัวอย่างของการทำเกษตร  ที่เกษตรกรสามารถพึ่งพาตนเองได้และเป็นจุดเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง  ซึ่งเราจะมาสรุปบทเรียนว่า  เขาทำมาได้อย่างไร?  

 คุณสมหมาย พลอาจ  เล่าว่า......  

              - ความเป็นมาของการทำอาชีพทำนานั้นเราทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษตาไม่มีใครยกย่อง  แต่เมื่อได้ทำการปฏิวัติเขียวคือ นำอินทรีย์เข้ามาใช้ เพราะที่ผ่านมา เราหลงผิด ทำอาชีพตามพ่อค้าที่เราได้ใช้สารเคมี ถึงแม้ได้ผลผลิตมากแต่ทำไมรายได้ต่ำ เงินไม่พอใช้ จึงทำให้เกิดการย้านถิ่นไปทำงานที่อื่น               

                    - หลังจากนั้นผมได้มารู้จักกับคุณรัตติยา ซึ่งก่อนหน้านั้นผมไปทำงานที่กรุงเทพฯ เมื่อกับบ้านจึงรู้จักกันแล้วไปแอบดูสิ่งที่เขาทำ แล้วนำมาศึกษาหาความรู้จากการอ่านหนังสือ เช่นกี่วันจึงใส่ปุ๋ยข้าว  กี่วันจึงใช้ยา  แล้วนำไปทดลองทำ  หลังจากนั้นก็ได้รับการคัดเลือกเป็นผู้นำชาวบ้านจึงได้มาเชื่อมกับคุณรัตติยาโดยมาแนะนำ แล้วผมก็ทำการจดบันทึก  แต่ก็ยังทำแบบเก่า จนปี 2545 โครงการพักชำระหนี้เข้ามา ผมก็ได้เข้าร่วมโครงการด้วย แต่ไม่ได้มีหนี้  ได้เข้าไปศึกษาดูงานที่ธรรมอโศก แล้วนำมาทดลองทำเองซึ่งยังไม่ได้เผยแพร่ และยังมีภาระต้องใช้หนี้อยู่ทำให้ภรรยาไม่มั่นใจจึงขอทดลองทำแค่ 1 ไร่ แล้วถ้าขาดทุนก็จะรับภาระเอง  หลังจากนั้นก็ทำไปควบคู่กับการปฏิบัติ โดยมีการลงบัญชีทุกครั้งที่มีรายจ่าย  พอจบงานเก็บเกี่ยวได้ก็นำผลผลิตมาเปรียบเทียบกับภรรยาปรากฎว่า ของผมน้อยกว่า  แต่พอขายข้าวก็นำรายจ่ายกับรายได้ที่ขายได้ ปรากฎว่า ของผมได้มากกว่า คือ  ภรรยาทำนา 10 ไร่ ได้  60ถัง/ไร่ ได้กำไร ประมาณ 5,000 กว่าบาท  ส่วนของผมก็ได้ ประมาณ 30,000 กว่าบาท  ได้กำไรมากกว่า  และของผมแบ่งไว้กินเองด้วย เพราะปลอดภัย  ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่น่าเชื่อ  จึงทำให้ภรรยาผมกลับมาช่วยกันทำ  ภรรยาผมเริ่มเข้าใจ จึงทำให้ผมมีกำลังใจ และคิดว่าผมมาถูกทาง               

                      - หลังจากนั้นผมจึงคิดที่จะลดต้นทุน  โดยหาแนวร่วม ที่ใช้วิธีการเริ่มจาก                คำถามที่ 1 การทำนาของพี่นั้นพี่มีส่วนแบ่งกี่คน เป็นใครบ้าง  จำนวนเท่าไหร่                คำตอบที่ได้คือ  มีส่วนแบ่งมาก และต้นทุนมาก                ข้อสรุปคือ เราจะทำบัญชีเพื่อลดต้นทุน และลดส่วนแบ่งที่เกิดขึ้นให้เหลือน้อยลง               

                       - แต่ก่อนหน้านั้น ผมได้ทำแผนชุมชนมาก่อน จึงทำให้รู้ข้อมูลภาระหนี้ของเกษตรกร  ฉะนั้น จึงหันมาคิดว่า ทำอย่างไร...ให้ลดต้นทุนได้  จึงต้องลดต้นทุน  แล้วมีเกษตรปลอดภัยเข้ามา ซึ่งมีภาคีร่วมเข้ามาร่วมกันทำ โดยให้เอางบประมาณมารวบกัน แล้วให้เกษตรกรได้เลือก เช่น อยากจะไปดูงานที่ไหน...เราก็จะไปกัน                     ดังนั้น ช่วงแรกที่เราทำเราก็ใช้ปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกตามที่เรามี ซึ่งเป็นความรู้ที่เรามีอยู่แล้วภายในหมู่บ้าน                

                         - ส่วนวิธีการแลกเปี่ยนเรียนรู้นั้นสิ่งสำคัญอยู่ที่ผู้รับว่า เขาอยากได้หรือเปล่า?  โดยผมจะดูที่แกนนำเป็นหลัก และคนที่เข้ามาต้องการจริงหรือไม่ แล้วมาทำร่วมกัน โดยให้กลุ่มเป้าหมายมาหาเรา ผมจึงตั้งเป็น ศูนย์เรียนรู้ ที่รับสมัครคนที่สนใจได้มาเรียนรู้และเรียนฟรีด้วย จะเป็นเวทีเสวนาเป็นหลัก ที่เน้นการปฏิบัติเป็นหลักที่เน้น เป็นผู้ให้...มากกว่าผู้รับ  ยิ่งทำยิ่งรู้ ได้แก่  การทำน้ำหมักชีวภาพที่ถูกวิธี  ตั้งแต่การเก็บพืชที่ถูกวิธี  การทำน้ำหมัก 

ฐานการเรียนที่ที่เกิดขึ้นมี 4 ฐาน ได้แก่  ฐานการทำน้ำหมัก  ฐานการทำปุ๋ยหมัก  ฐานทำน้ำส้มควันไม้  ฐานหมูหลุม  โดยทุกฐานจะต้องเอื้อกัน  แล้วทุกฐานจะมารวมกันที่แปลงนา  ส่วนหลักคิดที่ทำหมูหลุมนั้นมาจากการไปดูงานที่เมืองน่าน เพื่อศึกษาการเลี้ยง และพบว่าที่เขาพูดมานั้นเป็นเป็นหมดแล้ว เช่น  ใช้น้ำหมักชีวภาพ เป็นต้น โดยเรามีฐานอยู่แล้วที่การเลี้ยงหมูลาน  ฉะนั้น เราจึงทำการต่อยอด  และตอนนี้เรากำลังพัฒนาว่า ทำอย่างไร? ให้หมูมันน่าทาน จึงทำเป็น หมูครึ่งหลุมครึ่งลาน  เพราะหมูหลุมเมื่อดูแล้วมันไม่น่าทาน 

            ส่วนองค์ความรู้ที่ได้มาจากประสบการณ์   คือ

              1. รู้ว่าสิ่งที่เราทำมานั้น เราต้องรู้ลึกและรู้จริง  โดยทำไปเรียนรู้ไปจากการปฏิบัติแล้วนำมาสรุปเพื่อปรับแก้ จึงเป็น การเรียนรู้คู่การปฏิบัติ

              2. ปัจจัยที่ทำให้สำเร็จก็คือ  ปัญหาของชุมชน ที่จะมาเป็นโจทย์และเป็นแรงบันดาลใจให้เราต้องสู้และเราจะต้องทำ เพื่อให้บรรลุผลให้ได้ 

คุณรัตติยา  ขวัญคำ   เล่าว่า...                 

                   - ในส่วนของเจ้าหน้าที่ได้ทำหน้าที่เป็น คุณอำนวย  ซึ่งได้อยู่ใกล้ชิดกับคุณอำนวย  นอกจากนี้เรายังมีทีมงานของสำนักงานเกษตรจังหวัด และทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอ                 -  สิ่งที่ดิฉันทำก็คือ  เป็นกันเองกับชุมชน  จริงใจ  และให้เกษตรกรมีส่วนร่วมมากที่สุด  โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนเรียนรู้  แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ  การศึกษาดูงาน  มีการกระตุ้น  มีการบูรณาการแผน บูรณาการงบประมาณ  โดยชุมชนเป็นสิ่งสำคัญที่เราจะต้องใกล้ชิด  ซึ่งดิฉันจะใช้เวลาส่วนใหญ่ของช่วงเย็นและเสาร์-อาทิตย์ ในการทำงานด้วย                - เมื่อคุณสมหมายเกิดแล้ว เราก็ต้องนำเขาไปแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับคนอื่นด้วย  และให้คนอื่นเขาได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วย                

                    - การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์ ทำอย่างไร?ให้เกษตรกรประสบผลสำเร็จ ที่เป็นบทบาทหน้าที่และเป้าหมายของเรานั้น คือ

                  1. การถ่ายทอดความรู้ที่เราถ่ายทอดมาแต่เดิมนั้น  เรามาเปลี่ยนบทบาทเป็นผู้อยู่เบื้องหลังและจัดการแทน เราทำหน้าที่เป็นคุณอำนวย  และพัฒนาให้คุณสมหมายเป็นคุณอำนวยด้วย   

                  2.       เราอย่าทิ้งการทำงานและเกษตรกร

                  3.       ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่เรายังมีจุดอ่อนเกี่ยวกับ การบันทึกข้อมูล ซึ่งเราก็ต้องพัฒนาตรงนี้เพื่อให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะเป็นการเก็บหลักฐานจากการทำงาน              

                 -   ปัจจัยที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและสำเร็จนั้นอยู่ที่  1)  เกษตรกรและชุมชน  2)  องค์กรที่อยู่ในชุมชน  และ 3)  เจ้าหน้าที่  ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนงาน  โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่จะต้องมีการพัฒนาตนเองอยู่ตลอดเวลา 

                 คำถาม       การขยายแนวคิดนี้ไปสู่ชุมชนอื่นตอนนี้มีเท่าไหร่

                 คำตอบ     ได้เริ่มจากการขยายการถ่ายทอดไปสู่หมู่บ้านและคนใกล้เคียง ตำบลใกล้เคียง  และอำเภอใกล้เคียง  ซึ่งใช้ความสัมพันธ์กัน และตอนนี้เราก็ขยายไปทุกอำเภอในจังหวัดกำแพงเพชร  โดยเราจะช่วยจนเขาทำเป็น  โดยมี ศูนย์เรียนรู้ เป็นสถานที่เรียนรู้  เช่น  ถ้ามาแค่วันเดียว ก็จะได้แค่ศึกษาดูงาน  แต่ถ้ามา 2 วัน ก็จะได้การเรียนรู้เป็นหลักสูตรด้วย ซึ่งเราจะจัดเป็นลักษณะต่าง ๆ ไว้ให้เลือก และให้ทานอาหารที่เรา               

                 ตัวอย่างการจัดหลักสูตร

                เริ่มต้นจากการชักจูงเข้าสู่การเสวนากลุ่ม แล้วก็ลงมือทำกันจริง ๆ  ได้แก่   หมูหลุม  ทำบัญชี  และทำแชมพู เป็นต้น  โดยวิทยากรเกษตรกรที่ทำสำเร็จมาถ่ายทอดแทน  ซึ่งเป็นทีมที่ผ่านการทดลองทำและเห็นผลจริง ๆ ที่เกิดขึ้นแล้ว

 สรุป 

1.       การจัดการความรู้ จึงเข้ามาอุดจุดอ่อนเกี่ยวกับการบันทึก

                2.       ปัญหาเป็นโจทย์และเป็นแรงบันดาลใจให้เราต้องสู้และทำให้บรรลุ ผลสำเร็จ เช่น เป็นหนี้  เราจึงต้องมาลดต้นทุนการผลิตลง               

                 3.  การปรับเปลี่ยนบทบาทการทำงานของเจ้าหน้าที่ที่เดิมคือ การถ่ายทอดความรู้ มาเป็นการสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 

                                                                                                 ทีม KM กสก. บันทึก

นันทา  ติงสมบัติยุทธ์

26 ธค.49

หมายเลขบันทึก: 69578เขียนเมื่อ 26 ธันวาคม 2006 23:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 10:41 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)
  •  ขอบพระคุณมากครับ 
  • ขอส่งกำลังใจไปยังทีมงานส่วนกลางทุกๆ คนนะครับ
  • ขอบคุณคุณสิงห์ป่าสัก ที่ให้กำลังใจ การทำงานบางครั้งเราต้องเผชิญกับแรงเสียดทานหลายๆด้าน  กำลังใจเท่านั้น ที่จะทำให้มีแรงสู้ต่อไป ขอบคุณค่ะ... 
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท