ทำเนราชิ "Nerashi" จึงจะได้ถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูง


จากการสืบค้นอินเตอร์เน็ต โดยใช้คำว่า Bamboo Charcoal  เราจะเจอเอกสารเผยแพร่ ฟรี ๒ ที่ ๆ น่าสนใจมาก ๆ   เล่มหนึ่งเขียนโดยชาวจีน สำหรับการอบรมคนเผาถ่านและคนใช้ถ่าน ชื่อว่า  Training Manual of Bamboo Charcoal for the Producers and Consumers   อีกไฟล์หนึ่งเป็นคู่มือถ่านไม้ไผ่ ที่เขียนโดยชาวญี่ปุ่น ชื่อว่า  Bamboo Charcoal  ....  เขียนเปิดเผยสิ่งที่เราไม่ค่อยรู้ไว้มากมาย

"เนราชิ" ที่เป็นเคล็ดวิชาหนึ่งที่เขาเปิดเผยไว้ในเอกสารของชาวญี่ปุ่นเล่มนี้ 


๑) "เนราชิ" (Nerashi)  คือ "กระบวนการ" หรือเรียกได้ว่า "วิธีการ"  เพื่อทำให้ได้ถ่านไม้ไผ่คุณภาพสูง ... (ถ้าไม่ทำเนราชิ จะไม่ได้ถ่านไม้ไผ่ที่มีคุณภาพสูง) .. เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเผาถ่านของชาวญี่ปุ่น  ถือเป็นภูมิปัญญาของชาวญี่ปุ่น ที่สืบทอดส่งต่อมารุ่นต่อรุ่น


๒) การทำ "เนราชิ" คือ การเจาะให้มีช่องว่าด้านบนสุดของเตา  (ไม่ใช่ปากปล่องนะครับ) แล้วเปิดช่องหรี่อากาศด้านล่าง ให้อากาศไหลเข้าเตามากขึ้น...  "เนราชิ" จะทำให้ อุณหภูมิในเตาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว 


๓) การทำ "เนราชิ" ให้สำเร็จไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกับเตาดิน  การทำเนราชิในเตาเหล็กจะได้ผลดีกว่า ได้ถ่านที่คุณภาพดีกว่า สม่ำเสมอกว่าด้วย ... 


๔) การทำ "เนราชิ" ในการเผาถ่านอ่อน (soft charcoal) .... (คนญี่ปุ่นเรียกถ่านดำ (Black charcoal) ว่า ถ่านอ่อน  เรียก ถ่านขาว (white charcoal) ว่า ถ่านแข็ง เราเรียกตามฝรั่งว่าจะดีกว่านะครับ ถ่านดำ ถ่านขาว  เขาบอกว่า) .... การทำ "เนราชิก" ในการเผาถ่านอ่อน ต้องระวังมาก ๆ  ต้องค่อย ๆ เปิดช่องบนเล็ก ๆ และค่อย ๆ เปิดวาล์ว (หมายถึงช่องหรี่อากาศ) อย่างระมัดระวัง  และต้องรู้ขีดจำกัดของอุณหภูมิที่สูงที่สุดสำหรับไม้ชนิดนั้น ๆ ด้วย  เพราะถ้าทำอุณหสูงเกินไป ถ่านจะแตก  เสียรูป  และมักจะได้ถ่านที่มีคุณภาพไม่สม่ำเสมอ 


๖) การทำ "เนราชิ" ในการเผาถ่านแข็ง(ถ่านขาว) ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับไม้ไผ่และเตาดิน ไม่เหมือนไม้เนื้อแข็งอย่างไม้โอ๊กที่เขาเอามาเผาถ่านบินโจตัน  ในขณะที่ทำ "เนราชิ" อุณหภูมิในเตาจะสูงมากกว่า อุณหภูมิที่ได้จากการสันดาปของไม้  เตาดินจึงอาจจะแตกได้  จึงเป็นการยากมากที่จะทำ "เนราชิ" ในเตาดิน และมักจะได้ถ่านที่คุณภาพไม่สม่ำเสมอ 
มีเท่านี้ครับ ที่เขาเขียนไว้ในเอกสาร .... นอกนั้น เป็นการเขียนเปรียบเทียบเตา ๓ ชนิด  ที่เขานำมาเผาถ่านขาว  ได้แก่  เตาดิน เตาเหล็ก และ เตาสแตนเลส (SUS340)

จบฮ้วนๆ แบบนี้นะครับ

คำสำคัญ (Tags): #การเผาถ่าน
หมายเลขบันทึก: 692585เขียนเมื่อ 24 กันยายน 2021 20:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 กันยายน 2021 20:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท