บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน21 วัน


บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในการให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน21 วัน

  • ผู้ป่วยกลัวการกลืนหรือภาวะกลืนลำบากเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย อาจเกิดได้จากโรคทางกาย การหายใจกับการกลืนไม่สัมพันธ์กัน หรือเกิดจากประสบการณ์เดิมที่อาจเกิดการสำลักขณะรับประทานอาหารจึงเกิดการกลัวการกลืนขึ้น ส่งผลให้บางรายไม่สามารถรับประทานอาหารได้ มีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า ซึ่งส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต                       ในบางกรณีความกลัวน้อยอาจนำไปสู่การขาดความสนใจในอาหารการลดน้ำหนักอย่างรุนแรงหรือเบื่ออาหาร เกิดภาวะทุพโภชนาการได้
  • บทบาทนักกิจกรรมบำบัดในผู้ป่วยกลัวการกลืน โดยทำการทดสอบประเมินการกลืนเพื่อหาสาเหตุ/ปัญหาของการกลืน มีภาวะกลัวอาหารที่มีผิวสัมผัสแบบไหน ประวัติการสำลักของผู้ป่วย วิธีการประเมินการทำได้โดยการทดสอบโดยการกลืนน้ำลาย, ก่อนการทดสอบผู้ป่วยต้องมีระดับความรู้สึกตัว GCS > 13  เริ่มทดสอบโดยการให้ผู้ป่วยกลืนน้ำลายก่อนหากสามารถกลืนได้ให้ทดสอบโดยการกลืนน้ำ 3,5,10,20 ml ตามลำดับหากกลืนน้ำ 20ml ผ่านพิจารณาให้ฝึกการกลืนโดยใช้อาหาร
  • บทบาทนักกิจกรรมบำบัดที่เกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูการกลืน
  1. การให้ความรู้ในการฟื้นฟูตนเองแก่ผู้รับบริการและการป้องกันภาวะแทรกซ้อน
  2. พัฒนาองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการกลืน
  3. ให้การสนับสนุนทางด้านจิตใจ ให้ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเอง
  4. เพิ่มความสามารถในการกลืนของผู้รับบริการ


 ให้คำปรึกษาผู้ป่วยกลัวการกลืนได้ใน21 วัน

 

  • วันที่1 ลดความวิตกกังวลของผู้รับบริการใช้เทคนิค CBT ในการปรับความคิดและพฤติกรรมของผู้รับบริการ ประเมินความคิด โดยเริ่มจากการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับบริการกับผู้บำบัด รับฟังอย่างตั้งใจและเข้าใจ ดูปัจจัยที่เกี่ยวข้องกว่าทำไมผู้รับบริการถึงมีอาการกลัวการกลืนอาการที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และพฤติกรรมขณะรับประทานอาหาร ช่วยในการปรับความคิดการกลัวการกลืนของผู้รับบริการ ให้ผู้รับบริการผ่อนคลายโดยให้ไปเป็นการบ้านในการประเมินความคิดและอาการกลัวของตนเอง ฝึกให้ผู้ผู้รับบริการแยกอารมณ์ออกจากความคิดใช้ 4wในการตั้งคำถาม และการให้ผู้รับลริการคะแนนความกลัวการกลืนของตนเอง แนะนำให้ผู้ป่วยพบจิตแพทย์เพื่อประเมินความกลัวว่าอยู่ระดับใด
  • ใช้เทคนิค MI เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการขจัดความลังเลที่จะฝึกกลืนและนำไปสู้การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสอบถามถึงปัญหาและแนวทางแก้ไขที่ผู้รับบริการเคยทำรับฟังอย่างตั้งใจและส่งเสริมให้ผู้รับบริการมีแรงจูงใจสามารถคิดหาแนวทางการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ด้วยตนเอง (เริ่มทำตั้งแต่วันแรกจนกว่าผู้รับบริการจะมีการปรับความคิดและพฤติกรรมทำควบคู่ไปกับการฝึกการกลืน)


 

  • ก่อนการรับประทานอาหารทุกครั้งให้ผู้รับบริการใช้เทคนิคการออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการกลืนโดยการนำลิ้นแตะริมฝีปากบน-ล่าง-ซ้าย-ขวา และทำการกลืน ก่อนทานอาหารหรือก่อนการแปรงฟัน เพื่อเป็นการออกกำลังกายกล้ามเนื้อที่ใช้ในการรับประทานอาหาร เพื่อกระตุ้นการทําางานของสมองกับจิตเพื่อจดจ่อรับรู้สึกนึกคิดผ่านกิจกรรมการเคี้ยว กลืน กิน บริโภคอาหารอย่างมีสติสัมปชัญญะ หรือใช้วิธีใช้นิ้วโป้งสัมผัสข้อต่อขากรรไกร ดันนิ้วชี้ไปตรงๆ ท่ีปลายคาง ขยับนิ้วโป้งกับนิ้วชี้ให้ก้มคอเล็กน้อย ให้กลอกตามองลงพื้นแล้วกลืนน้ําลายเล็กน้อย เงยหน้าตรง ใช้ปลายลิ้นแตะตรงกลางเพดานใกล้ฟันบน ใช้นิ้วกลางแตะดันใต้คางเพื่อกระตุ้น น้ําลายชนิดใสแล้วไล่ไปใกล้กับกกหู จนถึงใต้ต่อขากรรไกรล่าง เพื่อกระตุ้นน้ําลาย ชนิดข้น ใช้ช้อนยาวสแตนเลสจุ่มน้ําอุ่นสัก 3-5 วินาที นําหลังช้อนมาแตะนวด ปลายล้ินซีกข้างถนัดวนไปกลางลิ้น แล้วแตะเข้าไปอีกนิดชิดล้ินไปข้างซ้าย นําช้อนออก แลบลิ้นแตะริมฝีปากล่าง ปิดปาก กลืนนําลาย แลบล้ินแตะริมฝีปาก บน ปิดปาก กลืนน้ําลาย แลบล้ินแตะมุมปากด้านขวา ปิดปาก กลืนน้ําลาย แลบ ล้ินแตะมุมปากด้านซ้าย ปิดปาก กลืนน้ําลาย ใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้แตะไล่ลงมาจาก ใต้คางอย่างช้า ๆจนเลยคอหอยนิดหนึ่ง แล้วกลืนน้ําลายให้หมดภายในสองรอบถ้าเกินสองรอบ ให้เป่าลมแรงๆออกจากปากสามครั้ง พร้อมส่งเสียงร้อง อา อู โอ แล้วค่อยก้มหน้ามองต่ำเล็กน้อยขณะกลืนน้ําลาย สุดท้ายใช้มือแตะท้องแล้วกด รอบๆสะดือและหันคอไปยังร่างกายข้างถนัดหรือข้างที่รู้สึกมีแรงมากกว่า งอ ตัวเล็กน้อยพร้อมก้มคอกลืนน้ําลาย ทําสัก 3 รอบ (เทคนิคอ้างอิงจากหนังสือกิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่ 5 หัวข้อ5.2การรู้สติ 5.2.2 จุดมุ่งหมาย)
  • ใช้เทคนิคการปรับจิตใจในทุก ๆ มื้อแบ่งเป็นวันละ 5 มื้อโดยต้องทำติดต่อกันเป็นเวลา 21 วัน ทำเท่าที่ทำได้ไม่ฝืนจัดท่าทางในการนั่งรับประทานอาหารให้อยู่ในท่าที่สบายไม่ก้มตัวจนเกินไป (ทำทุกวันตั้งแต่วันที่ 3-21)


 

  • วันที่ 1-7 เริ่มฝึกจากอาหารที่ผู้รับบริการชอบและมีอาการกลัวสำลักน้อยที่สุดก่อนหรือเริ่มจากอาหารปั่นข้น โดยแบ่งเป็นคำเล็ก ๆ เคี้ยวไปมาอย่างช้า ๆ และเป็นจังหวะโดยให้เคี้ยวประมาณ20ครั้ง จากนั้นให้ก้มคอลงแล้วกลืนหากผู้รับบริการมีอาการกลัวให้ทำ relaxation technique ให้หายใจเข้าลึก ๆ กลั้นค้างไว้นับในใจ 1 2 3 แล้วหายใจออกแรง ๆ พร้อมออกเสียง ‘เฮอ’ 3-5 รอบ ใช้นิ้วเคาะบริเวณระหว่างคิ้วพร้อมพูดตามจังหวะการเคาะว่า หายกลัว กลืนได้ 3 รอบ (อ้างอิงจากหนังสือกิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่ 5 ) หากผู้รับบริการมีอาการกลัว วิตกกังวลลดลงและสามารถกลืนได้แล้วให้เพิ่มจำนวนปริมาณต่อคำมากขึ้นใช้ลิ้นตวัดอาหารซ้ายขวาอย่างช้า ๆ ก้มคอลงและกลืนอาหาร หรือใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางดันบริเวณคางเข้าไปตรง ๆ จะช่วยให้ผู้รับบริการกลืนได้ง่ายขี้น ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ หากกลืนไม่ได้ก็ไม่เป็นไรให้คายทิ้งแล้วเริ่มกลืนใหม่ในคำต่อไป จนผู้รับบริการรู้สึกมีความมั่นใจในการทานอาหารชนิดนี้แล้วจึงเปลี่ยนชนิดอาหารรวมถึงสอบถามความรู้สึกของผู้รับบริการหลังการฝึกและให้กำลังใจ แรงเสริมทางบวกแก่ผู้รับบบริการ


 

  • วันที่ 8-14 ตรวจสอบจิตใจของผู้รับบริการต่อการกลัวการกลืนสอบถามความรู้สึกจากการฝึกกลืนชนิดอาหารในสัปดาห์ก่อน เมื่อผู้รับบริการสามารถกลืนอาหารปั่นข้นได้แล้ว graded ชนิดของอาหารเป็นอาหารเหลวข้น เป็นอาหารอ่อน หรือเป็นอาหารที่ผู้รับบริการมีความกังวล เริ่มจากการผ่อนคลายก่อนรับประทานอาหารโดยใช้ relaxation technique เมื่อผู้รับบริการพร้อมแล้วให้เริ่มฝึกการกลืน โดยแบ่งเป็นคำเล็ก ๆ ก่อนทานอาหารอาจจิบน้ำเล็กน้อย หากมีอาการวิตกกังวลให้ทำ relaxation technique อีกครั้ง เหมือนกับในสัปดาห์แรกโดยให้หายใจเข้าลึก ๆ กลั้นค้างไว้นับในใจ 1 2 3 แล้วหายใจออกแรง ๆ พร้อมออกเสียง ‘เฮอ’ 3-5 รอบ ใช้นิ้วเคาะบริเวณระหว่างคิ้วพร้อมพูดตามจังหวะการเคาะว่า หายกลัว กลืนได้ 3 รอบ (อ้างอิงจากหนังสือกิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่ 5 ) จากนั้นค่อย ๆ เคี้ยวช้า ๆ ถ้ารู้สึกไม่ดีให้ก้มคอไว้ หากไม่สามารถกลืนได้ให้จิบน้ำเปล่าช่วยและสามารถคายทิ้งได้ในกรณีที่ไม่สามารถกลืนได้หมด แนะนำให้ทานอาหารด้วยมือข้างที่ไม่ถนัดเพื่อฝึกสมาธิขณะเคี้ยวและกลืน ใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางดันคางเข้าไปตรง ๆ เพื่อช่วยให้กลืนได้ง่ายขี้นทำใน 3 คำแรกของการรับประทานอาหาร หรือการหันไปทางด้านที่มีแรง ทำซ้ำ ๆ จนผู้รับบริการสามารถกลืนได้โดยไม่กลัวแล้วจึงเปลี่ยนชนิดอาหาร สอบถามความรู้สึกของผู้รับบริการทุกครั้งหลังการฝึก และให้กำลังใจให้แรงเสริมทางบวกเพื่อให้ผู้รับบริการมีกำลังใจในการฝึกกลืนต่อไป


 

  • วันที่ 15-21 ตรวจสอบจิตใจของผู้รับบริการต่อการกลัวการกลืนสอบถามความรู้สึกจากการฝึกกลืนชนิดอาหารในสัปดาห์ก่อน เมื่อผู้รับบริการสามารถกลืนอาหารเหลวข้นหรืออาหารอ่อนได้แล้ว ให้ graded ชนิดของอาหารเป็นอาหารปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งกลืนยาก หรือเป็นอาหารที่ผู้รับบริการมีความกังวลมากที่สุด ให้ผู้รับบริการลองจินตนาการว่าตนเองกำลังรับประทานอาหารที่ชอบหากยังมีความกังวลให้พูดกับตัวเอง 3 ครั้งว่า กลืนได้ มั่นใจหรือทำ relaxation techniqueโดยให้หายใจเข้าลึก ๆ กลั้นค้างไว้นับในใจ 1 2 3 แล้วหายใจออกแรง ๆ พร้อมออกเสียง ‘เฮอ’ 3-5 รอบ ใช้นิ้วเคาะบริเวณระหว่างคิ้วพร้อมพูดตามจังหวะการเคาะว่า หายกลัว กลืนได้ 3 รอบ (อ้างอิงจากหนังสือกิจกรรมการดำเนินชีวิตจิตเมตตา บทที่ 5 ) เพื่อให้ผู้รับบริการผ่อนคลายความกังวล ก่อนการรับประทานอาหารใช้ช้อนยาวจุ่มน้ำอุ่นสัก 3-5 วินาที นำหลังช้อนมาแตะปลายลิ้นวนไปกลางลิ้นและแตะชิดเข้าไปบริเวณโคนลิ้นทำ 3-5 ครั้งก่อนรับประทานอาหารเพื่อลดความไวของการรับความรู้สึกบริเวณช่องปากและลิ้น แบ่งตัดอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ เคี้ยวจนมั่นใจว่าอาหารเป็นชิ้นเล็ก ๆ และสามารถกลืนได้ (1คำประมาณ20ครั้ง)ถ้ากลัวสำลักให้ก้มคอลงแล้วกลืน ถ้าไม่สามารถกลืนได้ให้จิบน้ำเปล่าแต่ถ้ายังกลืนไม่ได้อีกให้คายออกแล้วเริ่มฝึกคำใหม่ โดยระหว่างกลืนอาจใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางดันคางเข้าไปตรง ๆ หรือหันไปทางด้านที่มีแรงเพื่อช่วยให้กลืนได้ดีขึ้น สอบถามความรู้สึก ความกลัว วิตกกังวล ของผู้รับบริการเปรียบเทียบก่อนและหลังการฝึก ให้ผู้รับบริการเห็นถึงการพัฒนาที่ดีขึ้น เพื่อเสริมความมั่นใจในการกลืนของผู้รับบริการต่อไป

 

*ในการกลืนไม่แนะนำให้แหงนคอเพราะอาจทำให้สำลักได้ง่ายขึ้น ให้ทำแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนผู้รับบริการรู้สึกมีความมั่นใจในการทานอาหารและไม่กลัวการสำลักจนครบ 21 วัน

 

  • ให้feedback กับผู้รับบริการโดยเป็นข้อมูลสะท้อนกลับที่ดีให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลง ประเมินซ้ำ ให้ผู้รับบริการให้คะแนนความกลัวการกลืนของตนเองอีกครั้งและนัดหมายการตรวจประเมินซ้ำอีกครั้ง

 


นางสาวญาตาวี วชิรกิจโกศล 6223021

 

อ้างอิง :

หมายเลขบันทึก: 692521เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 19:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2021 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท