Mindful Movement


Mindful Movement การเคลื่อนไหวอย่างมีสติ

 

Mindful movement

การเคลื่อนไหวอย่างมีสติ (Mindful movement) เป็นการเคลื่อนไหวใด ๆ ที่ดำเนินการด้วยความตระหนักอย่างชัดเจนถึงเจตนา ความสนใจ ความรู้สึก ทางร่างกายและจิตใจเป็นการฝึกสติที่มุ่งเน้นให้สนใจปัจจุบันเพื่อรับรู้ทุกส่วนของร่างกายจดจ่อกับลมหายใจและตระหนักรู้สิ่งแวดล้อมรอบตัว

ในบทความนี้ทางคณะผู้จัดทำจะนำเสนอการบำบัดที่เป็นหนึ่งในรูปแบบของการเคลื่อนไหวอย่างมีสติ ได้แก่ Dance/Movement Therapy 
 

Dance/Movement Therapy 

เป็นการเคลื่อนไหวเพื่อกระตุ้นการแสดงออกของอารมณ์ที่เป็นจิตใต้สำนึก มีวัตถุประสงค์ในการใช้การเคลื่อนไหวเพื่อส่งเสริมสุขภาพและสุขภาวะที่ดี โดยใช้แนวทางแบบ องค์รวมในการจัดการเกี่ยวกับอารมณ์ สังคม การรู้คิด และการบูรณาการทางร่างกายของบุคคล

การใช้ Dance Therapy ในการบำบัดโรคทางระบบประสาท (Neurodegenerative Diseases) การวินิจฉัยโรคทางระบบประสาทมักพบอาการ สูญเสียความทรงจำ บกพร่องทางความรู้คิด และ สูญเสียกำลังกล้ามเนื้อ Dance Therapy จะใช้เสียงและจังหวะดนตรีในการกระตุ้นให้ผู้ป่วยเกิดการเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อส่งเสริม การทรงตัว, สหสัมพันธ์ของร่างกาย และความมั่นใจให้ผู้ป่วย ส่งเสริมทักษะทางสังคมหากทำกิจกรรมร่วมกันเป็นกลุ่ม ส่งเสริมความคิดโดยการให้คิดท่าทางการเต้นใหม่ๆ การเคลื่อนไหวซ้ำๆ ต่อเนื่องช่วยส่งเสริมการเชื่อมต่อระหว่างจิตใจและร่างกาย และช่วยให้ผู้ป่วยจดจำท่าทางการเต้นได้ 


ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมในงานวิจัยเกี่ยวกับ Dance Therapy ในโรคทางระบบประสาท ได้แก่ โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s) และ โรคภาวะสมองเสื่อม (Dementia)

 

งานวิจัยในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน : PasoDoble, a Proposed Dance/Music for People With Parkinson's Disease and Their Caregiver

เป็นงานวิจัยที่ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับการเต้นในผู้รับบริการที่เป็นโรคพาร์กินสันพบว่า มีการนำจังหวะ PasoDoble มาใช้ โดยให้ผู้รับบริการเต้นรำร่วมกับผู้ดูแลในท่าทางที่ไม่ซับซ้อน (เดินหน้า-ถอยหลัง-ไปด้านข้าง) ในผู้ป่วยระดับ Mild และ Moderated Parkinson’s disease เพื่อเพิ่มสหสัมพันธ์การเคลื่อนไหว การทรงตัว การเดิน  และคงความสามารถในการทำกิจกรรมได้ด้วยตนเองให้ยาวนานขึ้น เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการและผู้ดูแล นอกจากนั้นยังช่วยในการฟื้นฟูการทำงานของระบบประสาทที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

 

ขั้นตอนการจัดโปรแกรมการบำบัด

  1. ประเมินความสามารถของผู้รับบริการ โดยใช้ Hoehn and Yahr Scale, UPDRS - III, Timed up and go test, Physical Function Performance test, Six-minute walk, Proprioception, BMI, PDQ-39, MMP, MMS-F, GDS, Caregiver’ burden
  2. ให้การบำบัด ครั้งละ 1 ชั่วโมง 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 12 สัปดาห์ และติดตามผลและประเมินซ้ำหลังการบำบัด
  • 1 ชั่วโมงของการบำบัดประกอบด้วย
  • Warm up : ผ่อนคลายและหายใจ 5 นาที ก่อนจะต่อด้วยการเริ่มขยับร่างกายเล็กน้อย 5 นาที
  • เริ่มสอนการเต้นและทดลองเต้นเข้าจังหวะ (PasoDoble dancing) 30 นาที
  • ปิดจบด้วยการผ่อนคลายและหายใจ 10 นาที
  • ความก้าวหน้าในการฝึก แบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่
  • เต้นคนเดียวตามจังหวะของเพลงโดยไม่กำหนดท่าทาง
  • เต้นคนเดียวโดยเต้นตามลำดับท่าทางที่กำหนด
  • เต้นเป็นคู่กับผู้บำบัด เพื่อเพิ่มความเข้าใจก่อนจะเต้นกับคู่จริง
  • ร่วมเต้นกับคู่จริงซึ่งเป็นผู้ดูแล

   3.  ติดตามผลและประเมินซ้ำหลังการบำบัด 


สรุปผลงานวิจัย

เมื่อผู้รับบริการทำกิจกรรมครบ 12 สัปดาห์ พบว่าผู้รับบริการมีการเคลื่อนไหวที่ดีขึ้น กำลังกล้ามเนื้อและช่วงการเคลื่อนไหวเพิ่มขึ้น อัตราการล้มลดลง ส่งเสริมอารมณ์เชิงบวกและความภาคภูมิใจในตนเอง ส่งผลให้ผู้รับบริการและผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น



 

งานวิจัยในผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม : The Effects of Intuitive Movement Reembodiment on the Quality of Life of Older Adults With Dementia: A Pilot Study

สำหรับผู้รับบริการที่มีภาวะสมองเสื่อมมีงานวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ดนตรีเพื่อกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนไหวจากความจำที่คุ้นเคยของผู้รับบริการแต่ละคนโดยผู้บำบัดจะนำท่าทางที่ผู้รับบริการแสดงมาเรียบเรียงใหม่ให้มีความชัดเจนของท่ามากยิ่งขึ้นในบทเพลงเดียวกัน เมื่อทำการเคลื่อนไหวซ้ำตามรูปแบบที่กำหนด ช่วยกระตุ้นให้ผู้รับบริการมีความจำที่ดีขึ้น ช่วยส่งเสริมการปรับปรุงการรับข้อมูลของผู้รับบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น กระตุ้นการตอบสนองทางกายจากการมีสมาธิในการฟังเพลง และส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้รับบริการและผู้ดูแล

 

ขั้นตอนการจัดโปรแกรมการบำบัด

  1. คัดเลือกผู้รับบริการที่สามารถเข้าร่วมการวิจัย จากเกณฑ์ดังนี้
  • เป็นผู้สูงอายุที่อยู่ระหว่าง 60-95 ปี
  • สามารถเต้นและร้องเพลงได้ในการทำกิจกรรม
  • ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นภาวะสมองเสื่อมและเคยได้รับการบำบัดรักษา
  • พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่

   2.  ทำการบำบัด 10 สัปดาห์ โดยแต่ละสัปดาห์ ใช้เวลาในทำกิจกรรม 1 ชั่วโมง และมีธีมกิจกรรมที่แตกต่างกันในแต่ละสัปดาห์ 1 ชั่วโมงของการบำบัดประกอบด้วย 2 ช่วง โดยช่วงแรกเป็นการร้องเพลงคลอไปกับเปียโน ใช้เวลา 5-10 นาที และช่วงที่2จะเป็นการเต้น ใช้เวลา 30-40 นาที

   3.  หลังทำการบำบัดเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตั้งคำถามกับผู้รับบริการ 5 ข้อ และให้คะแนน 0-5 คะแนนในแต่ละข้อคำถาม (0=ไม่เห็นด้วย,5=เห็นด้วยอย่างยิ่ง) และคำนวณให้เป็น 100%  ร่วมการสังเกตสีหน้า ท่าทางขณะทำกิจกรรม

   4.  วิเคราะห์ผลโดยแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ความจำ, ปฏิสัมพันธ์ทางสังคม และความสนุกสนานเพลิดเพลิน


สรุปผลงานวิจัย

    เมื่อทำกิจกรรมครบ 10 สัปดาห์ พบว่า ค่าคุณภาพชีวิตที่ได้จากการถามคำถามและให้คะแนนผ่านข้อคำถาม สูงขึ้นจาก 73% เป็น 81% หลังครบ 10 ครั้ง (โดยต้องเข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 6 ครั้ง) 


สามารถรับชมการสรุปเนื้อหาในบทความได้ในคลิปนี้


 

 

 

ทางคณะผู้จัดทำได้นำความรู้และวิธีการจากงานวิจัยฉบับดังกล่าวมาดัดแปลงเพื่อให้เข้าถึงและสามมรถทำตามได้ง่ายและได้จัดทำเป็นคลิปวิดีโอเพื่อให้ความรู้กับผู้รับบริการและผู้ที่สนใจ ซึ่งสามารถรับชมและปฏิบัติตามได้จากคลิปด้านล่างนี้  


 

คลิปที่1  

คลิปวอร์มร่างกาย โดยแบ่งเป็นสองแบบสำหรับผู้ที่นั่งทำและยืนทำ 5 ท่า 

  1. ย่ำเท้าอยู่กับที่ 8 ครั้ง
  2. ย่ำโดยก้าวไปทางซ้าย 4 ครั้ง ขวา 4 ครั้ง (ท่ายืนยื่นขาทางซ้ายและขวา นับขาที่ก้าวตาม /ท่านั่งแค่ย่ำเท้าออกไปซ้ายขวา นับขาที่เตะออก)
  3. เหวี่ยงแขนซ้ายขวา 8 ครั้ง
  4. กางมือขนานกับพื้นไปด้านข้างกวาดขึ้นประกบเหนือศีรษะ 4 ครั้ง กางมือขนานกับพื้นกวาดไปประกบด้านหน้า 4 ครั้ง
  5. ยกมือขึ้นเหนือศีรษะแล้วนำมาแตะเข่า 4 ครั้ง (นับที่แตะเข่า)

 

*ทำในท่ายืนหรือนั่งให้พิจารณาตามความสามารถด้านร่างกายและความรู้คิดของแต่ละบุคคล

*ไม่จำเป็นต้องทำตามให้เหมือนทุกท่า พิจารณาตามความสามารถของร่างกายและความรู้คิด เน้นที่การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้รับบริการเป็นสำคัญ


สามารถรับชมได้ในคลิปนี้

 

 

คลิปที่2  

คลิปสำหรับผู้ป่วยพาร์กินสัน โดยแบ่งเป็นสองแบบสำหรับผู้ที่นั่งทำและยืนทำ

ใช้เพลง Espana Cani โดยศิลปิน John Altman https://youtu.be/cBuks67eWZI

 แบ่งเป็นคลิปย่อยๆได้แก่ 

2.1 สอนท่าเต้นในท่านั่ง

2.2 คลิปเต้นเข้าจังหวะในท่านั่ง

2.3 สอนท่าเต้นในท่ายืน

2.4 คลิปเต้นเข้าจังหวะในท่ายืน

มีทั้งหมด 5 ท่า

  1. แตะเท้า ตัว X (ท่ายืน) & ทำมือเป็นตัว X (ท่านั่ง) - 3 รอบ
  2. หัวใจไปด้านข้าง กวาดมือ  - 4 รอบ
  3. ไปหน้าถอยหลัง มือไปด้านข้าง - 3 ครั้ง
  4. กวาดมือพร้อมกับเดินเยื้องและชูแขนเดินกลับ - 3 เซต
  5. ชูแขนสะบัด - จนกว่าจะจบจังหวะเพลง

*ทำในท่ายืนหรือนั่งให้พิจารณาตามความสามารถด้านร่างกายและความรู้คิดของแต่ละบุคคล

*ไม่จำเป็นต้องทำตามให้เหมือนทุกท่า พิจารณาตามความสามารถของร่างกายและความรู้คิด เน้นที่การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้รับบริการเป็นสำคัญ

 

เพิ่มเติม

  • ในผู้ที่มีปัญหาการทรงท่านั่ง แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย ได้แก่ เก้าอี้ที่มีพนักพิงและที่วางแขน และเข็มขัดที่รัดลำตัวติดไว้กับเก้าอี้
  • ในผู้ที่มีปัญหาการทรงท่านั่งปรับลดความยากของท่า โดยที่ 2 สามารถทำเพียงแค่การยกแขนขึ้นโดยไม่ต้องเอียงตัว
  • ในผู้ที่มีปัญหาการทรงท่านั่ง ท่าที่ 3 เลือกทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง (เตะขา/กางมือ)


 

สามารถรับชมได้ในคลิปนี้

1.1


1.2

2.1


2.2



 

คลิปที่3   คลิปสำหรับผู้ป่วยภาวะสมองเสื่อม

ใช้เพลง ชื่นชีวิต โดยสุนทราภรณ์ https://youtu.be/bTslP56MpNw 

มีทั้งหมด 6 ท่า (ในท่านั่ง)

  1. ตบมือ 1 ท่อน จบท่อนผู้หญิง
  2. ซักผ้า 16 ครั้ง 8x8
  3. ยกมือขึ้นลง 16 ครั้ง
  4. กวาดมือพร้อมขา ไปซ้าย-ขวา 8  ครั้ง
  5. หมุนตาก บน-ล่าง-ซ้าย-ขวา  16 ครั้ง 8x8
  6. เตะสลับขา 16 ครั้ง

*ไม่จำเป็นต้องทำตามให้เหมือนทุกท่า พิจารณาตามความสามารถของร่างกายและความรู้คิด เน้นที่การเข้าร่วมกิจกรรมของผู้รับบริการเป็นสำคัญ

 

เพิ่มเติม

  • ในผู้ที่มีปัญหาการทรงท่านั่ง แนะนำให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัย ได้แก่ เก้าอี้ที่มีพนักพิงและที่วางแขน และเข็มขัดที่รัดลำตัวติดไว้กับเก้าอี้
  • ในท่าที่ 4 ผู้ป่วยสามารถเลือกทำเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งได้ (กางแขน/ขา)


สามารถรับชมได้ในคลิปนี้



 

วิเคราะห์ตาม Allen’s cognitive level (รวมทุกคลิป)

ACL 3.0 :  ผู้ดูแลแนะนำผู้ป่วยพร้อมกับจับมือสัมผัสในการทำท่า ร่วมกับการทำให้ดูไปด้วย ไม่แนะนำให้ทำตามทุกท่า ผู้ป่วยอาจทำได้เพียงท่าเดิมซ้ำๆตามความสามารถ

ACL 4.0 : ให้ผู้ป่วยเลียนแบบขั้นตอนตามคลิปทีละท่า โดยทำการหยุดคลิปเป็นช่วงๆเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำตามได้ ผู้ดูแลสามารถใช้คำพูดในการกระตุ้นเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดได้ และผู้ดูแลสามารถทำเป็นตัวอย่างให้กับผู้ป่วย เพื่อให้ผู้ป่วยดูเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนขึ้น

ACL 5.0 : ให้ผู้ป่วยได้ลองทำท่าทางด้วยตนเองไปพร้อมกับคลิปจนจบ โดยไม่ต้องกดหยุด (สามารถปรับระดับความช้าเร็วของคลิปเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยทำตามได้ทัน) ผู้ดูแลสามารถทำกิจกรรมไปพร้อมกับผู้ป่วย คอยสังเกตและระวังความปลอดภัยให้ผู้ป่วยตลอดกิจกรรม

ACL 6.0 : ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ด้วยตนเองทั้งหมดและสามารถออกแบบท่าเต้นตามจังหวะได้ด้วยตนเอง


 

เขียนบทความโดย 

นักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยมหิดล

  1. ณิชารีย์ เจียรชัย 6223009
  2. มุทิตา โพธิรัตน์ 6223013
  3. ญาตาวี วชิรกิจโกศล 6223021



 

อ้างอิง

  1. file:///C:/Users/Surface%20pro4/Desktop/Neuro-Disability_Journal_Article-with-cover-page-v2.pdf
  2. Body In Mind Training: Mindful Movement for the Clinical Setting  https://www.academia.edu/8604590/Body_In_Mind_Training_Mindful_Movement_for_the_Clinical_Setting
  3. Dance therapy

        Embodied Medicine: Integrating Dance/Movement Therapy into Physical Medicine & Rehabilitation (slc.edu)

   4.  https://digitalcommons.slc.edu/cgi/viewcontent.cgi?article=1074&context=dmt_etd

   5.  Pasodoble dance in Parkinson

        Frontiers | PasoDoble, a Proposed Dance/Music for People With Parkinson's Disease and Their            Caregivers | Neurology (frontiersin.org)

        https://www.frontiersin.org/articles/10.3389/fneur.2020.567891/full

   6.  dementia

         https://journals.sagepub.com/doi/full/10.1177/1533317519860331











 

   



 

หมายเลขบันทึก: 692520เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 19:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กันยายน 2021 11:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท