Body scan ลดความเครียด ความวิตกกังวลในกลุ่มนักเรียน นักศึกษาจากปัญหาการเรียน


Body scan คืออะไร? 

     Body scan เป็นเทคนิคเพื่อใช้ในการเยียวยาร่างกายเเละจิตใจรูปเเบบหนึ่ง โดยการส่งความรู้สึกไปที่กล้ามเนื้อบริเวณส่วนต่างๆของร่างกาย เพื่อผ่อนคลายความกังวลเเละความเครียด ทำให้รู้สึกสงบ สบาย เเละมีความทุกข์ลดลง

     

ประโยชน์ของ Body scan 

  • ช่วยลดความกังวลเเละความเครียดได้ โดย Body scan นั้นมีความสัมพันธ์กับการของหลั่งฮอร์โมนภายในร่างกาย ได้เเก่ ฮอร์โมนCorticol เเละ DHEA ซึ่งฮอร์โมนทั้งสองนี้มีความสัมพันธ์กับความเครียด
  • ในด้านการเรียน Body scan ช่วยฝึกสติ การรู้ตัว การอยู่กับปัจจุบัน ทำให้สามารถจดจ่อในการทำกิจกรรมต่างๆเเละรับมือกับปัญหาต่างๆในการเรียนได้ดีมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบ เเละพร้อมสำหรับการเริ่มต้นทำกิจกรรมต่างๆ 
  • ยังช่วยให้สามารถนอนหลับอย่างมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
  • ช่วยให้ผู้ป่วยกลุ่มโรคเรื้อรังรู้สึกผ่อนคลาย ลดความกังวล ทำให้ความรู้สึกเจ็บปวดลดลง


 

     หลังจากที่ได้รู้จัก Body scan มากขึ้นเเล้ว หลายคนอาจไม่เเน่ใจในผลลัพธ์ของการทำ Body scan เเละมีคำถามเกิดขึ้นว่า การทำ Body scan สามารถช่วยลดความเครียดความกังวลได้จริงหรือ? โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในด้านการเรียน

     

     ในการจัดทำสื่อในครั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำจึงได้สืบหาข้อมูลเพิ่มเติมจากงานวิจัยต่างๆ เเละได้ข้อมูลดังต่อไปนี้…

จากการศึกษางานวิจัยเกี่ยวกับ Body scan

     มีงานวิจัยของ JNR Journal of Neuroscience Research ในปี 2021 ได้มีการศึกษาเกี่ยวกับ Mindfulness based stress reduction (MBSR) ที่สามารถช่วยลด ปรับสมดุลของสื่อประสาทและการทำงานในสมอง (reduction training modulates striatal and cerebellar connectivity) โดยมีการให้กลุ่มทดลองได้รับการฝึก MBSR (Body scan) เป็นเวลา 8 สัปดาห์ ก่อนนำมาเช็คการทำงานภายในสมองโดยกระบวนการทำ fMRI (functional magnetic resonance imaging) พบว่าภายในสมองมีการลดการเชื่อมต่อของ right anterior putamen และ insula ที่มีบทบาทเกี่ยวกับอารมณ์และความรู้สึก รวมถึงพฤติกรรม นิสัยที่ซ้ำซาก procedural learning และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว มีการปรับลดการทำงานของ anterior cingulate cortex ที่มีบทบาทเกี่ยวกับการควบคุมอารมณ์และความรู้สึก มีการเปลี่ยนแปลงอัตราการกระตุ้นการทำงานขาเข้าและยับยั้งการทำงานขาออกของ posterior putamen ทั้งด้านซ้ายและขวาต่อ cerebellum ผลลัพธ์ดังกล่าวจึงสรุปได้ว่าการเข้ารับการบำบัดด้วยการทำ MBSR มีผลให้สมองได้จัดสรรการทำงานใหม่ (rearrangement of dorsal striatum functional) มีผลต่อการปรับไดนามิคการทำงานของเยื่อหุ้นสมอง (cortico-subcortical-cerebellar modulatory dynamics) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่ที่เห็นได้ชัดจะเกี่ยวกับการรับรู้ อารมณ์ และความรู้สึก จากหลักฐานการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กันนี้จึงทำให้วิธีการบำบัดด้วย MBSR ได้รับความนิยมในการนำมาใช้กับผู้ป่วยที่มีปัญหาและมีความยากลำบากในเรื่องของ pain perception เช่น ผู้ป่วย chorionic disease ที่มีความเจ็บปวดทางร่างกายมาก

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติม : https://onlinelibrary.wiley.com/doi/abs/10.1002/jnr.24798


 

     นอกเหนือจากการทำ MBSR กับผู้ที่มีปัญหา pain perception แล้ว ยังมีงานวิจัยจากทาง Europe PMC โดยสถาบัน Journal of preventive Medicine and Hygiene ในปี 2021 ทำการวิจัยเกี่ยวกับการใช้ Mindfulness based stress reduction (MBSR) ด้วยวิธีการทำ Body scan ที่บ้านตามโปรแกรมกับกลุ่มการทดลองที่มีภาวะความเครียด(Stress) ความวิตกกังวล(Anxiety) และมีภาวะซึมเศร้า(Depression)อันมีสาเหตุจากการตั้งครรภ์เมื่อไม่พร้อม(unplanned pregnancy) โดยทำการวิจัยกับกลุ่มผู้ทดลองทั้งหมด 60 ท่าน ที่มีอายุครรภ์ก่อน 32 สัปดาห์ โดยทั้ง 60 ท่าน ได้มีการถูกแบ่งกลุ่มแบบสุ่มเป็น 2 กลุ่ม โดยกลุ่มแรกจะไม่ได้รับการให้การบำบัดรักษาแบบ MBSR ในขณะที่อีกกลุ่มที่เป็น Intervention group จะได้รับการบำบัดรักษา MBSR session ที่บ้านเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดได้มีการประเมินความเครียด วิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าผ่าน Standard stress, anxiety and depression DASS-21 questionnaire ผลคือในกลุ่มที่ได้รับการบำบัดผ่าน MBSR มีสเกลความเครียด ความวิตก และภาวะซึมเศร้าที่ลดลง จึงสามารถให้สรุปได้ว่า การบำบัดด้วย MBSR(โดยวิธีการทำ Body scan) สามารถลดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติม : https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC8283654/


 

     หลังจากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้รับการอัพเดตล่าสุดจะเห็นได้ว่า Body scan ได้รับการยอมรับในการนำมาใช้เพื่อลด pain perception และสามารถใช้ลดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าได้ และด้วยทางคณะผู้จัดทำมีจุดประสงค์ที่อยากจะทำสื่อเกี่ยวกับ Body scan ที่บุคคลทั่วไปสามารถเข้าถึงได้ เอื้อต่อการให้ผู้รับสื่อทุกท่านได้นำไปปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพการดำเนินชีวิตเพื่อก่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี ทางคณะผู้จัดทำจึงเน้นไปที่การใช้ Body scan เพื่อลดความเครียด ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า เนื่องจากเป็นสาเหตุที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยทั่วไปจากหลากหลายปัจจัย รวมทั้งเกิดได้กับคนทุกช่วงวัย เสมือนเป็น across life crisis ให้แต่ละช่วงวัยได้ก้าวผ่าน


 

     ทั้งนี้หากลองพิจารณาแล้ว body scan ดูจะสามารถเลือกทำได้ในกับคนทุกช่วงวัย แต่ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการสโคปเลือกกลุ่มวัยรุ่นที่มีภาวะความเครียด ความวิตกกังวล และซึมเศร้าเนื่องด้วยเป็นช่วงอายุที่ควรได้รับการส่งเสริม อีกทั้งแพลตฟอร์มที่กลุ่มเราได้เลือกใช้ในการเผยแพร่สื่อคือYouTube ซึ่งเป็นการเผยแพร่ผ่านการใช้งานอินเตอร์เน็ต จึงคิดว่าเป็นผลดีถ้าได้ใช้กับกลุ่มที่มีความคุ้นชินในด้านเทคโนโลยี ทางกลุ่มเราได้หางานวิจัยที่เกี่ยวกับความเครียด ความวิตกกังวล และซึมเศร้าในวัยรุ่น โดยได้เลือกสาเหตุความไม่สบายทางอารมณ์เหล่านั้นที่มาจากการศึกษา


 

     พบว่ามีงานวิจัยของทาง BMC Medical Education ในปี 2021 ทำการศึกษาเกี่ยวกับความเครียดของนักศึกษาแพทย์ตลอดระยะเวลาการเรียนในแต่ละชั้นปี มีการใช้ Perceived Medical School Stress Scale (PMSS) , Hospital Anxiety and Depression Scale (HADS) , Maslach Burnout Inventory (MBI) , short form of the Coping Orientations to Problems Experience scale (Brief COPE) และ Work-Related Behavior and Experience Patterns (AVEM) ประเมินกลุ่มนักศึกษา ผลการ surveyed พบว่านักศึกษามีความเครียด มีอาการสู่ความวิตกกังวลและซึมเศร้าเพิ่มขึ้นในช่วง 2 ปีแรกของการศึกษา และมีการลดลงในชั้นปีที่ใกล้จะจบ โดยในนักศึกษาแพทย์เพศหญิงมีแนวโน้มเป็นกลุ่มเปราะบางมากกว่า เกิดความเครียด ความวิตกกังวล และซึมเศร้าได้ง่ายกว่า โดยความเครียด ความวิตกกังวลและซึมเศร้านี้ส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการ burnout และปัญหาสุขภาพตามมา จึงสรุปงานวิจัยได้ว่าการเรียน มีความสัมพันธ์กันกับความเครียด ความวิตกกังวล และซึมเศร้า มีการแปรผันและเปลี่ยนแปลงไปตามแต่ละปีที่แต่ละคนต้องเจอกับเรื่องราวต่างๆ และสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพการดำเนินชีวิต เราจึงต้องให้ความสำคัญในการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ 

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติม : https://bmcmededuc.biomedcentral.com/articles/10.1186/s12909-021-02862-x


 

     ทางกลุ่มเราได้ศึกษางานวิจัยเพิ่มเติมเพื่อหาผลลัพธ์ หลักฐานเชิงประจักษ์ที่สามาถเห็นภาพได้มากขึ้น มีงานวิจัยของ SpringerLink โดย Dana Schultchen และคณะ ศึกษาเกี่ยวกับการทำ Body scan เป็นเวลา 8 สัปดาห์ที่ส่งผลต่อการรับรู้ความเครียด (Psychological stress) และระดับฮอร์โมน โดยมีการตรวจสอบผ่านระดับฮอร์โมน cortisol (ฮอร์โมนความเครียด) รวมถึงฮอร์โมน dehydroepiandrosterone(DHEA) พบว่าในกลุ่มทดลอง 24 คน (กลุ่มควบคุม 23 คน) มีการลดระดับของ cortisol และมีการเปลี่ยนแปลงอัตราส่วนของฮอร์โมน cortisol และ DHEA ส่งผลให้กลุ่มทดลองมีความเครียดน้อยลง 

อ่านงานวิจัยเพิ่มเติม : https://link.springer.com/article/10.1007/s12671-019-01222-7


 

     จากงานวิจัยทั้งหมดที่ได้กล่าวมา ความรู้สึกไม่สงบในจิตใจ ความเครียด ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้าเหล่านี้ ทั้งหมดเกิดขึ้นเป็นวงจรเรียงต่อและเชื่อมโยงกันจนทำให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน ทางคณะผู้จัดทำจึงเลือกทำคลิปวิดีโอจำนวน 3 คลิป เพื่อเป็นสื่อการเรียนรู้ให้ผู้ที่สนใจได้รู้จัก Body scan มากยิ่งขึ้น เเละสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน โดยคลิปวิดีโอทั้ง 3 ชิ้นประกอบด้วยรายละเอียดดังต่อไปนี้


 

     คลิปที่1 เป็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความหมายของการทำ Body scan, Body scan เหมาะสำหรับใครบ้าง, ประโยชน์ของการทำ Body scan และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะการทำ Body scan โดยทางสมาชิกได้จัดทำรูปแบบคลิป เป็นการให้ข้อมูลร่วมกับเสียงบรรยายประกอบคลิปวิดีโอ

     รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/t0Fb0XuogZM


 

     คลิปที่2 มีเนื้อหาในส่วนของการเตรียมตัวก่อนทำ Body scan ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดสถานที่หรืออุปกรณ์ รวมทั้งแนะนำขั้นตอนการทำ Body scan อย่างเป็นลำดับ

     รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/mWtcpKNISZ0


 

     คลิปที่3 ซึ่งเป็นคลิปสุดท้ายจะเป็นเสียงพากย์บรรยายประกอบกับเสียงดนตรีสำหรับการทำ Body scan แบบสั้น ๆ ภายในระยะเวลา 6 นาที

    รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/a_3Nm7FSPjw


 

    ทั้งนี้ทางคณะผู้จัดทำได้เพิ่มเติมคลิปการทำ body scan แบบตัวเต็ม (full version) ที่ใช้เวลาในการทำประมาณ10นาที เพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับสื่อทุกท่าน ทุกท่านสามารถเลือกรับชมตามความสะดวกและเหมาะกับกิจวัตรประจำวันของแต่ละท่านได้ค่ะ

    รับชมวิดีโอ : https://youtu.be/EVKsJZztFBc



 

    จากการพูดคุยเพื่อหาประเด็นที่น่าสนใจ ค้นคว้าหาข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ และจัดทำคลิปวิดีโอเพื่อเผยแผ่ความรู้เกี่ยวกับการทำ Body scan 

ทางผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่าคลิปวิดีโอทั้ง 3 ชุดนี้ จะมีประโยชน์กับผู้ที่ให้ความสนใจไม่มากก็น้อย หากมีสิ่งที่ผิดพลาดประการใด ทางเราขออภัยมา ณ ที่นี้

    ขอบพระคุณค่ะ



 

รายชื่อสมาชิก

1.นางสาวขวัญดาว คำเหลา   รหัส 6223006

2.นางสาวจงรัก อังศุวิรุฬห์      รหัส 6223017

3.นางสาวปรียาภรณ์ งามสิมะ รหัส 6223025

นักศึกษาคณะกายภาพบำบัด สาขากิจกรรมบำบัด มหาวิทยาลัยมหิดล

หมายเลขบันทึก: 692514เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2021 13:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท