วัดจิตให้รู้ใจ ทำอย่างไรเราภูมิใจ


Cited with Acknowledgement @ healthline.com; medicalnewstoday.com; medium.com

“ความตึงเครียดทางอารมณ์ หรือ Emotional Distress” คือ สภาวะหนึ่งที่เรารับรู้สึกปวดใจไร้สาเหตุ อาจจะเกิดจากความคับข้องใจในการใช้เงิน การมีสัมพันธภาพไม่ราบรื่น ภาวะซึมเศร้าแบบวิตกกังวล ความเหนื่อยล้าจากการทำงาน การจัดการเวลาแบบ “ชีวิตไร้คุณค่า” เพราะหมกมุ่นกับความกังวล ครุ่นคิดกับความผิดหวัง ตำหนิตัวเองรู้สึกละอายใจในความผิดพลาด โดยยิ่งคิดก็ยิ่งหาสาเหตุแท้จริงไม่ได้เลย สุดท้ายมารู้ตัวก็สายเสียแล้ว เพราะร่างกายเจ็บป่วยเรื้อรัง

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม จึงอยากเชิญชวนทุกท่านมาเรียนรู้ตรวจสุขภาพใจให้จิตแข็งแกร่งและกายแข็งแรงกันเถอะครับ

  1. ตรวจสัญญาณและอาการแสดงความเครียดสะสมในร่างกายถึง 33% ได้แก่ เหงื่อเยอะ สิวเยอะ ปวดหัวบ่อย ปวดเรื้อรัง ป่วยง่าย เหนื่อยล้า หลับไม่สนิท ท้องผูกสลับท้องเสีย หัวใจเต้นเร็ว รีบทานอาหารขยะ กระหายน้ำบ่อย เป็นต้น ได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/692511 ประกอบกับ Mental State Examination จาก Mental State Examination (MSE) - OSCE Guide | Geeky Medics
  2. ตรวจสัญญาณและอาการแสดงความวิตกกังวลสะสมในจิตใจถึง 67% ได้แก่ ไม่กล้าปฏิเสธงานที่เกินตัว ผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ชอบเขียนความรู้ ชอบทานของหวาน ชอบทางคาเฟอีน ไม่ชอบออกกำลังกาย ไม่ชอบสัตว์เลี้ยง ไม่ชอบหัวเราะดัง ไม่กล้ากอดจับมือ หายใจไม่โล่ง ไม่ชอบฟังเพลง ไม่ชอบดมกลิ่นเทียนหอม ไม่ชอบฝึกสมาธิ ไม่ชอบอาบน้ำอุ่น ชอบตำหนิติเตียน (แม้เพียงความผิดเล็กน้อย) ชอบความสมบูรณ์แบบ ชอบวิจารณ์ความผิดคนอื่น ไม่เคยยอมรับความผิดพลาดของตนเอง ไม่กล้ารักษาสิทธิส่วนรวม ไม่อ่อนน้อมถ่อมตน/ไม่ติดดิน ไม่แสดงความเห็นอกเห็นใจคน ไม่เปิดใจให้เผชิญหน้ากับปัญหา ย้ำคิดลบหงุดหงิดง่าย ไม่ชอบแสดงความคิดสร้างสรรค์ (ทุกเรื่องมีแต่เหตุผลแบบคิดไม่ลงมือทำ) ไม่เคยช่วยเหลือผู้อื่นโดยไม่หวังผลตอบแทน ทั้งนี้สามารถทดสอบด้วยแบบวัดความเอาใจใส่และทักษะอ่อนโยน ได้ที่  https://forms.gle/iHnFYoewWmsUVGpw9
  3. ทบทวน “ความต้องการที่จำเป็นแท้จริง (Needs for Inspiration) กับ ความทะเยอทะยานอยากที่มีความสุขชั่วขณะ (Wanting Ambitions/Aspiration)” ดังรูปเพื่อค้นหาเส้นทางชีวิตคิดใหม่ให้มีความหมาย ความดี ความสงบ และความสนุกอย่างมีสติ
ลดความเห็นแก่ตัว: อ่อนน้อมถ่อมตนคนติดดิน ถอยห่างจากคนไร้น้ำใจ ล้มแล้วลุกเร็ว จงเป็นนายแห่งตน จงเมตตาปัญญาสร้างสรรค์

4. ไตร่ตรองการวัดใจให้คุณค่าคน ทำอย่างไรกันในทุกๆวัน ดังภาพแผนที่แห่งใจให้สติ เริ่มจากความกล้าคิดพูดทำดี คลิกเรียนรู้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/691850

5. เข้าใจชีวิตแล้วจงคิดบวกให้เครียดลบไม่สะสม เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับใจ ดังในภาพ 3 ภาพนี้ตามลำดับ 

โดยเฉพาะในคนที่เก็บความรู้สึก ชอบคิดไปเอง และคิดลบโดยไม่ยับยั้งชั่งใจ ก็จะเกิดปัญหาการสื่อสารที่ทำให้ตนเองผิดคาดกับความคิดคาดหวังไปคิดจัดแทนผู้อื่นเสมอ ก็จำเป็นที่จะเรียนรู้ผ่าน HAVE A NEWSDAY - อยู่ร่วมบ้านอย่างไร ? เมื่อสองวัยคิดต่าง (altv.tv) และใช้วิธีการที่สิ่งเป็นต้นแบบความคิดยืดหยุ่น ลดความเข้มงวดก่อนวัยอันควร - จิตอิสระคิดหรือคิดน้อย ๆ จิตใจเติบโตตามธรรมชาติใน 7 ปีแรก ต่อด้วย 7-14 ปีมีการแสดงอารมณ์บวก โดยฝึกการไหลลื่นแห่งตน หรือ Social Emotional Learning Flow คลิก https://casel.org/fundamentals-of-sel/  และ การฝึก Unthink ผ่าน Butterfly Hugging คลิก 

ต่อด้วยการใช้ Emotional Freedom Tapping และ Mindfulness Breathing ก่อนการทำงานศิลปะ ปรับจากต่างคนต่างทำ เป็น Creative & Cooperative Arts มากขึ้น เช่น วาดรูปภาพด้วยกันพ่อแม่ลูกเน้นหัวข้อความรักความเข้าใจกันเพื่อดูการระบายความคิดลบแล้วเปลี่ยนความคิดบวก การปั้นดินเล่าเรื่องครอบครัวที่ฉันรักเพื่อลดภาวะย้ำคิดย่ำทำ - สังเกตเด็กถูนิ้วแสดงว่า ต้องการคิดอิสระจากสิ่งเข้มงวดและบอกความเป็นนายแห่งตน การเล่นทรายและตกแต่งร่วมกับงานปั้นดิน ก็จะเพิ่มความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น จบท้ายด้วยการหัวเราะบำบัด การเต้นรำบำบัด การกอดบำบัดหมู่ ก็จะคลายความคับข้องใจในครอบครัวและเพิ่มความภาคภูมิใจในตนเอง ก่อนที่จะเสริมสร้างความเห็นอกเห็นใจในคนรอบข้างที่รักเราในวัย 14-21 ปี จากนั้น 21-35 ปีขึ้นไปก็จะเรียนรู้เพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมก่อนวัย คลิกเรียนรู้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/691754

หมายเลขบันทึก: 692513เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 12:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2021 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท