เยียวยาพาฟื้นจิต - สติสเกล 20-600


Citation with Acknowledgement to David R. Hawkins, M.D., Ph.D. (1927-2012) who will be respectively remembered forever at https://veritaspub.com/
ถอดบทเรียนจากคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ ม.ราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยากว่า 88 หลักสูตรจาก 7 คณะ/วิทยาลัยได้แนวทางการพัฒนา Mind Body Teaching in Collaborative to Cooperative Learning แบบ 80% Context เน้น Empathy ใน 20 นาทีแรก และ 20% Content เน้น Engagement ใน 20 นาทีหลัง ต่อ 1 แก่นความรู้ 

ศึกษาเพิ่มเติม 2 บันทึกได้แก่ สอนออนไลน์ให้ร่วมมือกันเรียน - GotoKnow และ สอนออนไลน์อย่างไรให้เด็กไลก์ - GotoKnow

สำหรับเคล็ดไม่ลับของการสอนแบบ Multiple Intelligence to Metacognition เพื่อให้นศ.บรรลุ Learn How to Learn จะนิยมใช้ภาพธรรมชาติที่มีการแสดงภาษากายในเหตุการณ์ที่เห็นความเป็นจริงของชีวิตคิดบวก แล้วตั้งคำถามให้ผู้เรียนคนเดียวหรือทีละคนต่อหนึ่งคำถามตอบให้ครบทั้งชั้นเรียน ได้แก่ เห็นภาพนี้แล้วรู้สึกอะไร คิดอะไร เรียนรู้อะไรบ้างอย่างน้อย 3 ข้อ และ Thinking of Thinking จากภาพเหตุการณ์และคำสำคัญที่สะกิดใจให้เห็นอารมณ์ที่กำลังปรับตัวให้มั่นคงเพื่อแก้ปัญหาในหลายทางเลือก แล้วตั้งคำถามให้ผู้เรียนรายบุคคลก่อนแล้วค่อยรวมกลุ่มระดมสมอง ได้แก่ ถ้าเราอยู่ในภาพนี้ ลองคิดคำถามกับตัวเองว่า “ทำไม” แล้วหาคำตอบด้วยตนเองว่าจะแก้ปัญหาอะไรและอย่างไรให้นำไปใช้ได้จริงเป็นรูปธรรม สุดท้าย Storyline โดยฝึกรับฟังเรื่องเล่าที่สะเทือนใจ แล้วตอบตัวเองว่า ฟังแล้วจับประเด็นอะไรได้บ้าง ประเด็นนี้สอนจิตใจเราให้เติบโตได้อย่างไร มีอะไรบ้างที่อยากชื่นชม/ให้พลังใจ เพื่อนำกระบวนการคิดดีมาลงมือทำดีแบบ Global Citizenship ด้วยสุขภาวะจิตวิญญาณของความเป็นครูสู่บทบาทอาจารย์นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม

ประวัติศาสตร์การประเมินระดับการรู้สติ

คุณรู้หรือไม่ ว่า สติของเราแบ่งระดับการรับรู้ผ่านกระบวนการเรียนรู้ฝึกฝนตั้งแต่สเกลพลังงาน 20-600 ซึ่งคำนวณเป็นแบบจำลองของเลขฐานสิบหรือ Exponential Calibration จาก 1-1,000 โดยจิตแพทย์ชาวอเมริกัน ดร.ฮอกกินส์ ได้วิจัยด้วยเทคนิคการวัดพลังงานความคิดบวกที่สื่อสารไปยังความแข็งแรงของกล้ามเนื้อในห้องเงียบ เริ่มจากผู้ได้รับการทดสอบตั้งใจเกร็งกางแขนต้านกับผู้ทดสอบที่ใช้นิ้วชี้กลางกดข้อมือลงอย่างเร็วและกระชับ หลังจากได้จินตนาการรู้สติ ณ บริเวณลิ้นปี่ (Solar Plexus) แล้วตอบ “ใช่” (แขนแรงดี) กับ “ไม่ใช่” (แขนอ่อนแรง) กับการมองภาพจิตวิทยาและคิดตอบตามความรู้สึกจริงหลังได้ยินคำพูดของผู้ทดสอบ เช่น ม้าตัวนี้ป่วย ม้าตัวนี้แข็งแรง เป็นต้น 

ต่อมาใช้เทคนิค O-ring ใช้นิ้วโป้งแตะนิ้วกลางในมือขวาให้รูปคล้ายตัวโอ แล้วใช้มือซ้ายพยายามแยกนิ้วทั้งสองออก ขณะที่ตอบ “ใช่” กับ “ไม่ใช่” และเทคนิคสุดท้าย การยกพจนานุกรมเล่มใหญ่จากโต๊ะให้อยู่ในระดับเอว ขณะจินตนาภาพต่อคำพูดตอบตามความรู้สึกจริง 

จากระดับการรับรู้สติ แปลผลตามความรู้สึกจริง-เท็จของผู้ถูกทดสอบ แบ่งเป็นสเกลความคิดลบที่พลังงานน้อยกว่า 200 กับสเกลความคิดบวกที่พลังงานตั้งแต่ 200 เป็นต้นไป และ 600 ขึ้นไปคือการเข้าสู่ระดับการรู้แจ้งเห็นจริง (Enlightenment) ที่จำต้องฝึกฝนด้วยจิตอันแข็งแกร่ง แสดงว่า ไม่มีข้อจำกัดในการรับรู้สติ ณ ช่วงเวลาหรือพื้นที่ใด ๆ แต่อาจมีข้อจำกัดในการยึดติดความเชื่อของแต่ละรายบุคคลอันมีพื้นอารมณ์ (Mood) ที่สะสมการรับรู้สึกนึกคิดเพื่อแสดงอารมณ์ออกมา (Affection) ตั้งแต่ 7 หรือ 14 หรือ 21 ปีแรกแห่งชีวิต 

นักกิจกรรมบำบัดจิตสังคมเฉกเช่นผม ได้ฝึกฝนระยะสั้นสุดคือ 3 เดือน เพื่ออธิบายกระบวนการสื่อสารจิตใต้สำนึกสู่ร่างกายแบบแยกส่วนและรวมส่วนเป็นหนึ่งเดียว เรียกการเรียนรู้สุขสภาวะจิตสังคมอารมณ์ให้ไหลลื่น ผนวกกับจิตวิทยาเชิงบวก ทำให้เห็นการพัฒนาระบบจิตประสาทสรีรวิทยาของตนเองที่หลากหลายจากระดับกล้าออกจากพื้นที่ปลอดภัย ยอมรับ และให้เหตุผลจากความหมายแห่งชีวิตคิดบวก ขณะนี้กำลังย่างเข้าสู่วัยแห่งการให้พลังเมตตาปัญญาแก่ตัวเองและผู้อื่น แนะนำกัลยาณมิตรศึกษาตัวอย่างจากลิงค์นี้ 

ปลุกใจให้ตื่นรู้ - GotoKnow 

ละครสะกิดใจ...ลดอัตตาอารมณ์ - GotoKnow

ละครสอนชีวิตจิตดัดแปร - GotoKnow

"เปลี่ยนชีวิต เมื่อชีวิตเปลี่ยน"ละครเวทีเพื่อการ ลด ละ เลิกบุหรี่ | กองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล (mahidol.ac.th)

นักเยียวยาชายแดนใต้ ปีนจากหลุมดำแห่งความเศร้า สู่แสงแห่งความหวัง - waymagazine.org | นิตยสาร WAY

ถึงเวลา...บำบัดตัวเอง ศุภลักษณ์ เข็มทอง (bangkokbiznews.com)

แนวทางการประยุกต์การใช้สติเรียนรู้ตลอดชีวิตในบทบาทครู อาจารย์ นักเรียน และ ผู้เรียนด้วยอารมณ์ร่วมกันด้วยคุณธรรม

Bloom's Revised Taxonomy; Krathwohl's Affective Taxonomy; Simpson's Psychomotor Taxonomy 

จากรูปนี้ทำให้เราเห็นว่า การพัฒนาทักษะพิสัย จิตพิสัย และพุทธิพิสัย จะรวมกันเป็นหนึ่งได้ เมื่อแยกแยะพื้นอารมณ์และจัดกระบวนการอ่านใจให้เข้าถึงระดับการรู้สติที่มิได้มุ่งเน้นแต่การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้เป็นตัวเลขอย่างเดียว หากแต่เพิ่มกระบวนการฝึกตนเองให้ประเมินคุณค่าภายในจิตสำนึกของความเป็นคนดีมีน้ำใจ พร้อมสะท้อนคิดพัฒนาตนเองให้มีจิตใจที่เติบโตตลอดชีวิต หรือ Growth Mindset เพื่อมุ่งช่วยเหลือมนุษย์ในบทบาทพลเมืองดีมีการทำงานเป็นทีมพหุวิทยาการได้เป็นรูปธรรมพร้อมเจริญสติภาวนาคู่กับเจริญสมาธิภาวนาอยู่กับการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาในปัจจุบันขณะอย่างยืดหยุ่น มีความกตัญญูกตเวฑิตาคุณ และมีสุขภาวะอารมณ์มั่นคง ซึ่งดูจากลำดับระดับการรู้สติให้ลดความเห็นแก่ตัวที่กำลังสะสมความเกลียด (พลังงาน 20) ความละอายใจ (พลังงาน 30) ความหมดหวัง (พลังงาน 50) ความเสียใจ (พลังงาน 75) ความกลัว (พลังงาน 100) ความผิดหวัง (พลังงาน 125) ความโกรธ (พลังงาน 150) ความโลภ (พลังงาน 175) แล้วเพิ่มการเปิดใจยอมรับความจริงในชีวิตคือ “ในความคิดลบมากมาย เราเปลี่ยนมุมมองให้เห็นความคิดบวกเล็ก ๆ ได้บ้าง” เพื่อมุ่งพัฒนาตนเองให้รักษาความดีให้ถึงที่สุด ตั้งแต่ความกล้าลองทำสิ่งดี (พลังงาน 200) ความพอใจให้พอดี-เป็นธรรมชาติจริงใจ (พลังงาน 250) ความตั้งใจให้ชีวิตมีความหวังดี (พลังงาน 310) ความยอมรับให้อภัยตนเอง (พลังงาน 350) ความหมายอันมีเหตุผลตามที่เห็นจริง - ไม่โกหกเข้าข้างคิดไปเอง (พลังงาน 400) ความรักความเมตตา (พลังงาน 500) ความร่าเริงสร้างสรรค์สังคม (พลังงาน 540) ความสุขสงบอยู่เย็นเป็นสุขแท้จริง (พลังงาน 600) จากนั้นจะเกิดการเจริญสติวิปัสสนาทบทวนหัวใจความเป็นมนุษย์ภายในตัวเราไปตามพุทธธรรมและกรรมที่ติดตัวเรามา ตั้งแต่พลังงาน 700-1,000 

 

 

หมายเลขบันทึก: 691850เขียนเมื่อ 9 สิงหาคม 2021 08:17 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 สิงหาคม 2021 10:32 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท