ทำงานอย่างไรไม่ให้เครียด


  1. หมั่นทบทวน “ความตึงเครียดทางอารมณ์” ให้หลับตาจนรู้สึกนิ่งมีสมาธิ สนใจไปตรงบริเวณใดในร่างกายที่ตึงเครียด ลองตั้งใจให้ 1 คะแนน คือ ตึงน้อย ๆ 10 คะแนน คือ ตึงมาก ๆ แล้วลดความตึงเครียดผ่าน “การเคาะอารมณ์” คลิกเรียนรู้ที่  (1) Mahidol Channel - โพสต์ | Facebook แล้วประเมินคะแนนความตึงเครียดอีกครั้ง ถ้าน้อยกว่า 4 คะแนน ก็สบายใจหายเครียดได้
  2. ถ้าได้ 4 คะแนนขึ้นไป ให้ฝึกทบทวน “ความตึงเครียดทางจิตใจ” คลิกเรียนรู้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/692043 และค้นความกิจกรรมบำบัดสร้างความสุขได้ที่ 5 เวทมนต์ที่จะช่วยให้การทำงานในองค์กรราบรื่น (matichon.co.th) หรือก่อนจะทำกิจกรรมใด ๆ ลองลดความตึงเครียดทางจิตใจผ่าน “เสียงสร้างสุข” จาก Four Voices App แอปช่วยผู้ป่วยซึมเศร้า พร้อมฟีเจอร์เช็ค 'เปอร์เซ็นต์การคิดบวก' (salika.co) ต่อด้วย เสียงบำบัด เพราะคลื่นเสียงโกหกไม่ได้ - Urban Creature และ “กิจกรรมบำบัดคลายเครียด” ดังตัวอย่างคลิปข้างล่าง

3. ถ้าทบทวนจากข้อ 2 แล้ว ยังรู้สึกเกิด “ความตึงเครียดทางร่างกาย” เราจะลองตั้งใจฝึก “เติมออกซิเจนใส่ใจร่างกาย” กัน ดังภาพข้างล่าง

อ้างอิงจาก ยะชุชิ ฟุจิโมะโตะ เขียน. อังคณา รัตนจันทร์ แปล. ความลับของอวัยวะทั้งห้า. กรุงเทพฯ: อินสปายร์, 2562.

 

4. หากฝึกข้อ 3 ใน 4 วันแล้วไม่ดีขึ้น แนะนำให้ปรึกษานักกิจกรรมบำบัดจิตสังคม 

4.1 นักกิจกรรมบำบัดจะเชิญทุกท่านเปิดใจให้สำรวจสุขภาพสมอง เพื่อเร่งปรับตัวให้มีความสุข ร่ำรวยด้วยสุขภาพ แบ่งปันความรัก และถ่ายทอดภูมิปัญญานำพาสุขภาวะจิตสังคมอย่างยั่งยืน ดัง 17 หัวข้อต่อไปนี้ 

  • นอนหลับน้อยกว่า 6 ชั่วโมง รวม 3 วันต่อ 1 สัปดาห์   o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • นั่งติดคอมพิวเตอร์/มือถือ รวม 3-16 ชั่วโมงต่อวัน      o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ไม่ได้อ่าน/รับฟัง/อบรมเรียนรู้สิ่งใหม่เลยใน 1 สัปดาห์ o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ไม่ร่วมทำอาสาสมัคร/ช่วยเหลือคนอื่นใน 1 สัปดาห์    o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ไม่ฟังเสียงสวดมนต์/ไม่ทำสมาธิ/ไม่หัวเราะใน 1 สัปดาห์ o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ไม่ขยับร่างกายให้ได้เหงื่อ/ไม่สูดอากาศดีใน 1 สัปดาห์   o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • กระหายความรู้ใหม่แต่หงุดหงิดง่ายถ้าไม่ได้ดังที่คาดหวัง o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • กลัวไม่สมบูรณ์แบบ พยายามหาคำตอบเดียวที่ถูกต้อง   o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • โต้ตอบคนที่จับผิดไม่ทัน ไม่ค่อยสังเกตตำหนิคู่สนทนา   o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • คิดยึดติดมาตรฐานมากเกินไป ปิดจุดอ่อนของตนเอง     o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ชอบตัดสินคนอื่นจนโมโหโดยไม่รับฟังข้อเท็จจริงให้ลึกซึ้งo ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ชอบตรวจสอบประวัติการศึกษาตำแหน่งงานในคู่สนทนา o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ทำงานง่าย ๆ หลายอย่างในเวลาพร้อมกันไม่ได้/ไม่คล่อง o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • พูดไม่อ่อนโยน ใช้คำพูดตรง คิดลบ จนไม่น่าฟัง ไม่ใส่ใจ o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ใช้เหตุผลทุกเรื่อง มั่นใจว่าคิดถูก ภูมิใจที่ตนเองฉลาด    o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ชอบพูด “ทำไม่ได้” ผลัดวันปะกันพรุ่ง เรื่องเยอะยุ่งตลอด o ใช่ หรือ o ไม่ใช่
  • ทำงานหวังคะแนนเหมือนตอนเรียน ไม่แก้ปัญหาท้าทาย o ใช่ หรือ o ไม่ใช่

ลองสรุปคะแนนของตัวท่านเอง ข้อที่ตอบว่า “ใช่” ได้ 1 คะแนน ข้อที่ตอบว่า “ไม่ใช่” ได้ 0 คะแนน 

4.2 ถ้ารวมคะแนนแล้วท่านได้ 4-8 คะแนน แสดงว่า ท่านมีสมองอ่อนหัด (Stressed Brain) จะต้องออกกำลังสมองให้เครียดบวก (Eustress Brain) ภายใน 5 วัน เมื่อออกกำลังสมองให้เครียดบวก คลิกคลิปข้างล่าง 

4.3 ถ้าออกกำลังสมองให้เครียดบวกแล้วดีขึ้นไม่ถึง 60% และ/หรือ รวมคะแนนแล้วท่านได้ 9-12 คะแนน แสดงว่า ท่านมีแนวโน้มสมองอ่อนแอ (Weaken Brain) จะต้องออกกำลังสมองให้คิดบวก (Empathy Brain) เพิ่มภายใน 10 วัน คลิกคลิปข้างล่าง  

4.4 ถ้าออกกำลังสมองให้คิดบวกแล้วดีขึ้นไม่ถึง 60% และ/หรือ รวมคะแนนแล้วท่านได้ 13-17 คะแนน แสดงว่า ท่านมีแนวโน้มสมองอ่อนล้า (Fatigued Brain) จะต้องออกกำลังสมองวัดจิตให้รู้ใจแบบเติบโตรายบุคคล (Executive Brain for Growth Mindset) เพิ่มภายใน 21-30 วัน คลิกคลิปข้างล่าง

5. หากไม่ดีขึ้น แล้วพบความเหนื่อยล้าทางร่างกายมากมาย คลิกเรียนรู้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/692510 แล้วฝึกฝน Life Balance สมดุลสมองจิตคิดกายใจ 45-66 วันต่อเนื่องกัน เช่น 6 ท่า 6 นาที กับ เปลี่ยนเครียดลบ ( - ) ให้เป็นเครียดบวก ( + ) (setsocialimpact.com) ร่วมกับการทดสอบความจำและความสุข คลิกดาวน์โหลดที่ Brainy2Blessly - Apps on Google Play (สนับสนุนโดยทุนนวัตกรรมจากกฟผ.) ก่อนและหลังฟังคลื่นสมองสองเสียงต่อเนื่องกัน 4 วัน คลิกดาวน์โหลดที่ Smiley Sound - Apps on Google Play (ออกแบบให้กับสสส. - โครงการบ่มเพาะนวัตกรรมดิจิตอลเพื่อสุขภาวะ) ตลอดจนการทดสอบความคิดบวกผ่าน 4voices - Apps on Google Play ซึ่งติดตามความสำเร็จของแอปพลิเคชันได้ที่ https://www.gotoknow.org/posts/688911 และ https://www.gotoknow.org/posts/676373

หมายเลขบันทึก: 692511เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2021 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 กันยายน 2021 12:16 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท