ภาวะเหนื่อยล้าจาก "ห้าจิตใจไม่เติบโต"


ขอบพระคุณทีม Mahidol Channel ผู้ผลิตสื่อสร้างสรรค์ คลิกฝึกกิจกรรมบำบัดได้ที่ https://youtu.be/Ugt4nFgZTUg 

5  วิธีทดสอบความเครียด เพราะถ้าเครียดสูง ก็จะหายใจไม่ลึก นิ้วมือสั่น ความจำไม่ดี ความคิดลบ หัวเราะไม่ออก 

วิธีที่ 1 หายใจเข้าลึกๆ กลั้นไว้นับ 10 วินาที ต่อด้วย ออกเสียง อา  ยาว 10 วินาที 1 รอบ 

วิธีที่ 2 หลับตา ยกสองมือขึ้นมาห่างกัน 1 ฝ่ามือ แตะนิ้วก้อย นาง กลาง ชี้ โป้ง เร็วและถูกต้องใน 1 รอบ

วิธีที่ 3 บอกเบอร์โทรศัพท์มือถือ ระบุเลขท้าย 5 ตัวจากเลขท้ายสุดไปข้างหน้า  (ให้ถูกใน 1 ครั้ง)

วิธีที่ 4  ตอบ 5 คำถาม  ได้แก่  คำชมครั้งแรกในชีวิตของคุณ คืออะไร / ใครชม  / ชมตอนอายุเท่าไร

          ร้องไห้ล่าสุดเรื่องอะไร / สาเหตุอะไร  (นึกให้ได้ใน 5 วินาทีต่อ 1 คำถาม)

วิธีที่ 5 ลองหัวเราะให้ดังที่สุด นานที่สุด  (นาน 5 วินาที)

การแปลผลภาพรวม

ทำได้ 0-1  ข้อ  แสดงว่า อารมณ์ตึงเครียดสูงมาก 

ทำได้ 2-3  ข้อ  แสดงว่า  ร่างกายตึงเครียดสูง

ทำได้ 4-5  ข้อ  แสดงว่า  สมองตึงเครียดปานกลาง  (เครียดบวก)

การวิเคราะห์ห้าจิตใจไม่เติบโต หรือ Fixed Mindset คือ จิตใจที่ยึดมั่นถือมั่นกับความเชื่อในตนเอง ไม่เปิดใจ ไม่ยอมรับ ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงต่อความเชื่อในตนเองแบบผิดและยึดติดกรอบคิดลบมากจนเกินไป 

นิ้วโป้งเครียดสูง เพราะชอบตำหนิกล่าวโทษตัวเองหรือผู้อื่นด้วยความน้อยใจและคิดไปเอง

นิ้วชี้เครียดสูง เพราะชอบคาดหวังสูงเป็นคนที่สมบูรณ์แบบ กลัวตนเองล้มเหลว บังคับควบคุมผู้อื่น

นิ้วกลางเครียดสูง เพราะชอบพูดว่าไม่มีเวลา ยุ่งย้ำคิดวนในอดีต ไม่ลงมือทำงานให้สำเร็จในปัจจุบัน 

นิ้วนางเครียดสูง เพราะชอบผลัดวันประกันพรุ่ง ไม่ดูแลตนเองด้วยความรักความเข้าใจ จนเสียใจภายหลัง

นิ้วก้อยเครียดสูง เพราะชอบเปรียบเทียบตนเองกับผู้อื่น คิดไปอนาคตเกินจริง แต่ไม่มุ่งมั่นเอาชนะใจตนเอง

กิจกรรมบำบัดสร้างภูมิคุ้มกันใจ

  1. แนะนำให้ใช้มือซ้ายจับจังหวะการเต้นของหัวใจกลางอก มือขวานวดไทรอยด์ 1 นาที เป่าลมหายใจออกทางปากยาว ๆ พร้อมหลับตาให้นึกสีคราม นำสิ่งที่เราแบกภาระผู้อื่นออกไป ต่อด้วยนวดไทมัส 15-20 ครั้ง เป่าลมหายใจออกทางปากยาว ๆ พร้อมหลับตาให้นึกสีส้ม ให้รับผิดชอบดูแลสุขภาพตนเอง   
  2. ขยับร่างกายทำอะไรที่มีเป้าหมาย 15 นาที  เช่น ทำกับข้าว  ทำความสะอาดบ้าน  อาบน้ำ
  3. ฟังเพลงไม่มีเนื้อร้อง โดยจับจังหวะจากชีพจร  ถ้าชีพจรช้า ก็ดึงขึ้นด้วยจังหวะเพลงเร็ว 1 นาที ต่อด้วยจังหวะผ่อนคลายอีก 4 นาที หรือ ถ่ายรูป โดยเลือกสีจากชีพจร เช่น เต้นเร็ว ถ่ายสีโซนเย็น/เต้นช้า ถ่ายสีโซนร้อน
  4. ให้เขียนสิ่งที่ต้องทำในวันพรุ่งนี้ใส่กระดาษให้หมดอย่างน้อย 5 ข้อแล้วเปลี่ยนคำว่า “ต้องทำ” เป็น “ทำได้” ให้อ่านทวนซ้ำ ก่อนจะนั่งหรือนอนสมาธิ เป่าลมออกจากปาก นับเลข 30 ย้อนมา 1 หรือตั้งต้นอายุตนเองจนถึง 1 ถ้ามากกว่า 30 ปี
  5. กอดตัวเองโดยสัมผัสแบบผีเสื้อ มือขวาไขว้ซ้าย ตบบ่าซ้ายสลับขวา 8 ที  / รับฟังโดยไม่ตัดสิน และมีคำถามปลายเปิดเพื่อหาทางออก โดยพูดว่า “เรามาช่วยกันแก้ปัญหาที่พอทำได้ก่อนทีละเรื่อง 1 เรื่องมาเขียนทางแก้ปัญหาใน 20 นาที”
หมายเลขบันทึก: 692043เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2021 08:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 สิงหาคม 2021 08:44 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท