ประเมินสัมฤทธิผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ Ep.2


วันนี้ขอรายงานผลการปฏิบัติงานในหน้าที่ ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ ตลอดระยะเวลา ๖ เดือนที่ผ่านมา ได้เข้ามาร่วมงานและช่วยขับเคลื่อนงานของโรงเรียนดังนี้

ตัวชี้วัดที่ ๑.๒ ผลการดำเนินการตามนโยบายกระทรวงศึกษาธิการและหรือสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๖๐ หมวด ๕ หน้าที่ของรัฐ มาตรา ๕๔ บัญญัติว่า “รัฐต้องดำเนินการให้เด็กทุกคนได้รับการศึกษาเป็นเวลาสิบสองปี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนจบ การศึกษาภาคบังคับอย่างมีคุณภาพโดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ ๒๘/๒๕๕๙ เรื่อง ให้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ตามนัยข้อ ๓ กำหนดว่า “ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดำเนินการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ๑๕ ปี ให้มีมาตรฐานและคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย” และตามหมวด ๖ แนวนโยบายแห่งรัฐ มาตรา ๖๕ บัญญัติว่า “ให้รัฐพึงจัดให้มียุทธศาสตร์ชาติเป็นเป้าหมายการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนตามหลัก ธรรมาภิบาล เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดทำแผนต่าง ๆ ให้สอดคล้องและบูรณาการกันเพื่อให้เกิด การผลักดันร่วมกันไปสู่เป้าหมายดังกล่าว” อนึ่ง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๘๐) ประกาศ ณ วันที่ ๘ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๑ ได้กำหนดวิสัยทัศน์ ในการพัฒนาประเทศ ดังนี้ “ประเทศไทยมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นประเทศที่ พัฒนาแล้ว ด้วยการพัฒนาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” และได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการ พัฒนาประเทศตามวิสัยทัศน์ไว้ ๖ ยุทธศาสตร์ คือ ๑. ยุทธศาสตร์ชาติด้านความมั่นคง ๒. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ๓. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ๔. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม ๕. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ๖. ยุทธศาสตร์ชาติด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของยุทธศาสตร์ชาติ เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศที่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยุทธศาสตร์ชาติ ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่เน้นการวางรากฐานการพัฒนา ทรัพยากรมนุษย์ของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัย ให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็ม ศักยภาพ ซึ่ง “คนไทยในอนาคต จะต้องมีความพร้อมทั้งกาย ใจ สติปัญญา มีพัฒนาการที่ดีรอบด้าน และมีสุขภาวะที่ดีในทุกช่วงวัย มีจิตสาธารณะ รับผิดชอบต่อสังคมและผู้อื่น มัธยัสถ์ อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย รักษาศีลธรรม และเป็นพลเมืองดีของชาติ มีหลักคิดที่ถูกต้อง มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ ๒๑ มีทักษะสื่อสารภาษาอังกฤษและ ภาษาที่ ๓ และอนุรักษ์ภาษาท้องถิ่น มีนิสัยรักการเรียนรู้และการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สู่การเป็นคนไทย ที่มีทักษะสูง เป็นนวัตกร นักคิด ผู้ประกอบการ เกษตรกรยุคใหม่และอื่น ๆ โดยมี สัมมาชีพตามความถนัดของตนเอง” ดังนั้น เพื่อให้การพัฒนาประเทศไปสู่เป้าหมาย “ประเทศชาติมั่นคง ประชาชนมีความสุข เศรษฐกิจพัฒนาอย่างต่อเนื่อง สังคมเป็นธรรม ฐานทรัพยากรธรรมชาติยั่งยืน” สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้กำหนดนโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี (พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๘๐) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๖๐ - ๒๕๗๙ แผนการปฏิรูปประเทศ นโยบายรัฐบาลที่ได้แถลงนโยบายต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ ๒๕ - ๒๖ กรกฎาคม ๒๕๖๒ และนโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔  ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แก่ 

๑. การสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษาระดับปฐมวัย 

๒. การจัดการเรียนการสอนสู่ การเรียนรู้ฐานสมรรถนะเพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษ   ที่ ๒๑  

๓. การปฏิรูปกลไกและระบบการผลิตพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพมาตรฐาน

เพื่อให้การขับเคลื่อนนโยบายกระทรวงศึกษาธิการ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าพเจ้าได้ร่วมการวางแผนและกระบวนการทำงานที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับการปฏิบัติงานในหน้าที่ มีผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และสะท้อนภาวะผู้นำ และประโยชน์ของผลงานที่ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการศึกษา ดังต่อไปนี้ 

               ๑. ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข มีความรู้ ความสามารถตามมาตรฐานสากล มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม บนพื้นฐานความเป็นไทย น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต

               ๒. ครู และบุคลากรทางการศึกษาได้รับการพัฒนาศักยภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ และสามารถจัดการเรียนการสอนตามมาตรฐานสากล

               ๓. โรงเรียนมีหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการตามมาตรฐานสากล ตอบสนองความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม

               ๔. โรงเรียนพัฒนาสื่อเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ครูและนักเรียนใช้ในการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

               ๕. โรงเรียนมีการจัดกระบวนการเรียนการสอน  กิจกรรมการเรียนรู้  การวัดและประเมินผล     ที่มีคุณภาพ ที่เอื้อต่อการพัฒนานักเรียนอย่างรอบด้าน

               ๖. โรงเรียนมีการบริหารจัดการศึกษาอย่างมีระบบตามหลักธรรมาภิบาล

               ๗. โรงเรียนพัฒนาแหล่งเรียนรู้  และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพชุมชน  ผู้ปกครอง  และภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการส่งเสริม  สนับสนุนการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ

           รองผู้อำนวยการ ร่วมจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา และ แผนปฏิบัติการประจำปี ดำเนินการตามนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  เพื่อให้เกิด        การยกระดับคุณภาพการศึกษา มีการดำเนินงานดังนี้

    -กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ งานอาชีพสู่ห้องเรียน

    -การอ่านออกเขียนได้

    -การใช้สื่อการสอน

     -กิจกรรมลูกเสือเสริมสร้างทักษะชีวิต

    -ส่งเสริมการเรียนรู้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความคิดริเริ่มภาวะผู้นำที่เกิดขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #นโยบาย#กระทรวง
หมายเลขบันทึก: 692273เขียนเมื่อ 5 กันยายน 2021 21:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กันยายน 2021 21:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท