นานาจิตตังท้องถิ่นท่ามกลางกระแสโควิดที่ไม่รู้จะจบสิ้นเมื่อใด


นานาจิตตังท้องถิ่นท่ามกลางกระแสโควิดที่ไม่รู้จะจบสิ้นเมื่อใด

4 สิงหาคม 2564

: ทีมงานหญ้าแห้งปากคอก(ท้องถิ่น)

ในการแก้ไขปัญหาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า  2019 หรือ COVID-19 (โควิด-19) เป็นปัญหาเรื้อรังมายาวนานร่วม 2 ปี  ที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ต้องเข้ามาร่วมแก้ไขปัญหานี้นับแต่วินาทีแรก นับแต่ เริ่มจากจากจัดตั่งและอบรม “อาสาสมัครภัยพิบัติ” รวมอาสาสมัคร 904 แรกเริ่มจากการระดมกันทำหน้ากากผ้าอนามัย ด้วยต้นทุนการสนับสนุนจากรัฐเพียงน้อยนิด 

ท่ามกลางวามรุนแรงของสถานการณ์โรคระบาดโควิด ที่ องค์การอนามัยโลก(WHO) ชี้ว่าโควิดสายพันธุ์เดลตา (Delta, Delta plus) ระบาด 124 ประเทศทั่วโลกแล้ว พบติดเชื้อพุ่งถึง 200 ล้าน

 

จากข่าวเมื่อ 23 กรกฎาคม 2564 อึ้งกันหมด เมื่อนายก อบต.สหัสขันธ์ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ พูดชัดๆ ไม่เอาศูนย์พักคอย "ให้มาแบกรับภาระ มันหนักเกิน"

เคยสงสัยกันไหมว่า รพ.สนาม (Field Hospitel) ที่พัฒนาเป็น “Hospitel” (ปรับโรงแรมเป็น รพ.สนาม) และเป็น “ศูนย์พักคอย” (Community Isolation : CI) สำหรับผู้ป่วยน้อยระดับสีเขียวที่กลับบ้านมาจาก กทม.หรือพื้นที่สีแดง และ การให้ไปกักรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยน้อยระดับสีเขียว (Home Isolation : HI) ที่ท้องถิ่นนั้น 

อปท.แต่ละประเภท แต่ละแห่ง ต่างมีศักยภาพที่แตกต่างกัน ด้วยภารกิจอำนาจหน้าที่ที่บัญญัติให้ไว้ในกฎหมายจัดตั้ง อปท. และ ในกฎหมายกำหนดแผนและขันตอนการกระจายอำนาจ ฉะนั้น ใน อปท.ขนาดใหญ่เช่น องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) หรือเทศบาลเมือง เทศบาลนคร จึงมีศักยภาพมากกว่า เทศบาลตำบล หรือ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)

กล่าวคือ ตามเงื่อนไขอำนาจหน้าที่ของ อปท.นั้น หน้าที่ "ด้านการสาธารณสุขและการรักษาพยาบาล" บางท้องถิ่นอาจถือเป็นหน้าที่ บางท้องถิ่น อาจไม่ใช่หน้าที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ตาม พ.ร.บ.กระจายอำนาจฯ และ พ.ร.บ.จัดตั้งฯ เนื่องจาก อปท.มีหลายระดับ โครงสร้างอัตรากำลังของ อปท.ขนาดเล็กจะไม่มี สถานบริการสาธารณสุข เช่น อบต. หรือ เทศบาลตำบล แต่ศูนย์พักพิงนี้ถือเป็นหน้าที่ได้ แต่ผู้กำกับดูแลและคนทั่วไปที่ไม่เข้าใจในบริบทอำนาจและหน้าที่ของท้องถิ่น "คิดว่าท้องถิ่นทำหน้าที่ได้ทุกเรื่อง"

เรื่องนี้มีข้อสังเกตว่า แทนที่นายกฯ จะอธิบาย หรือพูดให้ชาวบ้านหมู่นั้นเข้าใจในเหตุผลความจำเป็นที่ต้องตั้ง “ศูนย์พักคอย” กลับกลายเป็นมาบอกว่าเป็นภาระ และ นายกฯ ไม่เอาคนนอกบ้าน ดูจะย้อนแย้งหลักการที่ว่า ท้องถิ่นตั้งขึ้นมาเพื่อ "ลดความเหลื่อมล้ำ" ในการรับบริการสาธารณะของประชาชน แต่ปัจจุบัน ท้องถิ่นจำนวนมาก มีขนาดเล็กเกินกว่าจะจัดบริการสาธารณะบางประเภทให้มีประสิทธิภาพ ยิ่งปัจจุบันเป็น "การบริหารแบบรัฐราชการรวมศูนย์อำนาจ"

ศูนย์พักคอย (CI) สำหรับรองรับผู้ป่วยที่รักษาตัวเกือบหายปกติ (ผู้ป่วยสีเขียว) มาพักก่อนกลับบ้าน เช่น ออกจาก รพ.วันที่ 11 ก็มาอยู่ที่ศูนย์พักคอยวันที่ 11-14 เป็นต้น จึงต่างจาก รพ.สนาม เพื่อมิให้สับสนกัน กระทรวงสาธารณสุข จึงเปลี่ยนชื่อเรียก “ศูนย์พักคอย” (Community Isolation : CI) เป็น “ศูนย์ดูแลโควิด-19 ชุมชน” (COVID-19 Care Center : CCC)

ลองมาฟังเสียงบ่นวิพากษ์ของคนท้องถิ่น (อปท.) กันบ้าง เกี่ยวกับศูนย์พักคอย (CI) ที่มีข่าวนายก อบต.แห่งหนึ่งในภาคอีสานประกาศไม่เอา CI ศูนย์พักคอย น่าสนใจว่าเป็นความเก็บกดจากรัฐที่ไม่สนับสนุนเงินงบประมาณแต่ผลักภาระให้ อปท.มาก

ข้อวิตกและมาตรการที่ควรจะดำเนินการ

เพื่อลดภาระ รพ. เตียงเต็ม ที่คนกล่าวกันว่า เตียงไม่พอ รพ.รับไม่ไหว ศูนย์พักคอยจะไม่เป็นกับดักของท้องถิ่น หรือการแยกตัวกลุ่มเสี่ยงออกจากกลุ่มชนจะต้องทำอย่างถูกหลักวิชาการระบาดวิทยา (Epistemology)

(1) การจัดหาสถานที่ โดย (1.1) จัดหาบ้านญาติที่ไม่มีผู้อยู่อาศัย กักตัว (HI) (1.2) จัดหาที่พักคอยกลางในหมู่บ้าน ได้ศาลาอเนกประสงค์ วัด (1.3) ระดับตำบล ใช้สถานที่ราชการ ในพื้นที่ หรือ สนามกีฬา อบจ. ห้องประชุมใหญ่ จังหวัดเอาไว้ทำไม ต้องเอามาทำประโยชน์ รวมทั้งค่ายทหาร ค่าย อส. ด้วย เพราะว่างเปล่าๆ 

(2) การเช่า หรือ การต่อเติมอาคาร หรือการก่อสร้างอาคารใหม่ (แบบ knock down) เพื่อรองรับการพักคอย ดูจะสิ้นเปลืองงบประมาณ เพราะสถานการณ์ ยังไม่มีที่ท่าจะผ่อนคลายลง อาจทอดระยะเวลาออกไปอีก 3 เดือน หรือมากกว่า อปท.จะ รับภาระค่าใช้จ่ายได้ตลอดหรือไม่ ควรนำค่าเช่า ค่าต่อเติม นำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลเรื่องการอาหารการกิน ของผู้พักคอยจะดีกว่า

(3) บางจังหวัด ใช้จังหวัดเป็นจุดศูนย์พักคอย ซึ่งมีสถานที่ราชการรองรับ อีกทั้งใกล้ รพ. หากเกิดอาการ หรือมีอาการหนัก ก็จะสามารถส่งรักษาได้ท้นการ สามารถควบคุมได้ง่ายกว่า

(4) หากมีความจำเป็นจะต้องการเช่าสถานที่เหมาะสมจากเอกชน เช่น โรงแรม ที่พักรีสอร์ท เป็น Hospitel ได้ ซึ่งควรจะมอบภารกิจ ให้แก่ อบจ. ดำเนินการจะมีเอกภาพในการจัดการผู้กักตัว ให้อยู่บริเวณเดียวกัน

(5) ศูนย์พักคอยควรทำในระดับจังหวัด หรืออำเภอ ที่มีศักยภาพ หากแยกมาระดับ อปท. การบริหารจัดการอาจไม่ไหว เพราะมีข้อจำกัดเรื่อง เตียงไม่มี ขาดบุคลากรทางการแพทย์ และขาดอุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือทางการแพทย์ประกอบเตียง เช่น ไม่มีอุปกรณ์ประกอบเตียง ได้แก่ เครื่องช่วยหายใจ และจำนวนแพทย์พยาบาลที่จะดูแลที่ ขาดแคลน ฉะนั้นเตียงมีมากมายเท่าใดไม่สำคัญช่วยอะไรไม่ได้หากหมอไม่มี

(6) บาง อปท. มีเคสเดียวแต่ใช้คนจัดการเป็น 10 คน อาจทำให้สิ้นเปลือง กรณี HI หากทำได้ในชุมชนจริง คือ มีบ้านว่าง ในหมู่บ้าน มีอุปกรณ์พร้อม เครื่องนอน เครื่องครัว สนับสนุนแต่อาหารสด ให้ทำกินเอง เป็นต้น

(7) การสร้างความตระหนัก เพื่อลดความตระหนก สำคัญอย่างยิ่งในการรับรู้ของประชาชนและขุมชน เพราะในระดับชุมชนนั่น หากเกิดการหวาดกลัวเกินเหตุขึ้น การบริหารจัดการจะติดขัดไปหมดทุกทาง

(8) ข้อวิตกกรณีคนไม่มีบ้าน คนไร้บ้าน (Homeless) หรือคนด้อยโอกาส คนต้องพึ่งพิง (Shelters) ตัวอย่างเช่น ตอนนี้แถวหลังอนุสาวรีย์ย่าโม จังหวัดนครราชสีมา มีชาวบ้านที่ตกงานจำนวนหนึ่งหนีมาจากกรุงเทพฯ อยู่เต็มเลย นอนเป็นจุดๆ เต็มถนนโคราชแล้ว จะกลับบ้านนอกก็ไม่ได้ กลัวถูกกักตัว ไปบ้านนอกก็ไม่มีบ้านอยู่อาศัย มีแต่เพียงชื่อในสำมะโนครัวเฉยๆ ไม่มีบ้าน 

(9) การใช้งบประมาณท้องถิ่น เพื่อบริหารจัดการโรคโควิดต้องชัดแจ้งในประเด็น เพราะ อปท. ณ เวลานี้ มีแต่ถูกสั่งการที่ล้วนแต่มีการใช้งบประมาณทั้งสิ้น ส่วนกลางอย่าอ้างว่าทำดีแล้วได้ดี ว่าท้องถิ่นต้องช่วยรัฐบาล เพราะหน่วยตรวจสอบ ไม่ได้ตรวจความดีที่มีประโยชน์ แต่ตรวจตามระเบียบฯ ตามหน้าที่

 

อปท.เป็นสำนักงบประมาณ สาขาที่สอง

หน่วยงานของรัฐ รวมทั้งหน่วยกำกับดูแล และหน่วยราชการอื่น องค์กรต่างๆ จึงมอง​ว่า “อปท.เป็นสำนักงบประมาณ สาขาที่สอง” คือ หมายความว่าเป็นหน่วยงานที่เบิกจะจ่ายงบประมาณต่างๆ ที่ส่วนกลางไม่มีจัดสรรให้

(1) บทบาทนี้ของ อปท. เริ่มนับตั้งแต่มี “สมาคมสันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย” (สทท.) ทำให้ อปท. โดยเฉพาะเทศบาลใช้เงินสะสม รู้จักและใช้เงินสะสมของแต่ละท้องถิ่น ก่อนจะโทษรัฐ ต้องโทษที่ อปท. ก่อนที่ “ขาดวินัยทางการคลัง” เพราะใช้งบประมาณเกินตัว ไม่ประหยัดคุ้มค่าในงบประมาณ และเสนอตนเองเข้าแก้ไขปัญหา ทั้งๆ ที่ไม่มีศักยภาพหรือมีงบประมาณน้อย อย่างนี้ต้องไปแก้ไขที่ อปท.

(2) การกระจายอำนาจ (Decentralization) ตาม รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ พ.ร.บ.กำหนดแผนและขั้นตอนในการกระจายอำนาจ พ.ศ.2542 มีการถ่ายโอนภารกิจกระจายงานให้แก่ อปท. แต่ไม่กระจายเงิน แถมสั่งการให้ อปท. ทำหน้าที่ต่างๆ มากมายเกินตัว รวมทั้งการช่วยให้รายงานทุกๆ กระทรวง กรม ต่อไปน่าจะเพิ่มการรายงานให้หน่วยงานทหาร ตำรวจ และองค์กรอิสระไปด้วย

(3) อปท. ได้ฉายาว่า “หลอกง่าย ใช้คล่อง ไม่ต้องรับผิด ดู” ซึ่งดูแล้วคน อปท.งงอยู่เหมือนกัน ตอนนี้คน อปท.คิดเหมือนกันเลยว่า “อปท.ทำทุกอย่าง ครอบจักรวาลหมด”

(4) อปท.หลายแห่ง เกิดสภาวะขาดรายได้ที่มีน้อยนิด แทบจะจ่ายเงินเดือนค่าจ้างฯ รายจ่ายประจำฯ ไม่พอ แต่ต้องมาดูแลประชาชน ให้เป็นหน่วยงานหลักในเรื่องบริหารจัดการโควิดในพื้นที่อีก การจัดสรรรายได้ก็ถูกลดถูกตัด นอกจากนี้ ส่วนกลางใช้งบโดยขอ อปท. แต่ผลงานเป็นของหน่วยตนเอง (ที่ขอ)

(5) อปท.มองว่า "เป็นที่ผลักภาระงานของส่วนกลาง" ทำอะไรไม่ได้สุดท้าย ก็โยนมา พร้อมหนังสือสั่งการให้ดำเนินการ ซ้ำร้ายถูกมองว่าเป็น ตู้ ATM แถมมองเป็นชนชั้นแรงงานที่จะสั่งใช้เมื่อใดก็ได้ แทนที่จะใช้บุคลากรของหน่วยงานตนเอง ใช้งานเหมือนเป็นผู้รับใช้ทุกอย่าง เรียกได้ว่า “ขี้ไม่ออกก็ท้องถิ่น เยี่ยวไม่ออกก็ท้องถิ่น” กากท้องถิ่นไมทำก็ว่า “ไม่สนองนโยบาย” ยกตัวอย่างเช่น งานอนุญาตให้คนเดินทางข้ามจังหวัดช่วงโควิด ไปถึงอำเภอแล้ว อำเภอกลับไล่มาให้ท้องถิ่นเซ็น ตอนจะเอาอะไรรวดเร็วมาก แต่ถึงตอนจะให้บ้างกลับอ้างโน่นอ้างนี่อ้างนั่นตรวจสอบสารพัด ล่าช้า อืดอาด ไม่ท้นใจฯ 

(6) หลายเรื่องสั่งการให้ อปท.ทำแต่ไม่ให้เงินงบประมาณ เป็นเช่นนี้มาตลอด สั่งการให้ทำทุกอย่าง ขอทุกเรื่องเหมือน อปท.เป็นกระทรวงการคลัง นอกจากของบประมาณแล้วยังมีขอคนทำงาน ขอเครื่องมือเครื่องใช้ ฯลฯ ด้วย หน่วยงานส่วนกลางจึงไม่เปลืองงบ เปลืองมือ เปลืองแรงฯ ในเรื่องเงินงบประมาณที่ต้องบริหารจัดการกลับไม่พูดสักคำ นี่เป็นช่องว่าง ช่องทางในการทุจริตของผู้บริหารท้องถิ่น รวมไปถึงข้าราชการส่วนท้องถิ่นสายงานผู้บริหารด้วย ที่ มักถูก สตง. ป.ป.ช. ป.ป.ท. ให้ดำเนินการทางวินัยและอาญาอยู่เป็นประจำ

(7) ส่วนกลางสั่งการสั่งใช้แบบไม่ให้งบเพิ่ม หรือให้งบจำกัด แต่รู้ว่าส่วนกลางมีงบประมาณเพื่อการนี้อยู่ แต่เป็นเพราะ มท.อยากได้หน้า บารมีฯ จึงสั่งงานต่อไป อปท. ได้ผลงาน ความดีเอาไป

(8) เป็นที่มาว่า ต่อไปนี้ ให้ อปท.ของบประมาณเงินอุดหนุน(เฉพาะกิจ) โดยตรงจากสำนักงบประมาณ (สงป.) ไม่ต้องผ่านกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น (สถ.)

(9) นอกจากเป็นสำนักงบ สาขา 2 แล้ว ยังใช้คำว่า อปท.เป็นส่วนราชการที่มีหน้าที่เพื่อ “พัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน” คำนี้กว้างมาก และเป็นคำดั้งเดิมที่ อปท.ถือปฏิบัติต้องทำมาตลอดแล้ว เพียงแต่ อปท.ทำได้ตามศักยภาพของแต่ละ อปท.ไป ยกตัวอย่างในงานพัฒนาคุณภาพชีวิตนี้ เช่น เมื่อส่วนกลางวางแผนนโยบายเสร็จ จัดทำคำสั่ง ลงนามโดย ผวจ. จะให้นายกเทศมนตรี เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ของ อปท. ในพื้นที่อำเภอ หรือตำบล ทำทุกอย่าง และรายงานผลให้ส่วนราชการระดับจังหวัดทราบ เช่น พมจ. พช. และหน่วยอื่นๆ สรุป ว่า หน่วยงานอื่นทำไม่ได้ อปท.ทำได้หมด

(10) อปท. “เป็นเบ๊แรงงานจับกัง” ยกตัวอย่าง กรณีถูกขอความร่วมมือ เช่น จากหน่วยทหาร คนที่จับจอบขุดดินคือ อบต. ทหารมัวแต่วิ่งถ่ายรูปฯ เจ้าหน้าที่ อบต.จ่ายงบกับขนโต๊ะเต็นท์ ทหารเลือกจ่ายค่าอาหารที่ง่ายเป็นผัดมาม่า เป็นต้น

 

ประเด็น อปท. มีอำนาจหน้าที่ป้องกัน และดูแลรักษาผู้ป่วยเหมือนกันทุก อปท.หรือไม่

(1) อปท. "มีหน้าที่ป้องกัน" ไม่ใช่การรักษา หมายถึง การรักษาพยาบาล เป็นหน้าที่สาธารณสุข (แต่เป็นศูนย์พักรอ/กักตัว เป็นหน้าที่ในเรื่องการป้องกันฯ) ระเบียบ ยกเว้นได้ แต่ พ.ร.บ.จะไปยกเว้นไม่ได้

(2) มท. มักสั่งการทั้งที่ไม่มีกฎหมายให้อำนาจ พอมีปัญหาก็ลอยตัวให้ท้องถิ่นตอบเอง แก้ไขปัญหาเอง อำเภอ จังหวัดก็อาศัยช่องหนังสือรีบสั่ง ใครหลวมตัวทำก็เหนื่อย ถ้าจะทำต้องเป็นเทศบาลนครกับ อบจ. เพราะอำนาจมากมาย ท้องถิ่นเล็กๆ อย่าผลีผลาม เขาบอกมอบ อปท. แต่ระดับใดไม่ชัดต้องพึงสังวร เจ็บแล้วต้องจำ ใครไม่จำหากโดนคดีซ้ำอย่าโทษใครตนเองนั่นแหละเข้ารับไฟเอง

(3) อปท. จะมีปัญหากับ​ สตง.​ตรงความหมาย​ของคำว่า​ จำเป็น​ เหมาะสม​และประหยัด ประหยัดคือแค่ไหนที่ไม่มีปัญหา

 

สถานการณ์ อปท.ถังแตก

อปท.บางแห่งเงินสะสมแทบไม่เหลือรายได้ก็จะไม่พอจ่ายเงินเดือนเก็บภาษีก็ไม่ได้จะเอาเงินที่ไหนใช้ภารกิจโควิดจังหวัด/อำเภอจะเข้าใจไหม

ความเห็น

(1) ได้ข่าวว่าบางจังหวัดจะขอให้ อปท.สนับสนุน ศบค.จังหวัด ด้วย

(2) ปลัด กับคลัง ไม่ทักท้วงการใช้จ่ายเงินสะสมบ้างเลยหรือ

(3) ไม่เคยเข้าใจ เอาทุกอย่าง สถานที่ เงิน แรงงานพนักงานอีก แต่สิ่งที่เราจะได้ช้า ต้องตรวจสอบโน่นนี่นั่น

(4) เหมือนกันทุกแห่ง ผวจ. นายอำเภอ สั่งมาเป็นทอดๆ เคยมาสำรวจงบประมาณบ้างไหม จะทำอย่างไรดีได้แต่สั่งการแต่ไม่จัดสรรงบให้เลย

(5) ให้​ อปท.ทำหนังสือรายงานอำเภอ​เพื่อให้อำเภอขอใช้งบยับยั้งสาธารณภัยของ​ ปภ. โดยให้ สธ.จังหวัด เสนอ ผวจ. เอางบยับยั้ง ปภ.จังหวัดจัดให้ ที่ใดงบไม่พองบน้อย ก็ให้ สธ.จว.จัดการ เพราะทุกจังหวัด สธ.จว.ของบสำรองจ่ายเตรียมการไว้อยู่แล้ว

(6) โดยข้อเท็จจริงและหลักการแล้วไม่ใช่ภารกิจหลักของ อปท.ตั้งแต่แรก เรื่องนี้อ่อนไหว เห็นว่าไม่ต้องรายงาน จังหวัดหรืออำเภอ หากไม่ได้คิดจะผลักภาระให้ อปท. ก็สามารถสั่งใช้เงินนั้นได้เอง นี่เป็นหลักการ แต่จริงๆ ตรงกันข้าม

(7) ไม่มีเงินก็ไม่ต้องทำแบบนี้ ง่ายดีรัฐบาลกลางกู้มาก็แจกอย่างเดียวสุดท้ายก็ไม่พ้น อปท.กระจายงานกระจายความรับผิดชอบ แต่ไม่กระจายเงินไม่กระจายอำนาจ เขาก็รู้ว่า อปท.จนจริงๆ แล้ว สั่งอย่างเดียว อปท.ลำบากสุดๆ ตอนนี้ เขาคงไม่เข้าใจเรื่องของคนอื่น

(8) ให้สั่งมาเลยให้ สตง.ปปช.ตรวจผ่าน ให้ใช้งบประมาณเอาเงินอะไรก็ได้ แต่อย่าให้ท้องถิ่นไปดูเองและรับผิดเอง เพื่อสนองนโยบายอำเภอ จังหวัด แต่กรรมการผิด

(9) ข้อสังเกต ทั้งรัฐมนตรี ปลัดกระทรวง อธิบดี และผู้เกี่ยวข้องไม่รู้บ้างเลยหรือ งบไม่จ่ายเข้ามา หรือแกล้งจ่ายมาไม่ครบ อปท.จะไปเอาเงินที่ไหน ลองอ่านระเบียบดู ใช้งบ ผวจ. เมื่องบหมดยังขอได้ งบอีก แต่ อปท. อบต.งบหมดก็หมดไม่สามารถขอที่ใดได้

(10) ที่ผ่านมา เห็นแต่มีข้อสั่งการให้ อปท. ดำเนินการหรือให้การสนับสนุนส่วนราชการหรือได้รับมอบหมายให้ดำเนินการศูนย์พักคอย กักกัน CI / HI ในชุมชน ขอนำเสนอแนวคิดอีกทางเพื่อเป็นสวัสดิการให้ อปท. ดังนี้

เมื่อเจ้าหน้าที่ อปท. หรือบุคคลภายนอกได้รับแต่งตั้งมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินการ ศูนย์พักคอย CI / HI หากติดเชื้อหรือมีสาเหตุการป่วยจากการปฏิบัติหน้าที่หรือเสียชีวิต จากการปฏิบัติหน้าที่จะสามารถเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากหน่วยงานของรัฐได้หรือไม่ อย่างไร จะมีวิธีใช้สิทธิเรียกร้องอย่างไร เพียงใด และการที่ ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้บุคลากรดังกล่าวปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ได้อบรมให้ความรู้หรือไม่มีหน้าที่ทางวิชาชีพ หรือไม่ได้จัดหาอุปกรณ์ในการป้องกันอย่างเพียงพอ จะสามมารถทำได้หรือไม่ เชื่อว่าหลังจากทำงานไป อาจเกิดเหตุติดเชื้อจากการปฏิบัติหน้าที่ได้

 

ข้อคิดแง่ฝากจาก สตง.

มณเฑียร เจริญผล รองผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ฝากข้อคิดแก่ อปท.เป็นประเด็นที่น่าสนใจมากว่า โรคระบาดโควิด-19 เป็นเรื่องท้าทายหน้าที่และอำนาจของ อปท.เป็นอย่างมาก จะดำเนินการอย่างไร

1) การป้องกันและช่วยเหลือการดำรงชีพประชาชน เช่น การจัดหาวัคซีน หน้ากากอนามัย การฉีดน้ำยาฆ่าเชื้อ การจัดหาเครื่องอุปโภคและบริโภคการดำรงชีพ เป็นต้น

2) การดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการจัดหาโรงพยาบาลสนาม และอุปกรณ์ หรืออุดหนุนเป็นเงิน

3) การดำเนินการหรือเข้าร่วมดำเนินการเรื่อง Community Isolation/Home Isolation รวมทั้งการจัดหาอาหาร รวมทั้งวัสดุและครุภัณฑ์ทางการแพทย์ เป็นต้น

4) การจัดหารถรับส่งผู้ป่วย

5) การเบิกจ่ายเงินและการจัดซื้อจัดจ้างในการดำเนินการดังกล่าวข้างต้น

ขอเป็นกำลังใจให้ อปท.ดำเนินการภารกิจสำคัญนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเพื่อประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนในเขตพื้นที่ของแต่ละ อปท.

 

สถ.และ มท.ต้องอ่านฟังเสียงบ่นของคนท้องถิ่นกันหน่อย และอย่าลืมมาตรการนี้ยังใช้อยู่นะ มีระบบ DMHTA (5 อย่าง) คือการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก จัดเจลล้างมือ ตรวจวัดอุณหภูมิ ใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ/หมอชนะ/แอปตามแนะนำ

 

ขอให้ทุกคนต้องรับ New Normal คือ เมื่อมีของใหม่เข้ามาแทรก แต่เราต้องอยู่กับมันให้ได้ เช่น ไวรัสโคโรนา โควิด-19 เราต้องปรับตัวปรับใจ และทำใจ เช่น อังกฤษ สิงคโปร์เขาบอกประชาชนเขาแล้วให้ใช้ชีวิต New Normal เราคงต้องอยู่กับมันตามชีวิตปกติ ไม่ใช่ New Disaster (หายนะ) และก้าวข้ามไปสู่ความปกติบทต่อไป (next normal)

 

+++

กฎหมาย 

ราชกิจจาฯ ขยายระยะเวลาประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วราชอาณาจักร, 24 กรกฎาคม 2564, (การขยายระยะเวลาการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (คราวที่ 13)), https://siamrath.co.th/n/264814 

นายกฯ ออกข้อกำหนดสั่ง กสทช.คุมสื่อ ห้ามเสนอข่าวทำปชช.หวาดกลัว -เกิดความเข้าใจผิด, สยามรัฐออนไลน์, 29 กรกฎาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/266603 

คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ที่ 11/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด พื้นที่ควบคุมสูงสุด และพื้นที่ควบคุมตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548, ประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่ม 138 ตอนพิเศษ 173 ง วันที่ 1 สิงหาคม 2564 หน้า 8,  http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/173/T_0008.PDF

ราชกิจจาฯ ประกาศข้อกำหนด “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ฉบับที่ 30, ข่าว TNN, 2 สิงหาคม 2564,  https://www.tnnthailand.com/news/covid19/86986/ 

ราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อกำหนด “พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ” ฉบับที่ 30 ขยายมาตรการล็อกดาวน์ เคอร์ฟิว จำกัดการเดินทาง 29 จังหวัดสีแดงเข้ม ถึง 31 ส.ค.

 

หลักการ คู่มือ ระเบียบ 

ตัวอย่างโครงการสนับสนุนการดำเนินงานสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine), 27 กรกฎาคม 2564, https://www.gotoknow.org/posts/691692 

ตัวอย่างโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ (Community Isolation), 28 กรกฎาคม 2564, https://www.gotoknow.org/posts/691693 

มาตรการควบคุมเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในกรณี อบต., 20 พฤษภาคม 2564, เป็นกรณีตัวอย่างศึกษา อบต.คีรีเขต, https://www.gotoknow.org/posts/690709 

แนวทางการจัดตั้งศูนย์แยกกักตัวในชุมชน, กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, กรกฎาคม 2564, https://drive.google.com/file/d/1YPsGETXvR3ljbdvGGhC4mSZV3Ppso0qB/view?usp=drivesdk 

คู่มือการจัดการที่พักรักษาตัวที่บ้านของผู้ป่วยโควิด Home-Isolation, TFMA, https://drive.google.com/uc?id=1IH9YGlZCFMEjFlsSU-dJ7BUIKyCNCek9&export=download 

 

หนังสือสั่งการ

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว2343 ลงวันที่ 22 เมษายน 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) กรณีการตั้งโรงพยาบาลสนามในระดับพื้นที่, http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2021/4/25311_1_1619162157663.pdf 

และหนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.9.34/ว04614 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2564, https://ur-pk.facebook.com/9npu9/posts/3943981649046821

 

หนังสือสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ สปสช.2.57/ว7155 ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2563 เรื่อง ขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข สำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564, https://www.nhso.go.th/storage/downloads/main/146/หนังสือแจ้งแนวทางการขอรับค่าใช้จ่าย_COVID19.pdf

 

ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด - 19),  http://dn.core-website.com/public/dispatch_upload/backend/core_dispatch_258427_1.pdf

หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว1562 ลงวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อ้างถึง

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564 เรื่อง ซักซ้อมแนวทางการการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) , http://dn.core-website.com/public/dispatch_upload/backend/core_dispatch_258427_1.pdfhttps://www.moicovid.com/wp-content/uploads/2021/08/2021-07-19...pdf 

& หนังสือ สปสช. ที่ สปสช.2.57/ว3876 ลงวันที่ 28 มิถุนายน 2564

 

หนังสือแนวทางการสนับสนุน CI/ HI เพื่อป้องกันการเบิกซ้ำซ้อนฯ ระหว่าง สปสช.และ อปท.ซึ่ง อปท. ต้องใช้รายละเอียดเหล่านี้ประกอบด้วย ตามกรอบของ สปสช.

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว2343 ลงวันที่ 22 เมษายน 2564

& หนังสือสำนักงาน สปสช. ที่ สปสช.9.34/ว04614 ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2564

 

บันทึกข้อความ สำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุข ด่วนที่สุด ที่ สธ 0211.021/15965 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2564 เรื่อง สรุปการประชุมทางไกล (Web Conference) และข้อสั่งการ แจ้งผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 11

 

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว4281 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เรื่อง การเบิกค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ จัดตั้งสถานที่ในการป้องกัน ควบคุม และรักษาโรคติดเชื้อไวรัส โคโรน่า 2019 (โควิด-19), http://www.dla.go.th/upload/document/type2/2021/7/25804_1_1627360539168.pdf?time=1627362808270 

 

หนังสือกระทรวงมหาดไทย ด่วนที่สุด ที่ มท 0820.2/ว4290 ลงวันที่ 27 กรกฎาคม 2564 เรื่อง การจัดการมูลฝอยติดเชื้อชุมชนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19), https://www.moicovid.com/wp-content/uploads/2021/08/2021-07-27.pdf   

 

หนังสือกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ด่วนที่สุด ที่ มท 0804.3/ว1267 ลงวันที่ 4 สิงหาคม 2564 เรื่อง แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการประชุมสภาท้องถิ่น ภายใต้ข้อกำหนดออกตามความในมาตร 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 (ฉบับที่ 30) ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2564, https://www.moicovid.com/wp-content/uploads/2021/08/144784.pdf 

 

ข่าวอ้างอิง

ความจริงอันน่าสะพรึง, ข่าวเดลินิวส์, 22 กรกฎาคม 2564, https://www.dailynews.co.th/articles/78935/ 

 

อึ้งกันหมด นายก อบต.พูดชัดๆ ไม่เอาศูนย์พักคอย “ให้มาแบกรับภาระ มันหนักเกิน”, เวบ sanook, 23 กรกฎาคม 2564, https://www.sanook.com/news/8415894/

 

สรยุทธ สุท้ศนะจินดา กรรมกรข่าว, 27 กรกฎาคม 2564 เวลา 10:42 น., “สมุทรสาครโมเดล” ประชาชนทั่วไปที่ใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kits (ATK) ที่มี อย.รับรอง ใช้ยืนยันเข้าระบบกักตัวได้เลย โดยไม่ต้องไปตรวจซ้ำที่โรงพยาบาลเพื่อยืนยันผลอีก

 

“วช.” ชู “ศาสตร์พระราชาและพระบรมราโชบาย” สร้างความ “มั่งคั่ง ยั่งยืน” ให้กับ “ชุมชนปิยะมิตร” รองรับ Next normal, สยามรัฐออนไลน์, 28 กรกฎาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/266150 

 

สปสช.เผยมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าระบบการดูแลที่บ้านหรือที่ชุมชนแล้ว 3.9 หมื่นราย, 29 กรกฎาคม 2564, https://www.nhso.go.th/news/3197 

 

Delta infections among vaccinated likely contagious; Lambda variant shows vaccine resistance in lab : Aug 3,2021, https://www.reuters.com/business/healthcare-pharmaceuticals/delta-infections-among-vaccinated-likely-contagious-lambda-variant-shows-vaccine-2021-08-02/?taid=61087ed2558c3300016a83c0&utm_campaign=trueAnthem:+Trending+Content&utm_medium=trueAnthem&utm_source=twitter

สำนักข่าว Reuters รายงานผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดพบว่า ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบเข็มแล้ว เมื่อติดโควิดกลายพันธุ์ Delta สามารถแพร่เชื้อได้พอ ๆ กับผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน กล่าวคือ “ฉีดไม่ฉีดก็แพร่เชื้อได้เท่ากัน”

 

วิกฤติโควิด ความจริงที่สวนทาง! ภาครัฐ-ภาคหมอ, สยามรัฐออนไลน์, 4 สิงหาคม 2564, https://siamrath.co.th/n/268057



ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท