ตัวอย่างโครงการสนับสนุนการดำเนินงานสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine)


ตัวอย่างโครงการสนับสนุนการดำเนินงานสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน

28 กรกฎาคม 2564

ตัวอย่าง โครงการสนับสนุนการดำเนินงานสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine) สำหรับเทศบาลตำบลหัวตะพาน 

*********

1. ชื่อโครงการ โครงการสนับสนุนการดำเนินงานสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine)

 

2. หลักการและเหตุผล

ตามที่ผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญ เป็นประธานในการประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสา ธารณภัยจังหวัดอำนาจเจริญ และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอำนาจเจริญ ครั้งที่ 10/2564 และ คณะกรรมการป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จังหวัดอำนาจเจริญมอบหมาย เพื่อเตรียมความพร้อมในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินกรณีการแพร่ระบาดของโรคติด เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และทบทวนแนวทางการดำเนินงานตอบโต้ภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพได้ อย่างทันท่วงที พร้อมทั้งสามารถใช้พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ.2558 ได้อย่างถูกต้องและเกิดประโยชน์สูงสุด กับประชาชนในพื้นที่

โดยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของจังหวัดอำนาจเจริญ ข้อมูล ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 มี ผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น 18 ราย เป็นผู้ติดเชื้อที่มาจากพื้นที่เสี่ยง 18 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 241 ราย กำลังรักษา 174 ราย รักษาหายแล้ว 63 ราย เสียชีวิตสะสม 4 ราย ในการประชุมกองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จังหวัดอำนาจเจริญ ที่ประชุมได้มีคำสั่งแต่งตั้งชุดปฏิบัติการสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 และพิจารณาทบทวนแผนเผชิญเหตุโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) 

โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง/อำเภอ จัดเตรียมสถานที่กักตัว Local Quarantine เป็น 3 ระดับ ได้แก่ ระดับ ตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด โดยนโยบายของจังหวัดให้ถือว่าบุคคลที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยงทั้งหมด จะต้องถูกกักตัวในสถานที่ที่จัดเตรียมไว้ให้ การจัดตั้งทีมประเมินสถานการณ์ในหน่วยงาน/สถานที่/โรงงานต่างๆ การตั้งด่านตรวจการเดินทางของประชาชนที่เข้ามาในพื้นที่ การจัดตั้งชุดเคลื่อนที่เร็วสำหรับประชาชนที่ฝ่าฝืนการ ปฏิบัติตามประกาศของจังหวัด และคำสั่งแต่งตั้งหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ เป็นหัวหน้าทีม ออกไปเยี่ยมเยียนและ ให้กำลังใจแก่ชุดปฏิบัติงานในพื้นที่เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้วย สำหรับการประชุม คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดอำนาจเจริญ ครั้งที่ 10/2564 ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องสถานการณ์โรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) ผลการฉีดวัคซีน และพิจารณาทบทวนประกาศจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่อง มาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เพิ่มเติม (ฉบับที่ 13) 

โดยที่ ประชุมได้มีมติแก้ไขประกาศ ข้อ 2 ห้ามดำเนินการหรือจัดกิจกรรมที่เสี่ยงต่อการแพร่โรค (1) ห้ามการจัดกิจกรรม ซึ่งมีการรวมกลุ่มของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 200 คน แก้ไขเป็น ห้ามการจัดกิจกรรมซึ่งมีการรวมกลุ่ม ของบุคคลที่มีจำนวนรวมกันมากกว่า 50 คน นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้พิจารณาขยายเวลาประกาศจังหวัด อำนาจเจริญ เรื่องมาตรการเข้มงวดสำหรับแรงงานในสถานที่ก่อสร้าง โรงงาน ตลาด และแหล่งชุมชน ในเขตพื้นที่ ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด และพื้นที่ควบคุมสูงสุดที่จะเดินทางเข้ามาในจังหวัดอำนาจเจริญ ไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2564 และรับทราบประกาศจังหวัดอำนาจเจริญ เรื่องมาตรการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษา โดยมีคำสั่งให้ปิดโรงเรียนหรือสถานศึกษาในระดับมัธยมศึกษา อนุบาล และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่งทุกสังกัด ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 12-25 กรกฎาคม 2564 ในส่วนของเรื่องอื่นๆ ที่ประชุมได้มอบหมายให้องค์การบริหารส่วน จังหวัดอำนาจเจริญ จัดชุดถุงยังชีพเพื่อมอบให้กับประชาชนที่ต้องกักตัวเป็นรายครอบครัว และมอบหมายให้ อำเภอจัดชุดถุงยังชีพมอบให้ประชาชนที่ต้องกักตัวเป็นรายบุคคลหลังจากนั้นได้มีการประชุมคณะกรรมการป้องกันหรือยับยั้งภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน กรณีโรคระบาดจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19) เพื่อพิจารณาเป็นสถานที่แยกกักหรือกักกันสำหรับผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยวาเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) โดยให้เทศบาลตำบลหัวตะพาน ....... สนับสนนุในการปรับปรุงอาคารสถานที่ให้เป็นไปตาม มาตรการทางสาธารณสุข และเบิกจ่ายงบประมาณในสวนที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ นั้น

ภายใต้บังคับแหงกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำเพื่อป้องกันและระงับโรคติดต่อ ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยในเขตท้องถิ่นของตนซึ่งสถานการณ์โรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จัดว่าเป็นสาธารณภัยตามพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2550 และตามภารกิจอำนาจหน้าที่ที่กระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนตามพระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2542 ได้กำหนดให้องค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่

 - พระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 50 (4) พรบ.อบต.มาตรา 67(3) ภาย ใต้บังคับ แห่งกฎหมายองค์การบริหารส่วนตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล ดังต่อไปนี้

(3) ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ

(4) ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- พระราชบัญญัติกำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 มาตรา 16 “ให้เทศบาลเมืองพัทยาและองค์การบริหารส่วนตำบลมีอำนาจและหน้าที่ในการจัดระบบบริการสาธารณะเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นของตนเอง ดังนี้

(19) การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล

(29) การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

- ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณฉุกเฉินดังกล่าว ออกเป็นระยะ

- มีหนังสืออำเภอหรือจังหวัด เรื่อง จัดตั้งสถานที่กักกัน (Local Quarantine) ระดับอำเภอ ซึ่งได้ มอบหมายให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งในเขตพื้นที่ร่วมดำเนินการกับอำเภอในการจัดให้มี

 

3. วัตถุประสงค์

3.1 เพื่อสนับสนุนการดำเนินการจัดให้มีสถานที่สำหรับแยกกัก หรือกักกัน สำหรับผู้ที่เป็น ควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ใช้เป็นสถานที่กักกันสังเกตอาการประชาชนผู้ที่มี เหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

3.2 เพื่อจัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวก อาหารและน้ําดื่มสำหรับบุคคลผู้ที่มีเหตุอันควร สงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และถูกกักตัวในสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน สำหรับผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) เพื่อสังเกตอาการ

3.3 เพื่อจัดให้มีเวชภัณฑ์ วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นใช้ในการควบคุมโรคติดต่อให้กับสถานที่กักกันสังเกต อาการประชาชนผู้ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

 

4. เป้าหมาย

มีสถานที่รองรับประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลหัวตะพาน ที่มีเหตุอันสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่จะต้องเข้าสถานที่สถานที่สำหรับแยกกัก หรือกักกัน สำหรับผู้ที่เป็น ผู้ต้องสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) (Local Quarantine) เพื่อเฝ้าสังเกตอาการตาม มาตรการของจังหวัดอำนาจเจริญ

 

5. วิธีการดำเนินการ

5.1 จัดทำโครงการเสนอขออนุมัติจากผู้บริหารฯ

5.2 สรุปผลการดำเนินการและรายงานผลต่อผู้บริหารฯ

 

6. ระยะเวลาในการดำเนินการ

ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2564 – จนถึงเมื่อสถานการณ์ หรือควบคุมได้ตามประกาศของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19(ศคบ.) หรือประกาศจังหวัดอำนาจเจริญ

 

7. สถานที่ดำเนินการ

สถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine)

 

8. หน่วยงาน/ผู้รับผิดชอบโครงการ

กองสาธารณสุข เทศบาลตำบลหัวตะพาน

 

9. งบประมาณ

งบประมาณจากข้อบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 แผนงานงบกลาง งาน งบกลาง ประเภทสำรองจ่าย โดยถือปฏิบัติเบิกจ่ายตามหนังสือด่วนที่สุด ที่ มท 0808.2/ว 4044 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2563 มีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

 

9.1 อาหารและน้ำดื่มสำหรับผู้ถูกกันในสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine) (เบิกจ่ายตามความเป็นจริง)

9.2 วัสดุอุปกรณ์สำหรับบุคคลผู้ถูกแยกกักในสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine) 

9.3 ค่าปรับปรุงสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine)

 

10. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10.1 มีสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine) สำหรับเพื่อใช้เป็นสถานที่กักกันสังเกต อาการประชาชนผู้ที่ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)

10.2 มีสิ่งอำนวยความสะดวก อาหารและน้ำดื่มให้กับประชาชนผู้เข้ารับการกักตัวในสถานที่สำหรับแยกกักหรือกักกัน (Local Quarantine)

 

11. ผู้เสนอโครงการ

หมายเลขบันทึก: 691693เขียนเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021 00:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท