ตัวอย่างโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ (Community Isolation)


ตัวอย่างโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ (Community Isolation)

27 กรกฎาคม 2564

-ตัวอย่าง- โครงการศูนย์พักคอย (Community Isolation)

โครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ เทศบาล/อบต. …...........................

เรื่อง​ขอเสนอโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ...............................

เรียน​ประธานกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ………………………………

 

​ด้วย เทศบาล/อบต. … มีความประสงค์จะจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม จัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ โดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ............................. เป็นเงิน xxxxxxบาท โดยมีรายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

 

ส่วนที่ 1 : รายละเอียดแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (สำหรับผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม)

 

ชื่อโครงการ “จัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ”

 

หลักการและเหตุผล

 

​​สถานการณ์ภายในประเทศ : การแพร่ระบาดของการติดเชื้อโควิด-19 ภายในประเทศไทยพบจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ 11,397 ผู้ป่วยยืนยันสะสมจำนวนรวม 374,523 ราย หายป่วยสะสม 256,484 ราย และเสียชีวิตสะสม 3,247 ราย ข้อมูล ณ วันที่ 18 กรกฎาคม 2564 การระบาดระลอกใหม่นี้มีรายงานผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมาก และพบผู้ป่วยในหลายพื้นที่ ตลอดจนมีรายงานการติดต่อระหว่างคนสู่คนภายในประเทศ จึงเป็นเหตุผลสำคัญให้ทางองค์การอนามัยโลกได้ประกาศเป็นภาวะฉุกเฉินระดับโลก จากสถานการณ์การระบาดรอบใหม่ของประเทศไทย ทำให้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประกาศยกระดับตามที่ได้มีประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ.2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินดังกล่าวออกไปอย่างต่อเนื่องเป็นระยะนั้นโดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโควิด - 19 ที่มีการกลายพันธุ์เป็นหลายสายพันธุ์ยังคงทวีความรุนแรงมากขึ้นอย่างต่อเนื่องจนเสี่ยงที่จะเกิดภาวะวิกฤติด้านสำธารณสุข โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล เมื่อได้มีการประเมินสถานการณ์ภายหลังการมีผลใช้บังคับของข้อกำหนด (ฉบับที่ 27) ลงวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ.2564 ปรากฏว่ายังไม่อาจชะลออัตราการเพิ่มของจำนวนผู้ติดเชื้อและจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอาการโดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง และกลุ่มผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจในกรุงเทพมหานคร ปริมณฑล และภูมิภาคหลายจังหวัดที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและมีแนวโน้มต่อเนื่อง

 

ดังนั้น เพื่อเฝ้าระวังป้องกันควบคุมโรคดังกล่าว ไม่ให้ขยายวงระบาดสู่ชุมชน เทศบาล/อบต. ... ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้ว่าราชการจังหวัดหรือผู้ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดมอบหมาย ให้ดำเนินการ จึงจัดทำโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อได้มีที่พักอาศัยระหว่างรอเตียงว่างลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชน

 

1. วัตถุประสงค์

​1.1 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในชุมชนได้อย่างเป็นระบบ

​1.2 เพื่อให้ประชาชนใกล้เคียงศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขได้ถูกต้อง

​1.3 เพื่อให้ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการคัดแยกอาการและรักษาดูแลตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขในการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19

1.4 เพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ได้มีทรัพยากร งบประมาณเพียงพอต่อการสนับสนุนการดำเนินงานเฝ้าระวังสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้อย่างเป็นระบบ 

 

2. วิธีดำเนินการ

1. ขั้นตอนวางแผนงาน

1.1 ประชุมวางแผนกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ จำนวนกลุ่มเป้าหมายเนื้อหาและรูปแบบวิธีการดำเนินงานโครงการ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

1.2 อปท.ออกคำสั่งแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคปฏิบัติงานตามแผนงานโครงการ

1.3 ติดต่อประสานงานหน่วยงาน/ผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันดำเนินงาน

2. จัดทำโครงการเสนอต่อประธานกรรมการบริหารกองทุนฯหรือคณะกรรมการกองทุนฯหลักประกันสุขภาพ ........ แล้วแต่วงเงิน เพื่ออนุมัติงบประมาณในการจัดทำโครงการฯ

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน

​3.1 รณรงค์ ประชาสัมพันธ์ เรื่องการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ประชาชนรับรู้ข้อมูล เข้าใจสถานการณ์ผ่านช่องทางต่างๆโดยเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน

​3.2 จัดหาและเตรียมสถานที่เพื่อปรับปรุงสภาพแวดล้อมเป็นศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ (กรณีCommunity Isolation) หรือปรับปรุงบ้านของผู้ติดเชื้อให้เหมาะสม(โดยประหยัด ตามสภาพเศรษฐานะของประชาชน กรณี Home Isolation)

​3.3 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ในการดูแลและรักษาประชาชนผู้ติดเชื้อระหว่างรอเตียงเพื่อส่งต่อ รพ. ตามมาตรฐาน หลักวิชาการ ไม่ซ้ำซ้อนกับที่หน่วยงานรัฐจัดงบประมาณให้

​3.4 ติดตามสถานการณ์ เฝ้าระวังสถานการณ์ และแจ้งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบเป็นระยะ

​3.5 สรุปผลการดำเนินงาน และรายงานให้คณะกรรมการกองทุนฯ ทราบเมื่อสิ้นสุดโครงการ

 

3.กลุ่มเป้าหมาย

​3.1 ประชาชนผู้ติดเชื้อ โดยประมาณ  จำนวน...................คน

​3.2 เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคและเจ้าที่หน้าที่เกี่ยวข้องในการดำเนินงาน จำนวน  ...................คน

 

4. ระยะเวลาดำเนินการ

​เดือน...............เดือน.....กันยายน...2564

 

5. สถานที่ดำเนินการ

​สถานที่ระบุชื่อหรือจุดสำคัญที่ใกล้เคียง เช่น อาคาร อาคารอเนกประสงค์การเคหะ ในพื้นที่ ........................

 

6. งบประมาณ ค่าใช้จ่ายประมาณการตามกลุ่มเป้าหมาย หากสิ้นสุดโครงการมีเงินเหลือส่งคืน กปท.

งบประมาณโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ..................................... ค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการจัดระบบศูนย์พักคอยรอเตียงใกล้บ้านใกล้ใจ ในพื้นที่.... อปท.............อำเภอ..........จังหวัด................ เป็นเงิน................... บาท (.........................) โดยมีรายละเอียดค่าใช้จ่ายดังนี้

1.เต็นท์ปฏิบัติงานและที่พัก (กรณีที่ไม่มีอาคาร หรือสถานที่ที่เหมาะสม เน้นเช่า)

เต็นท์ปฏิบัติการมีพื้นที่สำหรับสวม–ถอดชุดเครื่องป้องกันส่วนบุคคล ก่อนและลงพื้นที่ในการดูแลผู้ป่วย

เต็นท์ที่พักเจ้าหน้าที่

เต็นท์ หรือพื้นที่สำหรับจัดวางอาหาร

2. อุปกรณ์สำนักงาน

เครื่องใช้อุปกรณ์สำนักงาน เช่น ปากกา กระดาษ กรรไกร แม็กซ์พร้อมลวดเย็บ แฟ้มเป็นต้น

3. อุปกรณ์สื่อสาร (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)

วิทยุสื่อสารแบบตั้งเครือข่ายสถานี

วิทยุสื่อสาร แบบ Mobile, Walky-talky

ระบบ Tele-medicine

ระบบสัญญาณ Internet และเครือข่าย

โทรโข่ง

4. เครื่องมือแพทย์ สำหรับหนุนเสริมกรณี รพ.แม่ข่ายยังไม่สามารถจัดหามาดำเนินการในศูนย์ได้

เครื่องวัดความดันโลหิต (ผู้ป่วย /เจ้าหน้าที่)

เครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายแบบสแกนหน้าผากพร้อมขาตั้ง

ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลสำหรับผู้ป่วย

เครื่องวัดความอิ่มตัวของออกซิเจนในกระแสเลือด (Pulse Oximeter)

5. อาหาร น้ำ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้อง สำหรับ จนท.บุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ชุด PPE

หน้ากากอนามัย N95

ถุงหุ้มขา (leg cover))

ชุดเปลี่ยนเข้าปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง

Alcohol ล้างมือ / alcohol gel

ถุงมือยางการแพทย์​​​​​​​

หน้ากากอนามัยทางการแพทย์​​​​​​​

หมวกคลุมผมตัวหนอน​​​​​​​

หน้ากากใสป้องกันละอองเชื้อโรค (Face shield)

แอลกอฮอล์​​​​​​

เจลแอลกอฮอล์​​​​​​

น้ำยาฆ่าเชื้อโรค

ค่าน้ำดื่มและอาหารสำหรับเจ้าหน้าที่

6. อุปกรณ์ความปลอดภัย

กล้องวงจรปิดพร้อมติดตั้ง (CCTV) (พิจารณาตามความจำเป็น ประหยัด คุ้มค่า)

เทปกั้นพื้นที่ หรืออุปกรณ์แสดงขอบเขตพื้นที่

ค่าจ้างเหมาบุคคลรักษาความปลอดภัย

7. อุปกรณ์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เตียงนอนผู้ป่วย (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)

ที่นอนผู้ป่วย

ผ้าห่มผู้ป่วย

พัดลมตั้งโต๊ะ (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)

ตู้ข้างเตียงสำหรับเก็บของส่วนตัวผู้ป่วย (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)

หมอนผู้ป่วยหุ้มหนังเทียม

ปลอกหมอนผู้ป่วย

มุ้งครอบกันยุง (ตามความจำเป็นและเหมาะสม)

อาหาร-น้ำดื่ม (จะต้องไม่เบิกซ้ำกับ รพ.หรือหน่วยงานอื่น)

หน้ากากอนามัยสำหรับผู้ป่วย

อุปกรณ์ และของใช้ประจำวันพื้นฐานสำหรับผู้ป่วย (ที่ผู้ป่วยเตรียมไว้ไม่เพียงพอ) อาทิ ผ้าอนามัย ชุดชั้นใน ผงซักฟอก เป็นต้น(ประมาณการตามความจำเป็น ประหยัด คุ้มค่า)

ถุงขยะสีแดง / ถุงดำ​​​​​​​​

8. ค่ากำจัดขยะติดเชื้อ

จ้างเหมา หรือตามบทบาทหน้าที่ของท้องถิ่น ตามหลักวิชาการ

9. ค่าใช้จ่ายในการจัดประชุมเตรียมการ

ตามระเบียบประชุม ฝึกอบรม

10. ค่าใช้จ่ายในการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจประชาชนในพื้นที่

ป้ายไวนิล

ค่าประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย หรือช่องทางอื่นๆในชุมชน ตามระเบียบ อปท.

11. ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานที่ใน Community Isolation (CI) Home Isolation (HI)

ใช้จากเงิน อปท. ตามหนังสือแจ้งเวียนก่อน หรือหนุนเสริมจาก กปท.ตามความจำเป็น โดยมิใช่สิ่งก่อสร้างถาวร

รวมทั้งหมด ...... บาท

หมายเหตุ ค่าใช้จ่ายสามารถถัวเฉลี่ยกันได้ทุกรายการ ยึดหลักไม่ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่รัฐจัดให้โดยตรง

 

7. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

7.1 เกิดการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลให้ไม่มีการระบาดในพื้นที่

​7.2 ประชาชนในพื้นที่มีการความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการป้องกันโรคและสามารถปฏิบัติตามมาตรการได้

7.3 มีการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่

7.4 ประชาชนผู้ติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาและคัดแยกอย่างถูกต้องเหมาะสมตามแนวทางปฏิบัติด้านสาธารณสุขเพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดและติดเชื้อโควิด-19 ในพื้นที่

7.5 เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานด้านป้องกันและควบคุมโรคโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) อย่างมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัย

 

8. สรุปแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

(ผู้เสนอฯ ลงรายละเอียดเพื่อให้เจ้าหน้าที่ อปท. บันทึกข้อมูลลงโปรแกรมกองทุนฯ เมื่อได้รับอนุมัติแล้ว 

โดยสามารถลงรายการได้มากกว่า 1 รายการ สำหรับใช้ในการจำแนกประเภทเท่านั้น)

8.1 หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชนที่รับผิดชอบโครงการ/กิจกรรม (ตามประกาศฯ พ.ศ.2561 ข้อ 10)

​ชื่อ(หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน) .............

​1. หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. [ข้อ 10(1)]

2. หน่วยงานสาธารณสุข เช่น อปท. [ข้อ 10(1)]

​3. หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของรัฐ เช่น สสอ. [ข้อ 10(1)]

​4. หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน [ข้อ 10(2)]

​5. องค์กรหรือกลุ่มประชาชน [ข้อ 10(2)]

​6. ศูนย์ฯ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์ฯ [ข้อ 10(3)]

​7. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) [ข้อ 10(4)]

 

8.2​ ประเภทการสนับสนุน(ตามประกาศฯ พ.ศ.2561 ข้อ 10)

​1. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ สถานบริการ หรือหน่วยงาน​​​ สาธารณสุข [ข้อ 10(1)]

​2. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคขององค์กร​​​ หรือกลุ่มประชาชน [ข้อ 10(2)]

​3. สนับสนุนและส่งเสริมการจัดบริการสาธารณสุขของศูนย์ฯ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบศูนย์ฯ (เด็กเล็ก/​​​ ผู้สูงอายุ/คนพิการ) [ข้อ 10(3)]

​4. สนับสนุนการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ[ข้อ 10(4)]

​5. สนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติ [ข้อ 10(5)]

 

8.3​ กลุ่มเป้าหมายหลัก

​1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดจำนวนคน

​2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียนจำนวนคน

​3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชนจำนวนคน

​4. กลุ่มวัยทำงานจำนวนคน

​5. กลุ่มผู้สูงอายุจำนวนคน

​6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังจำนวนคน

​7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพจำนวนคน

8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยงจำนวนคน

​9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

10. กลุ่มอื่นๆ (ระบุ)จำนวนคน 

 

ระเบียบ หนังสือสั่งการ ที่เกี่ยวข้อง

หน่วยงานท้องถิ่น สามารถดำเนินการในเรื่องโควิด-19 และเบิกจ่ายจากระเบียบฯ หนังสือสั่งการ อ้างอิง ดังนี้

1) การใช้รถยนต์ราชการ เบิกค่าน้ำมันเชื้อเพลิงได้ในงบประมาณปกติ

1.1 สำหรับช่วยเหลือนำผู้ป่วยในพื้นที่โรคระบาด กลับบ้านเรา เข้ามายังพื้นที่ อปท. สามารถดำเนินการได้ 

1.2 สามารถนำรถยนต์ส่วนกลางของหน่วยงาน อปท. รับส่งผู้ป่วยในพื้นที่ไปโรงพยาบาลเพื่อรักษาตัวได้

1.3 สามารถนำรถยนต์ส่วนกลางของหน่วยงาน อปท. รับส่งผู้ป่วยไปยังสถานที่กักกันได้

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 1552 ลว. 16 มี.ค.63 ข้อ 1 ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการใช้และรักษารถยนต์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2548

 

2) การดำรงชีพของกลุ่มเสี่ยงที่ต้องกักตัวเฝ้าระวังและสังเกตการณ์ และผู้ที่อยู่สถานที่กักตัวรวม ไม่จำเป็นต้องเป็นพื้นที่ประกาศภัยพิบัติ กรณีเพื่อการดำรงชีพ อปท.สามารถเข้าช่วยเหลือได้เลย

2.1 ค่าอาหารสามารถเบิกได้ 50 บาทต่อมื้อต่อคน ไม่เกิน 3 มื้อ เบิกจ่ายจากงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 4044 ลว. 29 ธ.ค.63 ข้อ 1 

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 1727 ลว. 21 มี.ค.63 ข้อ 5 ช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นเพื่อการดำรงชีพ ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 6 และ ข้อ 16(1) ช่วยเหลือประชาชนตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 ช่วยเหลือด้านการดำรงชีพ

2.2 ค่าถุงยังชีพไม่เกิน 700 บาทต่อครอบครัว เบิกจ่ายจากงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย

2.3 ค่าน้ำดื่มในการบริโภคเท่าที่จ่ายจริง เบิกจ่ายจากงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 1727 ลว. 21 มี.ค.63  ข้อ 5 ช่วยเหลือประชาชนในเบื้องต้นเพื่อการดำรงชีพ ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 6 และ ข้อ 16(1) ช่วยเหลือประชาชนตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 ช่วยเหลือด้านการดำรงชีพ

 

3) ค่าใช้จ่ายด้านสถานที่

3.1 ใช้สถานที่ราชการ ปรับปรุงสถานที่ราชการเพื่อจัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ เบิกได้เฉพาะค่าวัสดุ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 17 ให้จ่ายจากเงินในข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ในหมวดค่าวัสดุ เบิกได้เท่าที่จ่ายจริง

3.2 เข่าสถานที่เอกชน จัดตั้งเป็นโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 14 จ่ายจากเงินในข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ในหมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ ค่าเช่าทรัพย์สิน เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง

3.3 ค่าใช้จ่ายทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่และที่อยู่อาศัยของประชาชนที่กักตัว จะดำเนินการเองก็ได้หรือจ้างเอกชนก็ได้ ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 11 ประกอบกับหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 4044 ลว. 29 ธ.ค.63 ข้อ 2 จ่ายจากเงินในข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ในหมวดค่าใช้สอย ประเภทรายจ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการ เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง

3.4 ค่าใช้จ่ายสาธารณูปโภคในโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าน้ำ ค่าโทรศัพท์ ค่าบริการสื่อสารและคมนาคม ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ข้อ 18 จ่ายจากเงินในข้อบัญญัติ เทศบัญญัติ ในหมวดค่าสาธารณูปโภค เบิกจ่ายเท่าที่จ่ายจริง

3.5 ค่าอาหารสำหรับผู้ป่วยในโรงพยาบาลสนามระดับพื้นที่ สามารถเบิกได้ 50 บาทต่อมื้อต่อคน ไม่เกิน 3 มื้อ เบิกตามอัตรา ว 1992 ลว. 1 เม.ย.63

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 2343 ลว. 22 เม.ย.64 ประกอบระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามหัวข้อที่เลือกใช้ 

 

4) ยา เวชภัณฑ์ และวัสดุที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ (หน้ากากอนามัย เจลล้างมือ และการซื้อวัคซีน)  เบิกจ่ายจากงบกลาง ประเภทเงินสำรองจ่าย

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 15(1) 

 

5) กรณีช่วยเหลือประชาชน ด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต ไม่จำเป็นต้องอยู่กลุ่มเสี่ยง เป็นผู้ยากไร้  หรือเดือดร้อนช่วยได้หมด ถ้าเค้ายื่นขอให้ อปท.ช่วยเพราะไม่มีกิน ไม่มีใช้

ช่วยเหลือด้านการเงินหรือเป็นสิ่งของ วงเงินช่วยเหลือครั้งหนึ่งไม่เกิน 3,000 บาทต่อครอบครัว และช่วยเหลือติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้งต่อปีงบประมาณ สำหรับค่าเครื่องอุปโภคหรือบริโภคและหรือค่าใช้จ่ายในการครองชีพตามความจำเป็น โดยช่วยเหลือเป็นครอบครัวมิใช่รายบุคคลระเบียบกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการฯ ไม่ได้จำกัดว่าครอบครัวหนึ่งต้องมีกี่คน

วิธีการช่วยเหลือ ให้ประชาชนที่ประสงค์จะขอรับความช่วยเหลือยื่นลงทะเบียนเพื่อขอรับความช่วยเหลือต่อองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ ข้อ 9 ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560

สามารถจ่ายเป็นเงินสด โดยให้ผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานดังกล่าวขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยืมเงินไปจ่ายกับผู้มีสิทธิได้รับเงินตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 ข้อ 84 หรือจะโอนจ่ายผ่านธนาคาร ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการรับเงิน การเบิกจ่ายเงิน พ.ศ.2547 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 4 ข้อ 68 ประกอบกับหนังสือกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น ที่ มท 0808.4 / ว 1088  ลงวันที่ 8 มิถุนายน 2548 เรื่องการจ่ายเงินโดยวิธีผ่านธนาคารขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 

 

หมายเหตุ หากมีความจำเป็นที่จะช่วยเหลือประชาขนจำนวนเงินมากกว่าและนอกเหนือหลักเกณฑ์ตามระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ได้โดยต้องขอความเห็นชอบต่อผู้ว่าราชการจังหวัด

หนังสือกรมส่งเสริมฯ 7770 ลว. 20 พ.ค.63 ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 16(2) 

 

6) ช่วยเหลือด้านอาชีพ

-กรณีประชาชนกลับมาจาก กทม. เกิดการว่างงาน ให้ อปท.แจ้งให้ประชาชนที่มีความประสงค์จะทำงานในพื้นที่มาขึ้นทะเบียนกับ อปท. และขอความร่วมมือกับผู้รับจ้างให้จ้างแรงงานสำหรับโครงการที่สามารถใช้แรงงานในพื้นที่ได้ หรือ อปท มีความจำเป็นต้องจ้างแรงงานเพื่อช่วยเสริมการปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ตามปกติของ อปท. ตามหนังสือ ว 7120 ลว. 9 ธ.ค.59 เรื้อง หลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเงินค่าจ้างเหมาบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 4044  ลว. 29 ธ.ค.63 ข้อ 4 

 

7) ด้านสวัสดิการของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน

7.1 มีคำสั่งให้ อปพร. ช่วยทำงาน ค้นหา ติดตาม และคัดกรอง รวมทั้งเฝ้าระวังบุคคลเข้าออกหมู่บ้าน / ชุมชน สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายเป็นค่าป่วยการชดเชยการทำงานหรือเวลาที่เสียไปเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติหน้าที่ (อปพร.) ได้ อัตราเบิกจ่ายตาม ว 179  ลว. 29 ม.ค.64 ดังนี้

7.1.1 ปฏิบัติหน้าที่ไม่เกิน 4 ชั่วโมง ให้รับ 100 บาท

7.1.2 ปฏิบัติหน้าที่เกิน 4 ชั่วโมง แต่ไม่เกิน 8 ชั่วโมง ให้รับ 200 บาท

7.1.3 ปฏิบัติหน้าที่เกิน 8 ชั่วโมงขึ้นไป ให้รับ 300 บาท

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 4044 ลว. 29 ธ.ค.63 ข้อ 3 ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายให้แก่อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ประกอบกับระเบียบคณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติว่าด้วยค่าใช้จ่ายของอาสาสมัครในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ.2560

 

7.2 มีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ของ อปท.ปฏิบัติหน้าที่ในโรงพยาบาลสนามระดับ พื้นที่ 

7.2.1 เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ระเบียบฯ ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม อัตราเบี้ยเลี้ยง 240 บาท หรือ 270 บาท (อยู่ที่ระดับตำแหน่ง)

7.2.2  ค่าอาหารสามารถเบิกได้ 50 บาทต่อมื้อต่อคน ไม่เกิน 3 มื้อ กรณีเบิกค่าอาหารแล้ว ไม่มีสิทธิเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง เบิกตามอัตรา ว 1992 ลว. 1 เม.ย.63

 

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 2343 ลว. 22 เม.ย.64 ประกอบกับระเบียบฯ คชจ.เดินทางไปราชการ หรือ ว 1992

7.3 มีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ หรือเจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. เจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมาย ไปตรวจเยี่ยมเฝ้าระวังและสังเกตอาการผู้ถูกกักกัน ให้เบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการได้ ระเบียบฯ ค่าใช้จ่ายเดินทางไปราชการของเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น พ.ศ.2555 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หรือจัดอาหารให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มาช่วยเหลืองาน 50 บาทต่อมื้อต่อคน ไม่เกิน 3 มื้อ

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 1552 ลว. 16 มี.ค.63 ข้อ 2 ประกอบกับระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยค่าใช้จ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนตามอำนาจหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ.ศ.2560 ข้อ 16(1) ใช้หลักเกณฑ์ช่วยเหลือประชาชนตามหลักเกณฑ์การใช้จ่ายเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2563 ช่วยเหลือด้านการปฏิบัติงานให้ความช่วยเหลือประชาชน ข้อ 5.6.6

 

8) ด้านวัสดุ ครุภัณฑ์สำหรับผู้ปฏิบัติงาน ตั้งงบประมาณจำแนกงบประมาณรายจ่าย ตามการจำแนกงบประมาณ ไม่พอจ่ายขาดเงินสะสมได้

8.1 จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ สำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ

8.2 จัดหาครุภัณฑ์ สำหรับการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคติดต่อ กรณีไม่มีในมาตรฐานครุภัณฑ์หรือราคาเกินมาตรฐานครุภัณฑ์ และจำเป็นต้องใช้พัสดุ ให้ทำการเปรียบเทียบสืบราคา 3 ราย และเลือกรายที่ให้ราคาต่ำสุด หากมีน้อยกว่า 3 ราย ก็สืบราคาเปรียบรายเท่าที่มี

อ้างหนังสือกระทรวงมหาดไทย ว 1727 ลว. 27 มี.ค.63

 

9) หนังสือซักซ้อมแนวทางการดำเนินการและการใช้จ่ายงบประมาณในการดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด 19) ที่ มท.0808.2 /ว4116 ลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2564

 

10) แนวทางปฏิบัติสำหรับบุคลากรทางการแพทย์  Home Isolation กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ฉบับวันที่ 1 กรกฎาคม 2564

 

​​​ลงชื่อ    …….            ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม                                                   

(   …....                     )

ตำแหน่ง นายก อบต./เทศบาล ...........................

วันที่-เดือน-พ.ศ.………

 

@nongnuch yenjai

หมายเลขบันทึก: 691692เขียนเมื่อ 27 กรกฎาคม 2021 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 กรกฎาคม 2021 17:10 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท