หอการค้านครปฐม เสนอ ททท. ฟื้น ตลาดเก่างิ้วราย ย่านค้าขายทางน้ำสมัย ร.4


หอการค้านครปฐม เสนอ ททท. ฟื้น ตลาดเก่างิ้วราย ย่านค้าขายทางน้ำสมัย ร.4

ที่มา : ข่าวสดออนไลน์. https://www.khaosod.co.th/lifestyle/travel/news_5420508

28 พ.ย. 2563

หอการค้านครปฐม ชมรมคนรักงิ้วราย โดยนายชยพล กนกพฤกษ์ ประธานชมรมชาวงิ้วราย เตรียมเสนอ ททท. ฟื้น “ตลาดเก่างิ้วราย” ย่านค้าขายทางน้ำสมัย รัชกาลที่ 4 เป็นตลาดประวัติศาสตร์ ถนนคนเดินย่านงิ้วราย ริมแม่น้ำนครชัยศรี

นายวิธิวัสส์​ เลิศสิริสรณ์ รองประธานหอการค้าจังหวัดนครปฐม นางกิตติยา เดชานุมาศกำพล คณะกรรมการหอการค้าภาคกลาง และคณะกรรมการหอการค้าฯ พร้อมด้วยสมาคมการค้าอาหารจังหวัดกาญจนบุรี และคณะทำงานชุมชนห้วยกระบอก ต.กรับใหญ่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี ได้เดินทางมาสำรวจการท่องเที่ยวชุมชนบ้านงิ้วราย ต.ศาลายา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐมมีทั้งการเที่ยวชมทางเรือ ศึกษาประวัติศาสตร์ริมน้ำนครชัยศรี ระยะทาง 5 กม.จากท่าเรือ อบต.งิ้วราย รวมใช้เวลา 2 ชม. และการท่องเที่ยวภายในชุมชนอาทิ บ้านโรงหวด พิพิทภัณฑ์รถเก่า เจษฎา มิวเซียม และตลาดเก่างิ้วรายในการสำรวจชุมชนงิ้วรายในครั้งนี้ ได้รับการต้อนรับจากชมรมคนรักงิ้วราย โดยมีนายชยพล กนกพฤกษ์ ประธานชมรมคนรักงิ้วราย ที่ปรึกษาชมรมฯ อาทิ นายทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ และนายปัญญา ธรรมวิทย์ ภายหลังจากการสำรวจท่องเที่ยวชุมชนแล้วได้มีการประชุมร่วมกัน โดยมีผู้แทนของชุมชนบ้านงิ้วรายและตลาดเก่างิ้วราย เข้าร่วมประชุมเพื่อหารือแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวชุมชนบ้านงิ้วราย ต.ศาลายา อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม

ชุมชนงิ้วรายแห่งนี้มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่รัชสมัยรัชกาลที่ 4 เป็นชุมชนการค้าขายเก่าของชาวจีน เป็นท่าเรือขนถ่ายสินค้าที่สำคัญ เป็นที่ทำการธุรกิจขนส่งสินค้าและโดยสารทางแม่น้ำ ระหว่างท่าเรืองิ้วราย-ท่าเรือสุพรรณบุรี (เส้นทางผ่านพอสังเขป) จากท่าเรืองิ้วราย ห้วยพลู บางพระ บางปลา บางเลน บางแม่หม้าย บางซอ ปลายทางท่าเรือสุพรรณบุรีโดยรับช่วงสินค้าและผู้โดยสารจากรถไฟ ณ สถานีรถไฟวัดงิ้วราย (สายใต้) ระยะทางจากสถานีถึงท่าเรือประมาณ 150 เมตรเป็นตลาดห้องแถวตลอดสองข้างทาง ปัจจุบัญยังคงมีการอนุรักษ์และคงไว้ถึงการดำรงชีวิตชุมชนเดิมนายชยพล กนกพฤกษ์ ประชานชมรมฯ กล่าวว่าด้วยศักยภาพของชุมชนงิ้วรายซึกประกอบด้วยชุมชน วัด และโรงเรียน มีความประสงค์ที่จะผลักดันให้เกิดท่องเที่ยวภายในชุมชนบ้านงิ้วราย ซึ่งมีพื้นที่เหมาะสมในการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทั้งทางบก ทางน้ำและทางรถไฟ อีกทั้งยังมีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มากมายในแต่ละจุดของการท่องเที่ยวในชุมชน

หมายเลขบันทึก: 691783เขียนเมื่อ 3 สิงหาคม 2021 15:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 สิงหาคม 2021 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท