คุณค่าของการเรียนคณิตศาสตร์ต่อการพัฒนาสมอง


 

ผลงานวิจัยตามข่าว (๑)    บอกเราว่า การเรียนคณิตศาสตร์มีผลกระตุ้นสารเคมีที่ทำหน้าที่สื่อประสาทในสมองที่ส่งผลต่อ brain plasticity    สารเคมีนี้ชื่อ gamma-aminobutyric acid (GABA)     นักวิจัยวัดระดับสารเคมีนี้ในสมองส่วนที่ชื่อว่า MFG – middle frontal gyrus  แล้วบอกได้ว่านักเรียนคนไหนเรียนคณิตศาสตร์ คนไหนไม่ได้เรียน   

ระบบการศึกษาของประเทศอังกฤษ เปิดช่องให้นักเรียนอายุเกิน ๑๖ ปี (เท่ากับชั้น ม. ปลายในบ้านเรา) เลือกได้ว่าจะเรียนคณิตศาสตร์หรือไม่    เขาจึงอยากรู้ว่าการเรียนหรือไม่เรียนคณิตศาสตร์ในนักเรียนชั้น ม. ปลาย ส่งผลดีหรือผลเสียต่อนักเรียนอย่างไรบ้าง 

งานวิจัยนี้มาจากมหาวิทยาลัย อ็อกซฟอร์ด    และลงพิมพ์ใน PNAS – Proceedings of the National Academy of Sciences ของสหรัฐอเมริกา (๒)    เป็นกลไกรับประกันคุณภาพความน่าเชื่อถือ   

ประเทศไทยก็ใช้ระบบคล้ายๆ อังกฤษ คือนักเรียน ม. ปลาย ที่ต้องเรียนคณิตศาสตร์คือนักเรียนสายวิทย์คณิต กับศิลป์คณิตเท่านั้น    นักเรียนสายศิลป์ทั่วไปไม่ต้องเรียน   ตอนนี้เรารู้แล้วว่านักเรียน ม. ปลายที่ไม่เรียนคณิตศาสตร์ เท่ากับบอนไซสมองของตนเอง   

การเรียนไม่ได้มีประโยชน์แค่รู้วิชา    แต่มีประโยชน์ยิ่งกว่านั้น คือเป็นยาบำรุงสมอง     โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สมองที่กำลังเจริญพัฒนา

ผมได้ยินมาว่า นักเรียนไทยที่เลือกเรียนสายศิลป์จำนวนหนึ่งเลือกเพื่อหลบคณิตศาสตร์   เพราะเป็นวิชาที่ไม่ชอบ เรียนแล้วไม่มีความสุข   จึงเป็นหน้าที่ของวงการการศึกษา ที่จะต้องหาวิธีจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ให้น่าสนใจ และสนุก    รวมทั้งกระตุ้นพัฒนาการของสมอง    หากจะให้พลเมืองของเราเป็นคนสมองดี ควรให้เรียนคณิตศาสตร์ทุกคน อย่างน้อยจนจบชั้นมัธยามปลาย    โดยครูต้องหาวิธีสอนแบบที่ทั้งสนุกและได้ลับสมอง

ผมเรียนรู้มาว่า ญี่ปุ่นสอนคณิตศาสตร์แก่นักเรียน โดยมีเป้าหมายที่เลยจากทักษะด้านบวกลบคุณหารและวิธีการทางคณิตศาสตร์ขั้นสูงอื่นๆ (เรียนด้านเทคนิค)    ไปสู่เรียนเรียนเพื่อฝึกคิดหลากหลายแบบ (เรียนด้านการคิด)    ซึ่งน่าจะยิ่งกระตุ้น brain plasticity      

กลับมาที่รายงานวิจัยเรื่องนี้ใน PNAS    ผมตีความว่า ผลการวิจัยนี้ช่วยยืนยันต่อเราว่า สมองดีสร้างได้    สร้างได้โดยการเรียน    และวิชาคณิตศาสตร์ช่วยสร้างสมองดี    นี่คือหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ต่อหลักการ growth mindset   

วิจารณ์ พานิช

๑๒ มิ.ย. ๖๔

 

หมายเลขบันทึก: 691614เขียนเมื่อ 22 กรกฎาคม 2021 19:09 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2021 19:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สาขาการสอนคณิตศาสตร์ที่ดังในประเทศไทย และเป็นวิธีการสอนแบบญี่ปุ่น คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อันนี้ผมก็ได้ยินเขาพูด ๆ กันมา ที่คณะก็มีอาจารย์จบที่นี่ ๑ ท่าน แต่ผมก็ไม่ทราบความแตกต่าง เพราะผมก็เป็นหนึ่งในคนที่เรียนคณิตศาสตร์ไม่เก่งเช่นกัน ;)…

I had training in (pure) Mathematics. But I only learned about a ‘precisive language’ that is used to communicate ‘abstraction’ to other mathematicians.

The communication of ‘abstract’ ideas is and has been a major issue in education for many thousands of years. In Buddhist Cannons there are numerous clauses that express ‘words are merely simile’ of truth and dhamma and that self-experience is the true knowledge (for the individual).

%%Mathematics though is a study of abstracts can be helped with ‘experience’. ;-)

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท