เทคนิคการถ่ายภาพเบื้องต้น


"การถ่ายภาพเป็นสิ่งที่ใครหลายๆคนชอบเป็นงานอดิเรก และวันนี้จะมาเสนอเทคนิคที่ช่วยให้คุณถ่ายภาพได้สวยมากยิ่งขึ้น"

แต่ก่อนที่เราจะไปรู้เทคนิคการถ่ายภาพเรามารู้จักประเภทของกล้องกันก่อนดีกว่าค่ะ;-)

กล้องดิจิทัลมี 4 ประเภท

1.กล้องคอมแพ็ค (Compact)

    เป็นกล้องดิจิตอลที่ออกแบบมาให้ใช้งานได้ง่าย ศึกษาวิธีใช้งานเพียงเล็กน้อยก็สามารถใช้งานได้
    แบบแรก (ทั่วไป) ซึ่งมีขนาดเล็กกะทัดรัด ไม่สามารถเปลี่ยนเลนส์ได้ ใช้งานง่ายส่วนใหญ่ จะมีโหมดสำเร็จรูปมาให้ เป็นออโต้ทั้งหมดสีสันดีไซน์สวย เช่น Nikon CoolPix A100 ,Canon Ixus190, Fujifilm FinePix XP-120 ราคาไม่แพง 
    ที่มารูป :https://www.powerbuy.co.th/th/fujifilm-digital-camera-16.4-mp-
    แบบสอง (ไฮเอนด์) จะมีเซ็นเซอร์ขนาดใหญ่กว่า จะได้คุณภาพของไฟล์ภาพที่ดีกว่าคอมแพคด้วยกันและดีกว่ามือถือ เพราะเซ็นเซอร์มีขนาด1นิ้ว ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าเซ็นเซอร์คอมแพคทั่วไปหลายเท่าตัว เช่น Canon PowerShot G7X Mark II
    ที่มารูป: https://th.priceprice.com/Sony-Cybershot-DSC-RX100-VI-26874/

    2. กล้องดิจิตอลชนิดสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (DSLR - Digital Single Lens Reflex)

    เป็นกล้องถ่ายภาพดิจิตอลที่มีการพัฒนาจากกล้องขนาด 35 มม.ที่ใช้ฟิล์ม โดยมีหลักการทำงานเหมือนกับกล้องถ่ายภาพสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวแบบใช้ฟิล์ม จะแตกต่างกันตรงที่กล้องดิจิตอลจะใช้แผ่นการ์ดเป็นตัวรับและบันทึกข้อมูล ในปัจจุบันชนิดนี้จะมีความละเอียดของภาพสูง สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้
    ที่มารูป : http://www.eastbournecamera.com

    3. กล้องDSLR-Like 

    กล้องดิจิตอลที่มีรูปทรงคล้าย DLSR แต่มีขนาดเล็กกว่า ปรับตั้งค่ากล้องเหมือนDSLR แต่ไม่สามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ แต่มีขนาดซูมมากที่ติดมาพร้อมตัวกล้องและยังมีเซ็นเซอร์ขนาดเท่ากับกล้องCompactทั่วไป เหมาะสำหรับคนเพิ่งเริ่มเล่นกล้อง
    ที่มารูป :https://in.pcmag.com/camera/32214/nikon-coolpix-p500

    4. กล้อง Mirrorless (ไม่มีกระจกสะท้อนภาพ)

    กล้องที่เอากระจกสะท้อนภาพออก ซึ่งไม่มีช่องมองภาพ มีขนาดที่เล็กกว่า DSLR มาก ได้เปรียบเรื่องการพกพาที่ใกล้เคียงกล้องคอมแพค คุณภาพไฟล์รูปเหมือนกับ DSLR ทำให้ในปัจจุบันกล้องมิลเลอร์เลสได้รับความสนใจจากกลุ่มนักถ่ายภาพมาก
    ที่มารูป : https://www.powerbuy.co.th/th/fujifilm-body-mirrorless-camera-24.3-mp-silver-x



    การถ่ายภาพจากกล้องดิจิตอลเบื้องต้น 

    - การถ่ายภาพอาหาร

    1.เลนส์ ระยะเลนส์ที่มีผลต่อภาพ                                                       

    28 mm. — 35 mm. 
    เป็นเลนส์ไวด์ หรือเลนส์มุมกว้าง เหมาะมากสำหรับการถ่ายจากด้านบน (flat lay) เพราะเก็บภาพอาหารได้เต็มโต๊ะ โดยที่ไม่ต้องยืนบนโต๊ะถ่าย หรือไว้ถ่ายภาพอาหารแบบไม่ได้เจาะจงแค่ตัวอาหารในจาน (Environmental Food Photography) แต่เก็บบรรยากาศเรื่องราวรอบจานไว้ด้วย
    ที่มารูป: https://medium.com/@poretmoreE
    ที่มารูป: https://medium.com/@poretmoreE
    50 mm. 
    เป็นระยะควรมีสำหรับการถ่ายอาหาร เพราะจะละลายพื้นหลังได้ดีและจับจุดโฟกัสได้ดี สามารถถ่ายได้ทั้งเอียง 45 องศา, ถ่ายจากด้านบน (flat lay)
    ที่มารูป: https://medium.com/@poretmoreE
    85 mm.ขึ้นไป 
    เป็นระยะที่น่าสนใจมาก จะช่วยทำให้อาหารโดดเด่นมากเนื่องจากจะทำให้อาหารใหญ่ขึ้น
    ที่มารูป: https://medium.com/@poretmoreE
    2.แสงธรรมชาติ   
    เพราะแสงธรรมชาติมีความสว่าง เป็นธรรมชาติและไม่ดูปรับแต่งเกินไป ถ้าหากไปร้านอาหาร คาเฟ่ แนะนำว่าควรนั่งริมหน้าต่าง เพราะจะได้แสงธรรมชาติและปริมาณแสงมากกว่าโต๊ะอื่น
    ภาพที่บ้าน
    ภาพที่ร้านอาหาร

    3.POINT OF VIEW 

    ใช้background ในการช่วยเล่าเรื่อง เล่าบรรยากาศหรือสถานที่ที่ไปท่องเที่ยวมาได้จากรูปที่เราถ่าย จะทำให้ภาพที่ถ่ายนั้นมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น
    ที่มารูป: https://medium.com/@poretmoreE
    ที่มารูป: https://medium.com/@poretmoreE

    - การถ่ายภาพวิว (landscape)

    1.เข้าใจถึงช่วงเวลาที่มีผลกับแสงและสถานที่ 

    เรื่องเวลาสำคัญมากกับการถ่ายภาพ Landscape เพราะว่าสภาพแสง ลักษณะของแสงเปลี่ยนไปตามช่วงเวลา แสงตอนเช้าและแสงตอนเย็นไม่เหมือนกัน ดังนั้นภาพถ่ายที่เราต้องการควรเลือกว่าจะไปถ่ายมุมไหนตามเวลาที่มีโทนสีที่ดูมา
    ที่มารูป: https://www.wedreamoftravel.com/long-exposure-waterfall-photography/

    2.ฝึกใช้เทคนิค LONG EXPOSURE   

    เทคนิค Long Exposure เป็นการถ่ายภาพเพื่อลาก Speed Shutter  ให้นาน เมื่อกล้องเก็บภาพด้วยความเร็วชัตเตอร์นานแบบนี้ 
    แสงก็จะเริ่มเป็นเส้น และพวกน้ำตกก็จะเป็นเส้นเหมือนกัน สิ่งสำคัญ คือ เรื่องของการถ่ายมันจะแตกต่างกัน ดังนี้    
    ช่วงกลางวันจะไม่สามารถลากความเร็วชัตเตอร์นานได้ เว้นแต่จะเจอสภาพแสงดี อาจจะได้สัก 1-3 วินาที เพราะแสงเยอะเกินไป               
    ช่วงกลางคืน สามารถถ่ายแบบlong exposure ได้เต็มที่ เนื่องจากแสงน้อย แต่ต้องเลือกว่าจะถ่ายอะไรในตอนกลางคืน เช่น ดาวหมุน 
    หรือภาพNight scape เป็นต้น                                                      
    ที่มารูป: https://www.wedreamoftravel.com/long-exposure-waterfall-photography/
    ที่มาข้อมูล :https://www.photoschoolthailand.com/10-tips-for-landscape-photography/

    - การถ่ายภาพคน (Portrait)

    1.จัดองค์ประกอบภาพ 
    จะช่วยทำให้ภาพดูมีความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การใช้องค์ประกอบแบบจุดตัดเก้าช่อง กฎสามส่วน ฉากหน้า ตลอดจนการใช้โทนสีเองก็เป็นการจัดองค์ประกอบอย่างหนึ่ง สีของภาพที่กลมกลืนจะให้ความรู้สึกที่ไหลไปทางเดียวกัน เช่น เขียวและฟ้า
    ที่มารูป : https://www.photoschoolthailand.com/10


    2.โฟกัสที่ดวงตา  

    จัดองค์ประกอบไว้ก่อน จากนั้นจึงเลื่อนจุดโฟกัสไปหาดวงตาตัวแบบเพื่อโฟกัสแล้วกด ถ่ายภาพได้ ดวงตาจะเป็นตัวกำหนดอารมณ์ของตัวแบบได้เลยว่าตัวแบบรู้สึกยังไง กำลังต้องการสื่อสารอะไรออกมาให้คนที่ดูภาพนี้รู้สึก
    ที่มารูป: https://www.zoomcamera.net/5
    ที่มาข้อมูล : https://www.photoschoolthailand.com/10


    การถ่ายภาพจากกล้องมือถือเบื้องต้น

    - การถ่ายภาพอาหาร

    1.เอียงกล้อง 

    ในการถ่ายภาพบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องถ่ายให้ตรงเพียงอย่างเดียว แต่สามารถใช้ร่วมกับการเอียงกล้อง เพื่อทำให้ภาพดูมีลูกเล่น และมีมิติมากขึ้น

    ที่มารูป :https://www.akerufeed.com/trend-life/30-food-photo-tips


    2.ใช้โหมดหน้าชัดหลังเบลอ   

    มือถือบางรุ่นจะมาพร้อมกับโหมดถ่ายหน้าชัดหลังเบลอ (Wide Aperture)   หากมือถือของคุณมีโหมดนี้ก็แนะนำให้ใช้ถ่ายภาพอาหารอย่างมาก
    ที่มารูป : https://medium.com/viewtoria

    3.ลองถ่ายมุมสูง 

    อาหารบางจานถ้าลองถ่ายจากมุมสูงลงมาอาจจะดูสวยกว่า เช่น พิซซ่า ชาบู หรืออาหารที่มีลวดลาย แต่ก็ต้องระวังเรื่องเงาด้วยถ้าถ่ายในที่ที่ไม่ใช่แสงธรรมชาติ หรือถ้าหากมีอาหารหลายจานก็เหมาะจะถ่ายจากมุมสูงลงมาเช่นกัน

    ที่มารูป: http://www.kaitomstudio.com/

    การถ่ายภาพคน (Portrait)

    1.พื้นหลังต้องไม่รบกวนและดึงความสนใจออกจากตัวแบบ 

    จะถ่ายในหรือนอกตัวอาคาร ภาพพื้นหลังไม่ควรจะแย่งความโดดเด่นออกจากตัวแบบ พยายามหาพื้นหลังที่สีเรียบ หรือไม่ก็เป็น pattern ไปเลย และอย่าให้มีจุดดึงสายตาออกไป เช่น คน สัตว์ อยู่พื้นหลัง


    ที่มารูป : https://www.gangbeauty.com/124491

    2.เปิดใช้งาน GRID เพื่อช่วยในการวางตำแหน่ง และจัดองค์ประกอบภาพ 

    เปิด Grid ขึ้นมา หรือเปิดตัวช่วยในการจัดองค์ประกอบภาพ เพื่อให้จัดภาพได้ตามสัดส่วน เช่น จุดตัดเก้าช่อง ให้วางตัวแบบอยู่บนจุดตัด หรือถ้าเป็นสัดส่วนทองคำ ก็วางวัตถุในจุดที่กำหนดไว้ให้

    ที่มารูป: https://www.blockdit.com/posts/5f1193fe83596853562c17fd

    - การถ่ายภาพStreet 

    1.เคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา 

    เมื่อถ่ายภาพ street นั้น วัตถุจะไม่ได้มาอยู่ตรงหน้าเราตลอดเวลาจึงต้องมองหาวัตถุหรือแอคชั่นที่น่าสนใจ ถ้านั่งอยู่ที่เดียวโอกาสจะได้รูปน้อยมาก พยายามเดินไปให้รอบบริเวณนั้น        


    ที่มารูป : https://teen.mthai.com/variety/138787.html

    2.ดูฉากหลัง 

    สิ่งที่อยู่หลังวัตถุ (subject) ที่จะถ่ายมีความสำคัญมาก หลายครั้งที่ฉากหลังช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้ภาพ แต่บางครั้งหากเลือกฉากหลังไม่ดีก็อาจทำให้ภาพที่ได้น่าสนใจน้อยลง
    Photo Credit : Donato Buccella

    3.ใช้แสงธรรมชาติ   

    แสงเป็นเรื่องสำคัญมากสำหรับช่างภาพทุกประเภท ใช้แสงธรรมชาติหากเป็นไปได้และใช้แสงตอนเช้าตอนพระอาทิตย์ขึ้นและตอนเย็นพระอาทิตย์ตก จะเป็นเวลาที่ดีในการถ่าย

    ที่มารูป : https://www.stepgeek.tv


    "เพื่อนๆ คงเห็นเทคนิคการถ่ายภาพจากข้างต้นที่นำเสนอมาแล้ว จะเห็นว่าหากเรารู้เทคนิคในการถ่ายภาพก็จะทำให้ภาพที่ถ่ายออกมานั้นดูดีมากยิ่งขึ้นเลยค่ะ หวังว่าทุกคนจะลองนำเทคนิคข้างต้นไปปรับใช้ตามความสนใจของทุกคนได้นะคะ"

    หมายเลขบันทึก: 689930เขียนเมื่อ 7 เมษายน 2021 17:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 เมษายน 2021 18:39 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


    ความเห็น (0)

    ไม่มีความเห็น

    พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
    ClassStart
    ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
    ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
    ClassStart Books
    โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท