1. ชุมชนบ้านสระขาว ม.16 ต.ละแม อ.ละแม จ.ชุมพร
2. ชุมชนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลละแม อ.ละแม จ.ชุมพร
3. ชุมชนบ้านในกริม ม.8 ต.หาดยาย อ.หลังสวน จ.ชุมพร
4. ชุมชนบ้านบากแดง ม.12 ต.วังตะกอ อ.หลังสวน จ.ชุมพร
5. ชุมชนบ้านเนินทอง ม.11 ต.ตะโก อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร
B ชุมชนบ้านสระขาว
· กิจกรรม/กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1. งาน “รินน้ำชา เสวนาเรื่องชุมชน” ได้จัดขึ้น ในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2548 เพื่อหารายได้
มาก่อสร้างเพิ่มเติมศูนย์เรียนรู้ และเพื่อการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืช มีการจัดการเรียนการสอนตามปกติ โดยได้ชักชวนผู้มาร่วมงานรินน้ำชา เดินดูแปลงรวบรวมพันธุ์พืช และดูการเรียนการสอนนักเรียนตามกลุ่มต่างๆ
2. การจัดการเรียนการสอน หลักสูตรท้องถิ่น “สมุนไพรกับวิถีชีวิตชุมชน” มีขึ้นทุกวัน
พฤหัสบดี ของเดือน แต่ในเดือนภุมภาพันธ์ ได้มีการจัดการเรียนการสอน 3 วัน คือ วันที่ 3 , 17 , 24 ส่วนในวันที่ 10 นั้น ได้เว้นการจัดการเรียนการสอน เนื่องจากนักเรียนที่เข้าร่วมหลักสูตรท้องถิ่น ได้มีกิจกรรมเข้าค่ายลูกเสือกับทางโรงเรียน ในวันที่ 7-9 ทางคณะกรรมการกลุ่มและคณะอาจารย์ของโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม ได้ประชุมหารือกันว่า สมควรจะงดเว้นการจัดการเรียนการสอนในวันที่ 10 เนื่องจากให้นักเรียนได้พักผ่อน ซึ่งจะนัดหมายเรียนชดเชยกันในภายหลัง ส่วนสาระการเรียนรู้ที่เกิดขึ้น มีดังนี้
1) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง “ชนิดของสมุนไพร” มีรายละเอียดของสาระการสอน ดังนี้
- ชื่อสามัญ / ชื่อท้องถิ่น ในแต่ละพื้นที่
- ลักษณะสายพันธุ์ (รายละเอียดของโครงสร้าง)
- จำนวนสายพันธุ์ / แหล่งของสายพันธุ์
- ประโยชน์เฉพาะทาง
- ผลข้างเคียงที่ควรรู้
- การขยายพันธุ์ / การบำรุงรักษา
- การเก็บเกี่ยวผลผลิต / การเก็บรักษา
- คุณค่าของสมุนไพรแต่ละชนิด
ทางวิทยากรท้องถิ่น ได้นำตัวอย่างต้นสมุนไพรและแปลงรวบรวมพันธุ์พืชมาเป็นเครื่องมือใน
การสอนเพื่อให้นักเรียนได้เห็นของจริง
2) แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง “สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชน” มีรายละเอียดของสาระการสอน ดังนี้
- ชี้ให้เห็นความสำคัญของสมุนไพรที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของชุมชนทั้งในอดีตและปัจจุบัน
- อธิบายการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างพืชสมุนไพรกับวิถีชีวิตชุมชน
3. การประชุม / พูดคุย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ของสมาชิกกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืชฯการประชุมสมาชิก ได้มีการประชุมทุกวันพฤหัสบดีแรก และวันพฤหัสบดีสุดท้ายของเดือน เพื่อหาแนวทางร่วมในการทำกิจกรรมของกลุ่มฯ ตลอดจนการนัดหมายลงแรงพัฒนา/ปรับปรุงแปลงรวบรวมพันธุ์พืช ตลอดจนศูนย์เรียนรู้
การพูดคุย / แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างวิทยากรท้องถิ่น , ครูพี่เลี้ยงจากโรงเรียนบ้านทับใหม่,
ครูพี่เลี้ยงจากโรงเรียน ตชด.สิริราษฎร์ , ผู้ช่วยชุมชนโครงการดับบ้านดับเมือง , บุคคลที่สนใจ ทุกครั้งหลังการจัดการเรียนการสอน เพื่อประเมินผลการสอน และหาแนวทาง/นัดหมายวิธีการสอนของวันถัดไป
· การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
หลังจากงาน “รินน้ำชา เสวนาเรื่องชุมชน” ส่งผลให้กิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์พันธุ์พืช เป็นที่รู้จัก
และยอมรับของคนในชุมชนและต่างชุมชนมากขึ้น ตลอดจนหน่วยงานที่เคยมาหนุนเสริม และบุคคลทั่วไป เห็นศักยภาพของทรัพยากรในท้องถิ่นและแกนนำชุมชน
ในส่วนของกิจกรรมการเรียนการสอนหลักสูตรท้องถิ่น “สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชน” นั้น ก่อให้เกิดความรู้ที่เพิ่มสาระวิชาให้กับนักเรียน (ตามแผนการจัดการเรียนรู้ 2 เรื่อง คือ เรื่อง “ชนิดของสมุนไพร “และ “สมุนไพรกับวิถีชีวิตของชุมชน”)
ทางด้านวิทยากรท้องถิ่น เห็นได้ชัดว่ามีความตื่นตัวเพิ่มขึ้น จากการเตรียมการสอนโดยมีสื่อเป็นเครื่องมือในการสอน
· แผนงานต่อเนื่อง
- การจัดการเรียนการสอน ควบคู่กับการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน (ทำไปเรียนรู้ไป) เพื่อวาง
แนวทางให้กับการจัดหลักสูตรการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
- การสร้างศูนย์เรียนรู้ เพื่ออำนวยการจัดการเรียนการสอน เช่น การสร้างห้องเรียนรู้ , การสร้างห้องเก็บงาน/เอกสาร , การสร้างห้องน้ำ
- การศึกษาดูงาน เพื่อเพิ่มทักษะ และเปิดโลกทัศน์ให้กับนักเรียนและวิทยากรท้องถิ่น
· ความรู้ / ประเด็นที่น่าสนใจ- การถ่ายทอดความรู้อย่างไร ให้ผู้ฟังเข้าใจ เช่น วิทยากรท้องถิ่นจะใช้เทคนิคการสอนอย่างไร เพื่อสื่อความหมายให้นักเรียนรับรู้ได้ตรงกับสิ่งที่ตนเองอยากจะสื่อ
B ชุมชนศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลละแม
· กิจกรรม /กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1. เวทีชุมชน เรื่อง การจัดการทรัพยากรชายฝั่ง ซึ่งได้ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลละแม มีประเด็น
พูดคุย ดังนี้
- แนะนำศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรตำบลละแม ให้ชาวประมงพื้นบ้านแหลมสันติ
และหมู่บ้านใกล้เคียงได้รู้จัก และแจ้งแนวทางการดำเนินงานของศูนย์ฯ ในปี พ.ศ.2548
- การแลกเปลี่ยนพูดคุยกับประมงพื้นบ้าน ซึ่งทางชาวประมงพื้นบ้านได้ร่วมกับเครือข่าย
ต่างๆ จัดงานปิดอ่าว เมื่อวันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2548
- ปัญหาและความต้องการของชาวประมงพื้นบ้าน ในขณะนี้ ปัญหาที่ชาวบ้านประสพ คือ
ปัญหาเรื่องการทำมาหากิน ที่ส่งผลมาจากสัตว์น้ำมีน้อยทำให้หากินยากขึ้น / ปัญหาค่าครองชีพเพิ่มขึ้น / ปัญหาหนี้สิน / ปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย จากการไม่มีที่ดินเป็นของตนเอง ต้องอาศัยพื้นที่ชายทะเล ซึ่งต้องบุกรุกที่ดินของรัฐ / ปัญหากับทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ที่ขัดแย้งเรื่องที่อยู่อาศัย ทั้งๆที่ชาวบ้านอาศัยมานานก่อนจะมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในส่วนของความต้องการ ชาวบ้านต้องการสิทธิในการอยู่อาศัยอย่างมั่นคง / การจัดบ้านเรือนที่ถูกสุขลักษณะ / การฟื้นฟูประมงชายฝั่ง / การส่งเสริมอาชีพ
2. สำรวจข้อมูลชุมชน ชาวประมงพื้นบ้านแหลมสันติ· การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
- เกิดข้อมูลชุมชน
- เวทีเรียนรู้ ที่แสดงถึงความรักความสามัคคีของคนในชุมชน และความรักบ้านเกิด
- เกิดแนวทางการพัฒนาชุมชน
· แผนงานต่อเนื่อง
ด้านกิจกรรมของคณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดฯ
- ประชุมคณะกรรมการศูนย์ถ่ายทอดฯ- ประชุมซักซ้อมความเข้าใจกับตัวแทนเกษตรกรประจำหมู่บ้าน
ด้านการร่วมกิจกรรมภาคีพันธมิตร เรื่องการจัดการทรัพยากรประมงชายฝั่ง
- การประมวลข้อมูลความเดือดร้อนของพี่น้องประมงทั้งหมด พร้อมทั้งให้คณะทำงานศึกษาข้อมูลข้อมูลกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
· ความรู้ / ประเด็นที่น่าสนใจ
- กลไกการจัดสรรการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
B ชุมชนบ้านในกริม
· กิจกรรม /กระบวนการ ที่ดำเนินการ
ติดตามงานและประสานงาน กับแกนนำและสมาชิกกลุ่ม มีสาระการพูดคุย ดังนี้
- ผลจากการชี้แจงโครงการต่อสมาชิกในชุมชน
- แลกเปลี่ยนพูดคุยถึงสถานการณ์การเลือกตั้ง และปัญหาภัยแล้ง
- แลกเปลี่ยนพูดคุยการเข้าร่วมเวทีนโยบายสาธารณะของแกนนำชุมชน
· การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
เนื่องจากชุมชนบ้านในกริม เป็นชุมชนเปิดใหม่ เพิ่งได้จัดทำโครงการชุมชน จึงยังไม่พบการเปลี่ยน
แปลงต่อชุมชน มีเพียงแนวทางการจัดสวัสดิการของชุมชน
· แผนงานต่อเนื่อง
- แนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการ
- แนวทางการทำเกษตรกรรมยั่งยืน
B ชุมชนบ้านบากแดง
· กิจกรรม /กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1. ร่วมสังเกตุการณ์ การทำกิจกรรมของชุมชน
- การฝากเงิน / การให้กู้
- การประชุมประจำเดือนของกลุ่ม
· การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
ในส่วนของโครงการพัฒนาชุมชนเป็นสุขที่ภาคใต้ เนื่องจากชุมชนบ้านบากแดงเป็นชุมชนเปิดใหม่
เพิ่งได้จัดทำโครงการชุมชน จึงยังไม่พบการเปลี่ยนแปลงต่อชุมชน
ในส่วนของชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ในโครงการ SML (หมู่บ้านนำร่อง)
· แผนงานต่อเนื่อง
- แนวทางการพัฒนาระบบการจัดการทุน
· ความรู้ / ประเด็นที่น่าสนใจ
- มีภูมิปัญญาการปั้นดินเผา
B ชุมชนบ้านเนินทอง
· กิจกรรม /กระบวนการ ที่ดำเนินการ
1. ค้นหาแกนนำชุมชน
2. เปิดเวทีแลกเปลี่ยนพูดคุยกับแกนนำชุมชน พร้อมทั้งชี้แจงโครงการ
3. เปิดเวทีพูดคุยเพื่อพัฒนาโครงการ
· การเปลี่ยนแปลง ที่ส่งผลต่อชุมชน
เนื่องจากชุมชนบ้านเนินทอง เป็นชุมชนเปิดใหม่ อยู่ในระหว่างกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาโครงการ
· แผนงานต่อเนื่อง
- เปิดเวทีพิจารณาโครงการ
บันทึกนี้เขียนที่ GotoKnow โดย R T ใน สมังคี
ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก