คนไทยใช้บัตรเครดิตอย่างไร


คนไทยยุคนี้หันมาใช้ “เงินล่วงหน้า(คือมีหนี้)” กันมากขึ้น ท่านพระภิกษุเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า นักวิชาการท่านหนึ่งเรียกอาคารสูงใหญ่ในเชียงใหม่ว่า “เป็นแท่งหนี้”

                            

คนไทยยุคนี้หันมาใช้ “เงินล่วงหน้า(คือมีหนี้)” กันมากขึ้น ท่านพระภิกษุเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า นักวิชาการท่านหนึ่งเรียกอาคารสูงใหญ่ในเชียงใหม่ว่า “เป็นแท่งหนี้”

ถ้าเช่นนั้นรถใหม่ที่วิ่งได้ส่วนใหญ่ก็คงเป็น “ท่อนหนี้แล่นได้” และบัตรเครดิตก็เป็น “แผ่นหนี้พกพา” ดีๆ นี่เอง...

Tornado

ยอดใช้จ่ายของคนไทยผ่านบัตรในเดือนกันยายน 48 มีค่าประมาณ 50,000 ล้านบาท อาจารย์ยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ทำการสำรวจพฤติกรรมการใช้บัตรเครดิตของประชาชน 607 ราย ระหว่างวันที่ 1-20 ตุลาคม 48 คอลัมน์สาระน่ารู้ขอนำผลการวิจัยมาเล่าสู่กันฟังอย่างนี้ครับ...

คนไทยจากกลุ่มตัวอย่างมี “แผ่นหนี้พกพา” เฉลี่ยคนละ 3 ใบ คนที่มีบัตรมากที่สุดมีแผ่นหนี้ 17 ใบ ลดลงจากสถิติครั้งก่อนที่มีถึง 24 ใบ

แผ่นหนี้พกพาเหล่านี้เป็นของธนาคารในประเทศ 50.5 % สถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร 43.4 % และธนาคารต่างประเทศ 6.1 %

คนไทยจากกลุ่มตัวอย่างใช้แผ่นหนี้พกพาจับจ่ายในห้างสรรพสินค้ามากที่สุด รองลงไปเป็นสินค้าอีเล็คโทรนิคส์ เครื่องประดับ ร้านอาหาร และน้ำมัน

ปัจจัยในการเลือกแผ่นหนี้พกพามากที่สุดได้แก่ ของแถมจากการใช้บัตร รองลงไปเป็นสินค้าที่แลกจากคะแนนสะสม อัตราดอกเบี้ยต่ำ วงเงินเบิก(เงินสดชั่ววูบ) และการไม่คิดค่าธรรมเนียมรายปี

นักศึกษาเป็นหนี้กันมากขึ้นจากเดิม 56.6 % เป็น 71 % ซึ่งตามทฤษฎีถือว่า เป็นการนำเงินอนาคตมาใช้

ผู้เขียนเชื่อว่า ธรรมชาติของเงินมีแรงดึงดูด (gravity) ส่วนจะเป็นกี่เท่าของแรงดึงดูดโลก(1G, 2G, 3G, ..) นี่เกินกำลังที่ผู้เขียนจะคิดค้นสูตรออกมาได้

รู้แต่ว่า ถ้าไม่มีการแทรกแซง (without intervention) เงินน้อยมักจะไหลไปหาเงินมากเพื่อ “รวมเป็นหนึ่งเดียว” เสมอ (Money tends to agglomerate.)

คนเบี้ยน้อยหอยน้อยจึงเก็บหอมรอมริบได้ยากกว่าคนรวย แต่คนเรานั้นมีศักยภาพที่จะทำอะไรดีๆ ที่คาดไม่ถึงได้อย่างเหลือเชื่อ เช่น การใช้จ่ายอย่างพอประมาณ ฯลฯ

ท่านที่เพิ่งเรียนจบ หรือเพิ่งทำงานใหม่ๆ นี่... ถ้าใครมาขอ หรือมาจีบให้ "ค้ำ(ประกันเงินกู้)" เช่น ค้ำสหกรณ์ออมทรัพย์ ฯลฯ ควรรีบปฏิเสธไว้ก่อน

ถ้าหาคำพูดปฏิเสธไม่ได้... จะกล่าวแบบผู้เขียนก็ได้ ผู้เขียนบอกว่า คุณแม่ไม่ชอบให้เป็นหนี้

เราคงไม่ต้องกลัวคนอื่นโกรธ หรือเกลียดเรา เพราะเราทำตัวดี เช่น ไม่เป็นหนี้ ฯลฯ

ถึงแม้เราจะไป "ค้ำ(ประกันเงินกู้)" ให้ใคร... ก็คงหวังได้ถึงความทุกข์ใจ กลุ้มใจเป็นธรรมดา เพราะค้ำกันแบบนี้... ลูกหนี้หนีหนี้มาแล้วหลายราย ปล่อยให้คนค้ำชอกช้ำต่อไปอีกหลายปี(หรือหลายสิบปี)

เรียนเชิญพวกเราช่วยกันใช้แผ่นหนี้พกพากันอย่างระมัดระวังหน่อยนะครับ... โดยเฉพาะ

    แหล่งที่มา:  

  • ขอขอบพระคุณ > นักศึกษาเพิ่มยอดหนี้เน่า. ไทยรัฐ (11 พฤศจิกายน 48) หน้า 9.
  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์จัดทำ > ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๘ > ปรับปรุงแก้ไข ๔ เมษายน ๒๕๕๐.
  • เรียนเชิญอ่าน "บ้านสุขภาพ"... รวมเรื่องสุขภาพ > [ Click - Click ]
หมายเลขบันทึก: 6894เขียนเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2005 13:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:12 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ขอบคุณค่ะคุณหมอ..ได้รับความรู้..และจะนำไปสอนนักเรียนด้วยค่ะ

ขอขอบคุณอาจารย์สิริพร และท่านผู้อ่านทุกท่าน

  • สัปดาห์ก่อนมีรายการโชว์ภาคค่ำ... นำคนประกาศขายตา 120,000 บาทมาพูดคุยกัน
  • ท่านที่ประกาศขายดวงตาเป็นคนขายเสื้อผ้ามือสอง รับซื้อจากสระแก้วมาอีกต่อหนึ่ง (เข้าใจว่า อาจจะมาจากเขมร) นำมาขายในกรุงเทพฯ นำรายได้ไปเลี้ยงดูพ่อแม่

หนี้นอกระบบ...

  • ปัญหาคือ บางทีหมุนเงินไม่ทัน... เลยกู้เงินตลาดนอกระบบ ทำให้หนี้พอกพูนขึ้นเรื่อยๆ
  • นี่ก็เป็นตัวอย่างอีกอันหนึ่งที่ว่า หนี้นอกระบบหนักหนาสาหัสมากกว่าที่เราคิดเสมอ

“แผ่นหนี้พกพา” เป็นศัพท์บัญญัติ ที่เหมาะจริง ๆ ค่ะ

คำนี้มาจากคำสอนของท่านอาจารย์สมบัติ นันทิโกครับ...

  • ท่านเรียกตึกและคอนโดมิเนียมในเชียงใหม่ว่า "ก้อนหนี้"
เรื่องนี้ทำให้ผมคิดว่า น่าจะลองเรียกเจ้าบัตรเครดิตว่า "แผ่นหนี้พกพา" เช่นกัน

มาอ่านบันทึกอาจารย์ทบทวน นึกถึง เรื่องนี้ จึงฝากให้อ่านบ้างค่ะ เบา ๆ

เกี่ยวกับการเลิกใช้ แผ่นหนี้พกพา ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท