ความสุขคืออะไรกันแน่ (ธรรมศาสน์ ตอน ๑๐)


การกินก๋วยเตี๋ยวอร่อย ยังอร่อยต่างกันได้ในรายละเอียดสำหรับผู้มีความยึดมั่น

ความสุขคืออะไรกันแน่ (ธรรมศาสน์ ตอน ๑๐)

ในระบบธรรมศาสน์ เราจะแบ่งความสุขเป็น๓ ระดับคือสุขดำ สุขขาว และสุขใส..สองอย่างแรกเป็นโลกิยะสุข(สุขในโลก) ส่วนอันสุดท้ายคือโลกุตรสุข (เหนือโลก) จะเรียกว่าสันติสุขก็ได้ วิมุตติสุขก็ดี

  สุขในโลกแบบดำคือสุขที่ได้จากการทำกรรมดำ เช่นพวกเล่นไพ่แล้วได้กำไรก็เป็นสุข พวกแทงหวยแล้วถูกรางวัล พวกนักเลงตีหัวเพื่อนได้สำเร็จ เป็นต้น

      สุขแบบขาวคือสุขที่ได้จาการก่อกรรมขาว เช่น ทำบุญ เสียสละ บริจาคทรัย์ ช่วยเหลือผู้ที่ด้อยกว่า เป็นต้น  แต่ก็ยังเป็นโลกิยสุขอยู่นะ คือยังติดอยู่กับโลก เพียงแต่ติดในระดับสูงกว่าสุขดำ

          สุขแบบใสคือสุขที่ได้ทำกรรมใส เช่นได้เสวนาธรรมและได้ให้ความรู้ความเห็นอันเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่เสวนาด้วย  ได้บำเพ็ญเพียรให้ความใสกินวงมากขึ้นเรื่อย  และมีความสุขุมลุ่มลึกมากขึ้น เป็นต้น

.

ในอีกมุมมองอาจมองสุขดำ/ขาวว่าสุขที่มีความยึดมั่น่ ส่วนสุขใสเป็นสุขที่เกิดจากความปล่อยวาง

ความสุขอันเดียวกันแท้ๆ เช่นการกินก๋วยเตี๋ยวอร่อย ยังอร่อยต่างกันได้ในรายละเอียดสำหรับผู้มีความยึดมั่น เช่นด้วยการปรุงแต่งด้วยพริกป่น/น้ำส้ม ต่างกัน ส่วนความสุขจากการปล่อยวางจะเหมือนกันหมดเนื่องจากกว่าไม่ยึดมั่นในสิ่งใด ความสุขประการหลังจึงแน่นอนกว่า และมั่นคงกว่าสุขใน๒ประการแรก

.

ดังนั้นในระบบธรรมศาสน์จะตั้งเป็นหลักการไว้ว่า

พึงลดละสุขดำ—พึงน้อมนำสุขขาว—พึงเพริดพราวสุขใส

-----คนถางธรรม..๑๕มีค.๖๔

หมายเลขบันทึก: 689518เขียนเมื่อ 15 มีนาคม 2021 19:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มีนาคม 2021 19:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท