เคสเดี่ยว


Case study 

ชื่อ : นายชูมิตร (นามสมมติ)

เพศ : ชายอายุ : 21 ปี
การศึกษา : กำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 3

ศาสนา : พุทธ

General appearance : ผู้ชาย วัยรุ่น รูปร่างใหญ่ ผิวขาว ผมสั้น ยิ้มร่าเริง อัธยาสัยดี

โรคประจาตัว : ไม่มี

ความต้องการของผู้รับบริการ : ต้องการนอน 8 ชั่วโมง ต้องการอ่านหนังสือเพิ่มจาก 2 ชั่วโมงเป็น 4ชั่วโมง ต้องการเล่นเกมเพิ่มจาก 4 ชั่วโมงเป็น 8 ชั่วโมง อยากได้เวลาเพิ่ม

การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : Game addiction,Time management problem & Sleep management problem


การให้เหตุผลทางคลินิก

 

Diagnostic Reasoning

จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ เกิดเป็นการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัดได้ว่ามีปัญหาติดเกม (Game addiction) และปัญหาการจัดการเวลาและการจัดการการนอน (Time management problem & Sleep management problem)

Game addiction การติดเกมเป็นการเสพติดทางจิต เกิดจากการเล่นเกมมากจนเกินไป จนส่งผลต่อกิจวัตรประจำวัน รวมถึงมีปฏิสัมพันธ์สังคมกับผู้คนในเกมมากกว่าสังคมในชีวิตจริง ผู้ที่ติดเกมจะหยุดหรือเลิกเล่นได้ยาก

Time management problem & Sleep management problem มีปัญหาในการจัดการตารางเวลาและการนอน ตารางกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต ให้มีความเหมาะสม ไม่สามารถควบคุมตนให้ปฏิบัติตามเวลาอย่างที่ควรจะเป็น มีการจัดตารางเวลาที่ไม่เหมาะสม เช่น เคสจัดการลดเวลานอนหรือไม่นอนเลย เพื่อทำกิจกรรมเล่นเกม

Procedural Reasoning 

จากปัญหาเบื้องต้น นักกิจกรรมบำบัดจึงได้วางแผนและเลือกกระบวนการประเมิน ดังนี้

- สัมภาษณ์ผู้รับบริการถึงพฤติกรรมของผู้รับบริการและปัญหา จุดประสงค์ในการมาพบนักกิจกรรมบำบัด ความต้องการของผู้รับบริการ ประวัติทางการแพทย์ สัมภาษณ์ถึงความสามารถของผู้รับบริการตาม Area of Occupation ซึ่งได้แก่ ด้าน ADL , Education , Sleep , Social participation และสอบถามถึงบริบทสิ่งแวดล้อมที่ผู้รับบริการอาศัยอยู่ทั้งที่บ้านและที่โรงเรียน 

- พบว่าผู้รับบริการมีปัญหาติดเกมและการนอน ซึ่งส่งผลต่อการเรียนในห้องเล็กน้อย แต่ส่งผลต่อการทำการบ้านกับกลุ่มเพื่อนอย่างมาก และทำให้ไม่มีเวลาในการทบทวนบทเรียนได้ตามที่ต้องการ

- พบว่าผู้รับบริการมีปัญหาการจัดการเวลาและการเรียงลำดับความสำคัญที่ไม่เหมาะสม เช่น เล่นเกมสำคัญกว่านอน ทำให้บางครั้งก็ไม่นอนเลย

- ตารางกิจกรรม

07.30 ตื่นนอน ทำธุระส่วนตัว

08.30 รับประทานอาหารเช้า

09.00 เรียนหนังสือ

12.00 รับประทานอาหารกลางวัน

13.00 เรียนหนังสือ

17.00 พักผ่อน

19.30 รับประทานอาหารเย็น

20.30 ประชุมงานกลุ่มร่วมกับเพื่อน

22.30 พักผ่อน

23.30 อาบน้ำ ทำธุระส่วนตัว

00.30 ทำการบ้านอ่านหนังสือ

01.30 เล่นเกม

03.30 เข้านอน

ปัญหาทางกิจกรรมบำบัด

  1. ผู้รับบริการติดเกม (game addiction) ไม่สามารถหยุดเล่นได้ ส่งผลต่อสุขภาพ และส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ
  2. ผู้รับบริการมีปัญหาการนอนหลับ เช่น นอนน้อย ตื่นสาย นอนหลับไม่สนิท
  3. ผู้รับบริการไม่สามารถจัดการตารางเวลาได้อย่างเหมาะสม และไม่สามารถปฏิบัติตามได้

หลังจากที่ระบุปัญหาทางกิจกรรมบาบัดของผู้รับบริการได้แล้ว นักกิจกรรมบาบัดได้ตั้งเป้าประสงค์ในการรักษาดังต่อไปนี้ 

1. ผู้รับบริการสามารถจัดตารางเวลาได้และสามารถทำตามได้อย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

ผู้บำบัดได้ให้การรักษาเบื้องต้น โดยการ psychoeducation ในเรื่องการนอนว่านอนเพียง 3-6 ชั่วโมงเพียงพอได้ มีการประเมินอารมณ์และความคิดเพิ่มเติมด้วย 5y แนะนำการจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการนอน และร่วมกันวางแผนปรับตารางกิจกรรม

หลังจากทำ MI เรื่อง time management พบว่ามีคุณภาพการนอนที่ดีขึ้นจากการประเมิน sleep hygiene พบว่าผู้รับบริการมีการเล่นเกมลดลง มีเวลาสำหรับการทำกิจกรรมอื่น ๆ แต่ยังไม่สามารถจัดการตารางเวลาได้อย่างเหมาะสมเมื่อมีกิจกรรมเพิ่มเติม จึงแนะนำการจัดตารางเวลาที่สามารถปฏิบัติตามได้จริง โดยวางเป้าหมาย และค่อย ๆ ปรับเปลี่ยน นอกจากนี้ยังมีการแนะนำให้ทำการบันทึกตารางกิจกรรมในแต่ละวันเพื่อดูพัฒนาการและนำมาเปรียบเทียบ

ประเมิน MI พบว่าอยู่ใน Stage 6 (Relapse) จึงได้วางแผนการรักษาต่อไปในอนาคต

1. หาตัวกระตุ้น (triggers) ที่ทำให้กลับไปเกิดพฤติกรรมเดิม

2. หาวิธีหลีกเลี่ยงตัวกระตุ้นเหล่านั้น

Narrative Reasoning 

จากการที่ได้สัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้รับบริการ กล่าวว่า “ต้องการเวลาเพิ่ม อยากได้เวลาเพิ่ม ขอเวลาจากผู้บำบัดได้ไหมครับ เพราะอยากเล่นเกมเพิ่มเลยต้องตัดเวลานอน บางครั้งไม่นอนเลยเพราะกลัวว่าจะตื่นมาเรียนไม่ไหว เมื่อนอนน้อยจะประชุมงานกลุ่มกับเพื่อนไม่รู้เรื่อง ต้องการเวลาเพิ่ม อยากได้เวลาเพิ่ม”

เมื่อผู้บำบัดถามว่า “การนอนสำคัญกว่าการเล่นเกมใช่หรือไม่” ผู้รับบริการตอบว่า “ไม่จริงครับ นอนเมื่อไหร่ก็ได้”

Interactive Reasoning 

นักศึกษาให้การรักษาอย่างเข้าใจมุมมองของผู้รับบริการ ส่งเสริม ชื่นชม และให้กำลังใจในกิจกกรรมที่ดี พูดคุยเพื่อหาทางจัดตารางเวลาสำหรับการเล่นเกมที่ผู้รับบริการชอบให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น เข้าใจความยากลำบากและความทุกข์ของผู้รับบริการ ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงภายในตนเองของผู้รับบริการ

Conditional Reasoning

จากข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์

- Psychosocial Rehabilitation FoR ให้คำปรึกษาและให้ความรู้แก่ผู้รับบริการในด้านการนอนหลับ จัดการการแก้ปัญหาโดยการระบุปัญหา หาสาเหตุ ตัวกระตุ้น และหาวิธีการหลีกเลี่ยง

- ตั้งเป้าประสงค์ ให้ผู้รับบริการสามารถจัดตารางเวลาได้และสามารถทำตามได้อย่างต่อเนื่องภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์

SOAP Note 1

S : 21 y. Male. Sleep<4hr. “wants > 24hr/day. Play game > 4hr/day.”

O : Poor arousal while study

A : Game addiction,Time management problem & Sleep management problem

P : psychoeducation. 5y. made activity schedule

SOAP Note 2

S : 21 y. Male. Sleep<4hr almost everyday. “wants to read books 4hr/day. Play game 4hr/day.”

O : Poor arousal while study

A : Time management problem

P : Sleep hygiene. Take note of daily activity. MI(time management), find triggers of relapse & how to avoid

Pragmatic Reasoning 

- ตั้งคำถามให้คมเพื่อให้ทราบสาเหตุและระบุปัญหาได้อย่างครอบคลุม 

- ปรึกษากระบวนการรักษาร่วมกับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์หลายครั้ง ได้รับคำแนะนำให้ตั้งปัญหาทางกิจกรรมบำบัดที่ชัดเจนได้เลย คือ Game addiction และได้รับการรักษาเบื้องต้น คือ psychoeducate ในเรื่องของ sleep hygiene ให้แนะนำผู้รับบริการเพื่อให้สามารถจัดการเวลานอนให้ส่งผลต่อกิจกรรมอื่น ๆ น้อยที่สุด นอน 3 – 6 ชั่วโมงเพียงพอ 

- นอกจากนี้ มีการประเมิน MI พบว่าอยู่ใน Stage 6 (relapse) ควรแก้ไขโดยการหาตัวกระตุ้น และวิธีการหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดพฤติกรรมซ้ำอีก (triggers)

Story telling 

หลังจากได้รับมอบหมายงาน ให้หาผู้รับบริการเเละทำเป็นเคสเดี่ยว รู้สึกมีความกังวลในการทำงานเพื่อหาเคสให้ตรงตามจุดประสงค์ของงานที่อาจารย์ได้มอบหมายไว้ เเต่เมื่อได้พูดคุยปรึกษาก็มีความมั่นใจในการเลือกเเละเริ่มต้นทำการประเมินมากขึ้น สถาณการณ์โควิด19 ทำให้ต้องมีความรับผิดชอบในการติดตามงานของตนเองมากขึ้น ในครั้งเเรกหลังจากประเมินเบื้องต้นเเละรับทราบปัญหาเเล้ว เมื่อนำเคสมาเสนออาจารย์ก็ยังไม่ค่อยเข้าใจการทำงานครั้งนี้มากนัก เเต่เมื่อทำไปเรื่อย ๆ เเละได้รับคำเเนะนำจากเพื่อน ทำให้เข้าใจการทำงานครั้งนี้มากขึ้น เเละด้วยการนำเสนอต่ออาจารย์ ทำให้ผมได้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของนักกิจกรรมบำบัดทั้งกระบวนการอย่างเป็นระบบมากขึ้น สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณกำลังใจเพื่อนทุกคน เเละความรู้ประสบการณ์ที่อาจารย์ให้ถ่ายทอดให้ผ่านการนำเสนอเคสเเต่ละครั้ง ผมเชื่อว่า ประสบการณ์ที่ได้จากการทำงานเคสเดี่ยวครั้งนี้จะสามารถนำไปต่อยอดในการรักษาผู้รับบริการอื่น ๆ ได้อีกต่อไปในอนาคต

พชรดนัย สงเจริญ

คำสำคัญ (Tags): #clinical reasoning#ot#personal case
หมายเลขบันทึก: 689196เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 22:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 22:59 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท