ทักษะการให้เหตุผลทางคลินิกของกิจกรรมบำบัด (Clinical Reasoning Skills of Occupational Therapy)


รายงานสรุปการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด

ข้อมูลทั่วไปของกรณีศึกษา

           - นางเจ (นามสมมติ) เพศหญิง อายุ 52 ปี

           - วันเดือนปีเกิด : 28 กันยายน พ.ศ.2511

           - อาการแสดง :  ปวดบริเวณข้อมือด้านขวา เมื่อมีการทำกิจกรรมที่มีท่าทางการบิดข้อมือ

           - General appearance : หญิงวัยกลางคน รูปร่างผอม สูง ผมสีดำยาว ผิวขาว สวมแว่นตา

           - ความต้องการของผู้รับบริการ (Need) : สามารถทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้โดยปราศจากความเจ็บปวด

Scientific Clinical Reasoning (SCR)

1. Diagnostic  clinical reasoning

      - การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ด้านการวินิจฉัยทางการแพทย์

                    ไม่มีการวินิจฉัยทางการแพทย์ เนื่องจากไม่ได้พบแพทย์

          - การให้เหตุผลทางวิทยาศาสตร์ด้านการวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด

                    Occupational Disruption เนื่องจากผู้รับบริการมีอาการเจ็บที่บริเวณข้อมือทำให้ผู้รับบริการไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้    ชั่วคราว

2. Procedural  clinical reasoning

          - จากที่ทราบข้อมูลจากการพูดคุยกับผู้รับบริการ นักศึกษาได้วางแผนทำการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวผู้รับบริการเพื่อนำไปวางแผนการบำบัดรักษา โดยเริ่มจากการสัมภาษณ์ผู้รับบริการ ประเมินความเจ็บขณะทำกิจวัตรประจำวัน ระบุตำแหน่งที่มีอาการเจ็บโดยการประเมินด้วยวิธีการคลำข้อมือและทำท่าทางตามผู้บำบัดและวางแผนกิจกรรมการรักษา ดังนี้

          สัมภาษณ์ผู้รับบริการเพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับข้อมูลทั่วไป ประวัติครอบครัว สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย  ความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน ปัญหาและความต้องการของผู้รับบริการ

          ผลจากการสัมภาษณ์ 

          - โรคประจำตัว : โรคตับ

          - ประวัติครอบครัว : อาศัยอยู่กับสามีและลูก

          - ประวัติความเจ็บป่วย : ผู้รับบริการมีอาการปวดที่ข้อมือขวาเป็นระยะเวลา 2 เดือน ซึ่งเกิดจาก การยกของหนัก ในขณะที่มีอาการเจ็บได้มีการรับประทานยาแก้อักเสบและยาแก้ปวดและหยุดใช้งานข้อมือข้างขวา เป็นระยะเวลา 1 อาทิตย์ โดยเปลี่ยนมาใช้งานข้างซ้ายแทน ทำให้ทำ กิจวัตรในชีวิตประจำวันได้ลำบาก โดยเฉพาะท่าที่ต้องบิดข้อมือ เช่น เขียนหนังสือ, ซักผ้า, ยกของ, แหงนมือเปิดประตูบ้าน เป็นต้น โดยอาการปวดไม่ได้ส่งผลกระทบกับการนอนหลับ แต่ในปัจจุบันสามารถใช้งานข้อมือข้างขวาได้มากขึ้น แต่ก็ยังมีอาการปวดเมื่อมีท่าที่ต้องใช้แรงมากและ    ท่าที่ต้องบิดข้อมือ

          - ความสามารถในการทำกิจกรรมในชีวิตประจำวัน

                    1. Activities of Daily Living (ADL) :

                              ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมได้โดยไม่ต้องได้รับความช่วยเหลือ

                    2. Instrumental Activities of Daily Living (IADL) :

                              Home establishment and management : ผู้รับบริการทำกิจกรรมเหล่านี้ได้ลำบาก โดยเฉพาะเป็นท่าที่ต้องบิดข้อมือ                                  เช่น ซักผ้า, ยกของ, แหงนมือเปิดประตูบ้าน เป็นต้น

                    3. Work :

                              ผู้รับบริการเขียนหนังสือได้ลำบาก

          ประเมินความเจ็บขณะทำกิจวัตรประจำวัน

                    ประเมินความเจ็บของผู้รับบริการในขณะทำกิจกรรมที่ส่งผลกระทบต่อการเจ็บของ ผู้รับบริการมากที่สุด (ซักผ้า, ยกของ, แหงนมือเปิดประตูบ้าน) โดยใช้ Pain scale โดยจะมีคะแนน 0-10 โดย 0 คือไม่เจ็บปวดเลย และ 10 คือเจ็บปวดมากที่สุด โดยผู้รับบริการให้คะแนนอยู่ที่ 5

          ระบุตำแหน่งที่มีอาการเจ็บโดยการประเมินวิธีการคลำข้อมือและทำท่าทางตามผู้บำบัด

                    เริ่มจากดูผิวหนังรอบข้อมือ ว่ามีลักษณะการบวมหรือมีการผิดรูปของข้อมือหรือไม่ หลังจากนั้น เริ่มจากคลำด้าน dorsal ของ wrist ก่อนแล้วค่อยมาด้าน volar หลังจากนั้นให้   ผู้รับบริการหงายมือโดยมีผ้ารองมือและให้ผู้รับบริการกำและแบมือ หลังจากนั้นให้นำนิ้วโป้งนิ้วชี้       และนิ้วนางมาประกบติดกันและค่อยๆงอข้อมือขึ้นมา โดยหลังจากทำสองท่านี้ผู้รับบริการไม่รู้สึกเจ็บ แต่เมื่อนักศึกษาค่อยๆกดลงมาเรื่อยๆก็พบตำแหน่งที่เจ็บ  โดยตำแหน่งที่เจ็บจะมีลักษณะเป็นร่องลึก หลังจากนั้นให้ทำเหมือนเดิมแต่เปลี่ยนเป็นนิ้วนางนิ้วก้อยและนิ้วโป้ง ผู้รับบริการรู้สึก   เจ็บเร็วกว่า โดยหลังจากการทำประเมิน ได้ผลว่า ผู้รับบริการมี Muscle Pain อยู่ 2 ระดับ ได้แก่ Extensor Carpi Ulnaris (ECU) Tendinitis และ Tendon Subluxation ทำให้เห็นปุ่มกระดูกชัดเจน คล้ายนักกอล์ฟที่มีการบิดข้อมือจนปวดสะสม

          เมื่อได้ข้อมูลจากการประเมินและการสัมภาษณ์แล้ว สามารถพบปัญหาที่สำคัญได้ ดังนี้

                    - ผู้รับบริการมีอาการคล้ายกับ Carpal tunnel syndrome โดยมี Extensor Carpi Ulnaris (ECU) weak และ Tendon Subluxation ทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้เต็มความสามารถ

 Interactive clinical reasoning

          Therapeutic use of self : มีการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการ โดยทักทายด้วยสีหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส ใช้น้ำเสียงที่เหมาะสมในการพูดคุยกับผู้รับบริการ รับฟังผู้รับบริการอย่างตั้งใจ ไม่พูดแทรก เมื่อผู้รับบริการเล่าถึงเหตุการณ์ต่างๆ ในระหว่างการพูดคุยได้สร้างบรรยากาศที่ผ่อนคลาย ทำให้ได้ข้อมูลที่ละเอียด มีประโยชน์ในการนำมาวางแผนการรักษา

Narrative clinical reasoning

          จากการสัมภาษณ์ ผู้รับบริการจะเล่าถึงสาเหตุและการดูแลรักษาอาการบาดเจ็บ โดยในขณะที่ฟังผู้รับบริการจะไม่ค่อยเห็นความสำคัญของอาการบาดเจ็บ โดยจะพูดว่า “เดี๋ยวกินยาเสร็จก็หาย ไม่ต้องดูแลให้พักมือขนาดนั้นหรอก มัวแต่มาพักมือก็จะไม่ได้ทำงานทำการเอา” โดยเมื่อเกิดอาการเจ็บผู้รับบริการก็จะฝืนทำงานต่อ เมื่อได้ถามถึงความต้องการของผู้รับบริการ ผู้รับบริการบอกว่า “ อยากทำงานได้โดยไม่รู้สึกเจ็บอีก อยากทำงานได้เร็วเหมือนเดิม” และจากได้ฟังที่ผู้รับบริการได้เล่ามาทำให้ผู้บำบัดได้เข้าใจและนำข้อมูลที่ได้มาเป็นส่วนหนึ่งในการวางแผนการรักษา

Conditional clinical reasoning

          จากการสัมภาษณ์ ประเมินและปัญหาที่พบ ผู้บำบัดได้นำข้อมูลทั้งหมด มาวางแผนการในการตั้งเป้าประสงค์และการรักษาทางกิจกรรมบำบัดได้ ดังนี้

          เป้าประสงค์การรักษาที่ 1 ผู้รับบริการสามารถทำกิจวัตรในชีวิตประจำวันได้โดยความเจ็บที่บริเวณข้อมือลดลงจาก pain scale ระดับ 5 ไประดับ 2 โดยในตอนแรกได้มีการให้ความรู้เกี่ยวกับการ Recovery ของ Tendon ต่อมาให้ใช้เทคนิค Activity modification โดย Absorb แรงโดยใช้ Resting hand support โดยให้ใส่ตลอดเวลาในการทำงานและตอนนอน , ใช้เทคนิค Graded activity โดยเวลาออกแรงให้ค่อยๆออกแรง ไม่ออกแรงทั้งหมดทีเดียว , ใช้ Homework adaptation (OA) โดย มีการปรับให้จากที่ผู้รับบริการหลีกเลี่ยงในการใช้มือข้างขวาในการเปิดประตูบ้านเป็นใช้มือทั้งสองข้างแทน  

          โดยในการตั้งเป้าประสงค์และการรักษาอยู่ภายใต้กรอบและโมเดลที่ใช้ในการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ดังนี้ Physical Rehabilitation FoR, Peo Model, Occupational adaptation Model

Pragmatic reasoning

          - ผู้บำบัดได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้และขอคำปรึกษาจากอาจารย์นักกิจกรรมบำบัด โดยอาจารย์ได้ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการลดเกร็งของนิ้วมือเมื่อมีการใส่ Hand support เป็นระยะเวลานานเกินไป โดยให้แช่น้ำอุ่นและมีการขยับบริหารข้อมือในท่ากำและแบ

SOAP NOTE ครั้งที่ 1

S :       pt. Female 52 years old  

          c/o pain Rt chronic tendon pain and ECR & ECU weak from repetitive work

          states hx of pain since two months

          states would like to return to work without pain

O :      Pain scale 5 when work

A :       Carpal Tunnel Syndrome affect to occupation ex. House management, Work

P :       Educate about Tendon Recovery

          Activity Modification : Absorb force by use Resting hand support in work and bed time

          Graded Activity : Not exerting a force too much in 1 time

          Homework Adaptation : Use both hands to open the door

SOAP NOTE ครั้งที่ 2

S :       pt. Female 52 years old 

          c/o pain Rt chronic tendon pain and ECR & ECU weak from repetitive work

          pt. “Pain has decreased”

          pt. “When waking up, the fingers will feel stiff for 1 hour”

O :      2nd pain scale is 2 when work

A :       The pain has decreased and fingers have stiffness when waking up

P :       Reduce stiffness by soaking in warm water and moving wrist in an open and close hand position

หมายเลขบันทึก: 689195เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 22:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 22:38 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท