Clinical reasoning (อธิยา มุตฟัก)


รายงานสรุปการให้เหตุผลทางกิจกรรมบำบัด

กรณีศึกษา นาง ราตรี ผราภิรมย์ อายุ 79 ปี

Interest: ผู้รับบริการมีความสนใจและชอบทำกิจกรรมจัดสวน

Areas of potential occupational disruption, supports and barriers:

  • ประวัติการเจ็บป่วย/การรักษา : ฝึกกายภาพบำบัดที่โรงพยาบาลรามาฯ , ได้รับการผ่าตัดเข่าข้างขวา
  • บ้านพักผู้สูงอายุมีสิ่งแวดล้อมที่อำนวยให้เคลื่อนไหวได้ปลอดภัย เช่น ราวจับตามทางเดิน ห้องน้ำและมีทางลาดสำหรับ Wheel chair
  • บ้านพักผู้สูงอายุมีพื้นที่ไม่เพียงพอในการทำสวน

Priority and identified ลำดับความสำคัญในการวางแผนการรักษาจากความต้องการของผู้รับบริการ ความสามารถของผู้รับบริการที่นักศึกษาประเมิน:

  • ความต้องการในการจัดสวน

Diagnostic clinical reasoning 

DX: Parkinson’ disease มีอาการมือสั่นในขณะพัก เคลื่อนไหวช้า

วินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : Occupational imbalance เนื่องจากสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองได้เป็นส่วนมากแต่ไม่สามารถทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจได้ในบริบทที่ตนเองอยู่อาศัย

Interactive reasoning

นักศึกษานั่งพูดคุยกับผู้รับบริการในระดับเดียวกัน สบตา ชวนพูดคุยโดยใช้คำกระชับ เข้าใจง่าย เสียงโทนต่ำดังชัดเจน เนื่องจากผู้รับบริการมีอาการหูตึง

เริ่มจากพูดคุยในเรื่องทั่วไปขณะทำกิจกรรมกลุ่มจัดสวนถาดและฟังอย่างตั้งใจโดยไม่ตัดสิน เช่น

OTs: “กิจกรรมยามว่างที่ชอบคืออะไร”

Pt: “ชอบจัดสวนหน้าบ้านเพราะมันช่วยคลายเครียดดี”

OTs: “อะไรคือความต้องการในชีวิตตอนนี้คะ”

Pt: ไม่มี แก่แล้ว อยากจะทำอะไรก็ทำไม่ค่อยได้เหมือนแต่ก่อน

OTs: “ทำไมถึงรู้สึกอยากตายคะ?”

Pt: “ ก็แก่แล้วไม่อยากไปเป็นภาระของคนอื่น อยู่ไปก็ทำอะไรช้าไม่ทันคนอื่นเขา”

Procedural clinical reasoning 

สร้างสัมพันธภาพผ่านการพูดคุย หลังจากนั้นทำการประเมินความสามารถสูงสุดในการทำกิจกรรม การดำเนินชีวิตของผู้รับบริการ จะมีการประเมินจากองค์ประกอบผู้รับบริการ

  • - ประเมินการเคลื่อนไหว ผ่านการทำกิจกรรมการดำเนินชีวิต Functional ADL assessment ดูถึงทักษะการหยิบจับ การเคลื่อนไหว กำลังกล้ามเนื้อในส่วนของมือ , แขน ผลการประเมินพบว่า มีแรงมือในการหยิบจับสิ่งของและคงไว้เพื่อทำกิจกรรม สามารถจับช้อนตักรับประทานอาหารได้ด้วยตนเอง , ตักน้ำราดตัวเอง , เช็ดตัวเองแต่ยังต้องได้รับการช่วยเหลือจากผู้ดูแลในการช่วยพยุงตัวลุกขึ้นยืนขณะอาบน้ำ , สวมเสื้อเองได้แต่ติดกระดุมเองไม่ได้และไม่สามารถสวม-ถอดกางเกงเองได้
  • - ประเมินระดับความรู้ความเข้าใจดี พูดคุยได้เข้าใจทั้งหมด มีอาการหลงลืมวัน เวลา และสถานที่และบุคคลที่ไม่คุ้นเคยบ้าง ผลการประเมิน สงสัยว่ามีภาวะสมองเสื่อมโดยเฉพาะหัวข้อ Orientation
  • - ด้านจิตใจ ผ่านการสัมภาษณ์โดยใช้แบบประเมิน 9 Q ผลการประเมิน ผู้รับบริการมีอาการซึมเศร้า ระดับปานกลาง มีความรู้สึกว่าตนเองเป็นภาระกับคนรอบข้างและเข้าใจว่าตนเองไม่สามารถทำงานได้ รู้สึกอยากตายแต่ไม่อยากฆ่าตัวตาย

Conditional reasoning

จากการสังเกต สัมภาษณ์ และประเมินผ่านการทำกิจกรรมทำให้เห็นถึงปัญหาต่างๆของผู้รับบริการ คือ ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจได้

โดยเลือกใช้

MOHO Model เนื่องจากต้องการมองลึกลงไปถึงจิตใจ ความต้องการ และการให้คุณค่าของผู้รับบริการ

Volition: ผู้รับบริการสนใจในการทำกิจกรรมในการจัดสวน

Habituation: เมื่อก่อนผู้รับบริการชอบการจัดสวน

Performance: เคยเป็นคุณครูสอนภาษาไทย

PEOP Model เนื่องจากต้องการวิเคราะห์ปัญหาแบบองค์รวมและเป็นปัญหาที่เกิดจากหลายปัจจัยส่งผลร่วมกัน

P: อาการโรคสมองเสื่อม, สูญเสีย Short term memory, ไม่สามารถ Orientation, มองเห็นไม่ชัด, มีอารมณ์เศร้า

E: บ้านพักผู้สูงอายุ ไม่มีพื้นที่ในการทำสวน

O: ไม่ได้รับการส่งเสริมการทำกิจกรรมเพื่อลดอาการหรือชะลอความเสื่อมของโรค

P: การไม่ได้ทำกิจกรรมที่ชอบ

เมื่อได้วิเคราะห์ถึงปัญหาต่างๆแล้วจึงนำไปตั้ง Goal

  • - ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมยามว่างที่ตนเองสนใจได้

Pragmatic reasoning

ในเชิงปฏิบัติการได้มีอภิปรายวางแผนการรักษาระหว่างนักศึกษากับอาจารย์เพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมและปลอดภัย

  • การส่งเสริมการทำกิจกรรมยามว่างให้กับผู้รับบริการ
  • แนะนำวิธีการผ่อนคลายจากอาการซึมเศร้า เช่น การฝึกหายใจ 4-7-8 , การจัดสวนถาด

1st SOAP NOTE

S: pt. female 79 y. c/o left hand weakness.

O: minimal to moderate. Evaluation assessment 9 Q = moderate.

A: Moderate depression, non-motivation to leisure

P: Improve leisure. Psycho support.

2nd SOAP NOTE

S: ผู้รับบริการมีสีหน้ายิ้มแย้มและอยากทำกิจกรรมจัดสวนถาด

O: ขณะทำสวนถาดสามารถหยิบต้นไม้มาจัดในโหลพลาสติกเองได้แต่ทำได้ค่อนข้างช้า

A: มีความสนใจตลอดการทำกิจกรรม, สามารถพูดโต้ตอบได้แต่จะใช้เวลาคิดนานในการตอบคำถาม

P: ฝึกตามแผนเดิมแต่ลดขั้นตอนของการทำกิจกรรม

Story telling

   จากกรณีศึกษานี้ทำให้ฉันรู้สึกท้าทายมากเพราะเป็นเคสกรณีศึกษาแรกที่ฉันได้ทำการประเมินผ่านการสัมภาษณ์และการทำกิจกรรม  รวมไปถึงการให้การรักษาด้วยตนเอง ซึ่งทำให้ฉันได้เห็นถึงข้อผิดพลาดที่จะต้องปรับแก้เพื่อพัฒนาตนเองแล้วนำไปสู่การให้การรักษาที่เหมาะสมกับบริบทของผู้รับบริการ ดังนั้นจากกรณีศึกษานี้ยังทำให้ฉันได้รู้ถึงหน้าที่และบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดมากขึ้น ซึ่งสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปรับใช้ในการเป็นนักกิจกรรมบำบัดในอนาคต

6123035  อธิยา  มุตฟัก

หมายเลขบันทึก: 689176เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 14:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 14:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท