Clinical reasoning (ภูมินทร์ ภูมิอมร 6123031)


คุณเพ็กกี้ (นามสมมุติ), Dx. Alzheimer's disease (Stage 1) อายุ 74 ปี เพศหญิง

Occupational profile

ประวัติผู้รับบริการ คุณเพ็กกี้ (นามสมมุติ) อายุ 74 ปี เพศหญิง ศาสนาคริสต์

จุดแข็ง 

ด้านผู้รับบริการ : มี Body functions ที่ยังสามารถทำกิจวัตรประจำวันด้วยตนเองบางอย่างได้ เช่น การเข้าห้องน้ำ, ผู็รับบริการสามารถเดินเองได้แม้จะเคลื่อนที่ได้ช้า

ด้านสิ่งแวดล้อม : ผู้รับบริการอาศัยอยู่ที่บ้านพักคามิลเลี่ยนที่มีเจ้าหน้าที่คอยดูแลและให้ความช่วยเหลือ

Diagnostic reasoning
คุณเพ็กกี้ (นามสมมุติ) อายุ 74 ปี เพศหญิง

การวินิจฉัย : Alzheimer's disease (Stage 1)

อาการแสดง : ผู้รับบริการมีการพูดสิ่งที่พูดไปแล้วซ้ำๆ มีการยกเรื่องในอดีตมาเล่า

General appearance : รูปร่างสมส่วน, สีหน้าท่าทางใจดี, ให้ความร่วมมือในการฝึก

การวินิจฉัยทางกิจกรรมบำบัด : ผลจากพยาธิสภาพที่ผู้รับบริการเป็นส่งผลกระทบต่อกิจวัตรประจำวันด้านต่างๆที่ต้องใช้ Cognitive เช่นการรับรู้วันเวลา

Interactive reasoning
มีการใช้ Therapeutic use of self ในการสร้างปฏิสัมพันธ์กับผู้รับบริการในการพบกันครั้งแรกโดยใช้น้ำเสียงที่ต่ำและอ่อนนุ่ม สีหน้าท่าทางที่เป็นมิตร รวมถึงใช้ RAPPORT ในการพูดคุยสัมภาษณ์ผู้รับบริการ โดยใช้คำถามปลายเปิด พูดคุยและรับฟังอย่างตั้งใจและไม่ตัดสิน

OT : สวัสดีครับคุณเพ็กกี้(นามสมมุติ) ผมชื่อภูมินทร์ ภูมิอมร เป็นนักศึกษากิจกรรมบำบัดชั้นปีที่ 3 นะครับ วันนี้คุณยายเป็นอย่างไรบ้างครับวันนี้

PT. : สบายดีค่ะ

OT : ทานข้าวหรือยังครับ

PT. : ยังค่ะ เดี๋ยวจะทานตอนเที่ยง

OT : งั้นตอนนี้ระหว่างรอทานข้าว เรามาทำกิจกรรมกันก่อนนะครับ

PT. : ค่ะ

Narrative reasoning 

OT : กิจกรรมอะไรบ้างที่เมื่อก่อนคุณยายเคยทำได้แล้วตอนนี้ทำไม่ได้ครับ

PT. : ทำได้หมดค่ะ (แต่ OT มีการไปถามผู้ดูแลมาก่อนแล้วว่าผู้รับบริการทำกิจกรรมใดไม่ได้บ้าง)

OT : ครับผม เพื่อความแน่ใจ ผมจะลองไล่กิจกรรมที่สำคัญในชีวิตประจำวันดูนะ แล้วให้คุณยายเล่าว่าทำกิจกรรมต่างๆอย่างไรบ้างนะครับ

Procedural reasoning

  1. สร้างสัมพันธภาพด้วยการใช้ Therapeutic use of self ผ่านการสนทนาอย่างจริงใจ สีหน้าและท่าทางที่จริงใจ และรับฟังสิ่งที่ผู็รับบริการเล่าอย่างไม่ตัดสิน
  2. สัมภาษณ์ถึงกิจกรรมที่ทำได้และไม่ได้และหาความต้องการของผู้รับบริการ
  3. ประเมิน Cognitive ของผู้รับบริการด้วยแบบทดสอบ MoCA
  4. OT ไปสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากผู้ดูแล
  5. เนื่องจากผู้รับบริการนับถือศาสนาคริสต์ OT จึงจัดกิจกรรมจัดดอกไม้เพื่อนำไปวางที่หน้ารูปปั้นนักบุญในบ้านพักคามิลเลี่ยน โดยจัดกิจกรรมร่วมกับผู้รับบริการอีกท่านที่นับถือศาสนาเดียวกัน

Conditional reasoning

ในผู้รับบริการท่านนี้ ผู้บำบัดใช้วิธีการมองผู้รับบริการแบบองค์รวม (Top-Down) โดยอ้างอิงจาก Cognitive disability ผู้รับบริการมีระดับ Cognitive ที่ Allen Level 6 (Planned actions)

Pragmatic reasoning

เนื่องจากพยาธิสภาพของผู้รับบริการไม่สามารถรักษาให้หายขาด การให้กิจกรรมการรักษาจึงเป็นเพียงการเพิ่มความรู้สึกมีคุณค่า(Self-Esteem)ให้ตัวผู้รับบริการ ซึ่งเป็นที่มาของกิจกรรมจัดดอกไม้ที่มีคุณค่าทาง Spiritual กับผู้รับบริการ นอกจากนี้ยังได้เพิ่มทักษะด้านต่างๆเช่น Fine motor, Eye-Hand coordination และ การทำตามขั้นตอน เป็นต้น

SOAP NOTE ครั้งที่ 1

S : ผู้รับบริการชื่อเพ็กกี้ (นามสมมุติ) อายุ 74 ปี เพศหญิง ถูกวินิจฉัยเป็น Alzheimer's disease (Stage 1) ผู้รับบริการได้กล่าวว่า"เคยเป็นครูสอนคณิตศาสตร์"

O : ผู้รับบริการให้ความร่วมมือดี การพูดคุยได้เกือบปกติแต่ยังมีการถามคำตอบคำบ้าง ผู้รับบริการมีปัญหาด้านการมองเห็นเนื่องจากเป็นต้อและมีปัญหาด้านการได้ยินเนื่องจากมีอาการหูตึง

A : จากการประเมินด้วยแบบทดสอบ MoCA ผู้รับบริการทำแบบทดสอบได้เพียงข้อเดียวคือข้อการลบเลข

P : วางแผนจะให้กิจกรรมจัดดอกไม้ เพื่อส่งเสริมทักษะด้านต่างๆโดยเฉพาะในเรื่อง Self-Esteem

SOAP NOTE ครั้งที่ 2

S : ผู้รับบริการชื่อเพ็กกี้ (นามสมมุติ) อายุ 74 ปี เพศหญิง ถูกวินิจฉัยเป็น Alzheimer's disease (Stage 1) ผู้รับบริการได้กล่าวว่า "เคยเป็นครูสอนคณิตศาสตร์"

O : ผู้รับบริการดูผ่อนคลายมากกว่าครั้งที่แล้ว มีการโต้ตอบมากขึ้น

A : จากการสัมภาษณ์เพิ่มเติม ผู้รับบริการมีการกล่าวว่า "ไม่มีกิจกรรมยามว่างที่สนใจ"

ผู้รับบริการสามารถทำกิจกรรมจัดดอกไม้ตามขั้นตอนได้ แต่ต้องมีผู้บำบัดคอยบอกแต่ละขั้นตอน และเมื่อมีการใช้ของมีคมผู้บำบัดจะเป็นผู้ทำขั้นตอนนั้นให้เนื่องจากผู้รับบริการเป็นต้อ

P : พูดคุยให้กำลังใจและจะกลับไปเยี่ยมเมื่อมีโอกาส

Story Telling

   จากการได้เจอผู้รับบริการจริงในครั้งนี้ทำให้ผมเกิดมุมมองและทัศนคติที่ดีขึ้นต่อผู้สูงอายุและได้รู้ตนเองว่ามีความถนัดในการ Approach ผู้สูงอายุมากกว่าผู้รับบริการเด็ก จากที่เคยสนใจทำงานเพียงฝ่ายเด็กอย่างเดียวจึงเกิดเป็นความสนใจในฝ่ายกายและฝ่ายสูงอายุขึ้นมา ผมมีความประทับใจในตัวผู้รับบริการท่านนี้เนื่องจากถึงแม้สภาพร่างกายจะไม่พร้อมแต่ยังพยายามให้ความร่วมมือ ผมอยากขอบคุณคุณยายท่านนี้มากๆที่เป็นอาจารย์ท่านหนึ่งให้กับผมรวมถึงทำให้อคติกับผู้สูงอายุของผมหายไป

คำสำคัญ (Tags): #กิจกรรมบำบัด
หมายเลขบันทึก: 689174เขียนเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 13:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2021 13:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท