เสวนาการขับเคลื่อน SDGs ของประเทศไทย (ตอนที่ ๒)


ตอนที่ ๑

          ผศ.ชล บุนนาค ได้นำเสนอในประเด็น Mainstreaming SDGs ความท้าทายและโอกาสในการขับเคลื่อน SDGs”โดยมีสาระสำคัญที่น่าใจหลายประเด็น อ.ชล ได้นำเสนอข้อมูลว่า แม้ประเทศสมาชิก ๑๙๓ ประเทศให้การรับรอง SDGs แต่เป็นข้อตกลงแบบไม่มีการผูกมัด หรือ Non-Binding Agreement คือ “ไม่ทำก็ได้ ไม่ใครว่าอะไร แต่ก็จะอับอายประเทศอื่น ๆ ได้”  แต่ด้วยรูปแบบนี้กลับทำให้หลาย ๆ ประเทศมีความ Active ในการดำเนินงานและขับเคลื่อน SDGs มาก ๆ ซึ่ง อ.ชลได้ย้ำว่า ความสำคัญของการขับเคลื่อน SDGs อยู่ที่ Means of Implementations 

          สำหรับสถานการณ์การขับเคลื่อน SDGs ในภาพรวมปัจจุบัน พบว่า การดำเนินงานด้าน SDGs ไม่เป็นไปตามแผนเพื่อจะบรรลุ 169 Targets และบางมิติยังสวนทางกับเป้าหมายอีกด้วย แต่ละภูมิภาคมีประเด็นที่เสื่อมถอยและก้าวหน้าแตกต่างกันไป ทั้งยังมีปัญหาในด้านการเก็บข้อมูล การวิเคราะห์ประเมินและพัฒนาตัวชี้วัด การดำเนินการของแต่ละประเทศทั้งหมด ยังเป็นแบบ Business as Usual คือ ทำแบบปกติทั่วไป และยังไม่ค่อยมีการดำเนินงานแบบ Transformation คือ มีการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างและระบบของการขับเคลื่อน SDGs ให้บูรณาการมากขึ้นกว่านี้ ซึ่ง อ.ชล ทำนายไว้ว่า หากแต่ละประเทศยังขับเคลื่อน SDGs ในลักษณะการทำงานแบบปกติทั่วไปเช่นเดิม โลกจะไม่สามารถบรรลุ SDGs ได้ในปี ค.ศ. 2030 ยิ่งทั่วโลกประสบปัญหากับสถานการณ์โควิด-๑๙ ยิ่งทำให้สถานการณ์ของเป้าหมายต่าง ๆ หยุดชะงักและถดถอยไปเลย ซึ่งมันักวิชาการหลายท่านได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนแบบ Transformation เช่น งานของ Jeffrey D. Sachs และคณะ ที่นำเสนอ “Six Transformations to Achieve The SDGs” กับ “The Future is Now Science for Achieving Sustainable Development” ใน Global Sustainable Development Report 2019 

          ซึ่ง Sachs และคณะ เสนอว่า การเปลี่ยน Key Interventions เป็น Intermediate Output คือ Output ระดับ Targets แทน เพื่อบรรลุ SDGs โดยต้องมีหลักในการออกแบบยุทธศาสตร์ Transformations คือ ต้องร่วมกันทำ และต้องทำอย่างชัดเจนและครอบคลุม ต้องทำอย่างเป็นระบบ ต้องสอดคล้องกับภาครัฐ ต้องสื่อสารให้ง่าย และ Few in Numbers 

          Sachs และคณะ ยังเสนอการขับเคลื่อนใน ๖ ประเด็นสำคัญ คือ การศึกษา เพศ และความเท่าเทียม สุขภาพ สุขภาวะ และประชากรศาสตร์ การลดพลังงานคาร์บอนและเน้นอุตสาหกรรมที่ยั่งยืน ความยั่งยืนด้านอาหาร ที่ดินทำกิน น้ำและทรัพยากร ความยั่งยืนของเมืองและชุมชน และการปฏิวัติด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

         ทั้งยังต้องให้ความสำคัญกับการจัดการกับความขัดกันของเป้าหมาย (Trade-Off) เพื่อให้บรรลุ Intermediate Output โดยต้องอยู่บนหลักการ ๒ ประการ คือ การพัฒนาที่ครอบคลุม ให้ความสำคัญกับการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสให้คนเปราะบาง และมีเป้าหมายให้การพัฒนาเศรษฐกิจโดยไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 

          ส่วน “The Future is Now Science for Achieving Sustainable Development” ใน Global Sustainable Development Report 2019 ได้กล่าวถึงว่า การจะบรรลุ SDGs ต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานอย่างเร่งด่วนและมีการวางแผนในระบบสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม แต่ละพื้นที่แม้จะมีบริบทและเป้าหมายแตกต่างกัน แต่ก็ส่งเสริมกันขึ้นมาในระดับภูมิภาคและระดับโลก เพื่อให้เกิดความเป็นอยู่ที่ดี สังคมที่มีสุขภาวะและจำกัดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะเกิดขึ้น Transformation ต้องเป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่แตกต่างอย่างสำคัญไปจากสิ่งที่ทำกันมา (Business as Usual)  รวมทั้งสิ่งที่แตกต่างจาก Business as Usual คือ การดำเนินนโยบายทั้งการปฏิบัติและนโยบายความรู้ โดยคำนึงถึงความเชื่อมโยงและปฏิสัมพันธ์ระหว่างเป้าหมาย (Goals) และ เป้าประสงค์ (Targets) ต่าง ๆ เพื่อลด Trade-Offs และเสริมพลัง (Synergies)

          (ติดตามตอนต่อไป)

          นภินทร ศิริไทย

คำสำคัญ (Tags): #km#SDGs
หมายเลขบันทึก: 688709เขียนเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2021 14:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 2 กุมภาพันธ์ 2021 14:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท