สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on Health Practice in Occupational Therapy During the Covid-19 Pandemic


           ในสถานการณ์การระบาดของ Covid-19 นี้ เทคโนโลยีต่างๆ ได้ถูกหยิบยกมาใช้เพื่อรับมือกับวิกฤตที่เกิดขึ้น หนึ่งในเทคโนโลยีที่มีการเติบโตอย่างก้าวกระโดดในช่วงนี้คือ Telehealth โดย Telehealth คือการการนําเทคโนโลยีที่ช่วยให้ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์สามารถพูดคุยกันได้แบบ Real-time เช่นเดียวกับการสื่อสารผ่านระบบ VDO conference ที่คู่สนทนาสามารถมองเห็นหน้าและสนทนากันได้ทั้ง 2 ฝ่าย ไม่มีข้อจำกัดในเรื่องเวลาและสถานที่ ง่าย สะดวกสบาย ประหยัดเวลา ทั้งยังได้รับบริการเหมือนกับการมารับบริการที่โรงพยาบาล การบริการ Telehealth เป็นที่นิยมในการดูแลรักษาโรคต่างๆ เช่น การปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยเบื้องต้นที่อาการไม่รุนแรงหรือการปรึกษาติดตามผลการรักษาของโรคเรื้อรัง โดยในที่นี้จะรวมไปถึงการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดด้วยเช่นกัน

               โดยในการที่จะเริ่มต้นการบำบัดทางกิจกรรมบำบัดแบบ Telehealth ได้จะต้องมีการพูดคุยตกลงกับผู้รับบริการและครอบครัวของผู้รับบริการ มีการชี้แจงในเรื่องของนโยบายและความเป็นส่วนตัว เพื่อให้เกิดความยินยอมของทุกๆฝ่าย มีการวางแผนและแสดงความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้บำบัดและครอบครัวผู้รับบริการและที่สำคัญต้องรักษาบทบาทของผู้บำบัดให้ชัดเจน ซึ่งการให้การบำบัดก็จะแบ่งเป็น Parent coaching  คือ การนำแนวคิดเชิงบวกมาเป็นแนวทางในการชี้แนะผู้ปกครองที่ใกล้ชิดกับเด็ก  ได้เรียนรู้เรื่องราวใหม่ๆ ได้รู้จักตัวตนของตัวเองและได้พยายามใช้เทคนิคจากผู้บำบัดจนได้รับรู้ว่าจริงๆแล้วลูกกำลังรู้สึกอย่างไร และรับมือพร้อมแก้ปัญหาได้ทัน นอกจากนี้ยังสามารถนำเทคนิคไปส่งต่อช่วยเหลือผู้อื่นได้อีกด้วย วิธีต่อไปคือ Teletherapy คือ การที่ผู้รับบริการได้รับการบำบัดจากผู้บำบัดโดยตรงโดยผ่านอุปกรณ์ทางอิเล็กโทรนิกส์ที่สามารถฉายภาพได้เช่น คอมพิวเตอร์หรือโน้ตบุ้ค เป็นต้นและวิธีสุดท้ายคือ Counselling คือการให้คำแนะนำหรือคำปรึกษากับผู้ดูแล

               นักกิจกรรมบำบัดสามารถใช้ กระบวนการทางกิจกรรมบำบัด(OT process)ได้ในทุกขั้นตอนในการทำ Telehealth ซึ่งเริ่มตั้งแต่การประเมิน, การให้รักษา, การติดตามผลและการให้คำแนะนำ ซึ่งการที่จะทำการบำบัดแบบ Telahealth ได้อย่างมีประสิทธิภาพจะต้องมีการเตรียมพร้อม มีทักษะการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ดี มีการวิเคราะห์กิจกรรมและวางแผนสำรองเผื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน นอกจากนี้นักกิจกรรมบำบัดควรที่จะมีความรู้เกี่ยวกับอุปกรณ์และโปรแกรมที่ใช้และควรซ้อมการใช้งานกับผู้ปกครองก่อนเริ่มทำจริงเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างราบรื่น

               การทำ Telehealth มีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยข้อดีคือ สามารถลดภาวะความเสี่ยงจากการสัมผัสตัวกันซึ่งอาจจะทำให้เกิดโรคได้, สามารถยืดหยุ่นตารางเวลาในการทำกิจกรรม, ประหยัดเวลาและค่าเดินทาง, สถานที่มีความเป็นส่วนตัวและได้เห็นผู้รับบริการในบริบทจริง ในส่วนของข้อเสียคือ การเข้าถึงอุปกรณ์และเทคโนโลยีที่ไม่สามารถเข้าถึงได้ทุกคน, ระบบที่ใช้เชื่อมต่อไม่มีประสิทธิภาพ,อาจเกิดความคลาดเคลื่อนในการรักษา ซึ่งจากข้อดีและข้อเสียที่ได้กล่าวมาทำให้การบำบัดด้วย Telehealth ยังไม่ได้เข้าถึงความต้องการของผู้รับบริการมากเท่าที่ควรเนื่องจากข้อจำกัดหลายอย่าง ซึ่งก็หวังว่าภายในอนาคตจะสามารถแก้ไขในปัญหานี้และสามารถเข้าถึงบริการทาง Telehealth ได้อย่างทั่วถึง

               สุดท้ายนี้ต้องขอขอบพระคุณนักกิจกรรมบำบัดทั้งสามท่านที่ให้เกียรติมาแลกเปลี่ยนและแบ่งปันประสบการณ์การทำงานในเรื่องของเทคโนโลยี Telehealth ทำให้ได้ความรู้และประสบการณ์ที่ดีในการที่จะนำไปใช้ในอนาคตได้

คำสำคัญ (Tags): #ot#wellbeing#telehealth#COVID19
หมายเลขบันทึก: 688390เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 23:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 23:55 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากกระทู้ข้างต้น ได้มีการนำความรู้จาก conference ทั้งสาม session มาสรุปรวมกันเป็นข้อมูลชุดเดียว ทำให้อ่านแล้วสามารถเข้าใจได้ง่าย มีการยกตัวอย่างทั้งข้อดีและข้อเสีย ทำให้เราสามารถนำความรู้ที่เพื่อนสรุปข้างต้นมาปรับใช้ได้ทั้งการบริการโดยทั่วไปและการบริการในรูปแบบ Telehealth ในการทำงานของตนเองในอนาคตได้ค่ะ

จากที่ได้อ่านข้อมูลทำให้เรียนรู้ข้อมูลทั้งข้อดีข้อเสียจากมุมมองที่แตกต่างกันออกไป รวมถึงการบำบัดทางกิจกรรมการรักษาที่พูดถึงการซ้อมก่อนการใช้งานจริงเพื่อให้เกิดการรักษาได้อย่างราบรื่น

จากการที่ได้อ่านข้อมูลในเรื่อง telehealth แล้วทำให้ได้รู้ว่าเราสามารถนำทุกๆขั้นตอนใน OT process มาทำผ่านการทำ telehealth ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลสูงสุดถึงแม้จะอยู่ในสถานการณ์ที่มีโรคระบาดของโรค covid-19 ก็ตามและเชื่อว่าเราจะสามารถปรับระบบของ telehealth ให้ก้าวหน้าและมีประโยชน์ได้มากกว่านี้อีกแน่นอนค่ะ

จากการอ่านสรุปของอรจิรา มีความเห็นว่า สามารถสรุปเนื้อหาได้ครบถ้วนชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการกิจกรรมบำบัดในรูปเเบบ Telehealth ซึ่งดิฉันเห็นด้วยว่า การทำ Telehealth มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ดังนั้น เมื่อนักกิจกรรมเลือกที่ใช้รูปเเบบนี้ในการให้การบริการ ก็จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการหรือออกเเบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับความสามารถเเละตรงกับเป้าประสงค์ในการรักษาของผู้รับบริการ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท