สะท้อนการเรียนรู้ในหัวข้อ Perspective on health practice in occupational therapy during the COVID-19 pandemic


     จากการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำ telehealth ผ่านอาจารย์รุ่นพี่นักกิจกรรมบำบัด นับว่าเป็นการเรียนรู้ครั้งใหม่ ที่ได้ฟังจากประสบการณ์ที่อาจารย์รุ่นพี่เคยได้ทำมาค่ะ

•สะท้อนความรู้ในช่วงที่ 1 จากอาจารย์ปวีณา

    จากความรู้ที่ได้จากการฟังทำให้เห็นถึงกระบวนการตั้งแต่เริ่มแรกในการทำ telehealth ตั้งแต่การพูดคุยเพื่อให้ยินยอมในการรักษา,การคุยกับผู้ปกครองและผู้รับบริการ,การวางแผนและตั้งเป้าหมายการรักษาและการส่งเอกสารผ่านอีเมล 

โดยการให้การรักษาแบ่งออกเป็น 3 แบบ

1.Parent coaching 

  • ผู้บำบัดสอนให้ผู้ปกครองเป็นคนทำกิจกรรมร่วมกับผู้รับบริการจากนั้นมา discuss กับผู้ปกครองแล้วให้feedback กับ OT

2.Teletherapy

  • จัดกิจกรรมกับเด็กโดยตรงโดยมีผู้ปกครองอยู่ด้วย

3.Counselling

  • ให้คำแนะนำผู้ปกครองเกี่ยวกับแนวทางในการจัดกิจกรรม

นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้การบำบัดวิธีต่างๆผ่านCase study ซึ่งทำให้เห็นภาพในรักษาชัดเจนมากขึ้น และสุดท้ายอาจารย์ได้กล่าวถึงข้อดีและข้อเสียของการทำ telehealth อีกด้วย

•สะท้อนความรู้ในช่วงที่ 2 จากอาจารย์กีรติ

   จากความรู้ที่ได้จากการฟัง ขั้นตอนในการทำTelehealth ประกอบด้วย evaluation,consultation,intervention และmonitoring  ซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ในทุกชั้นตอนของ OT process ซึ่งตัวผู้บำบัดควรจะมีทักษะในด้านการวิเคราะห์กิจกรรม,การแก้ปัญหา,การจัดการเวลาที่ดี และนอกจากทักษะเหล่านี้นักกิจกรรมบำบัดควรเตรียมความพร้อมโปรแกรมที่ใช้ เรียนรู้การใช้โปรแกรมเพื่อให้การรักษาจริงเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสามารถทำให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้เช่นกัน นอกจากนี้ ได้เรียนรู้วิธีการจัดการพฤติกรรม เช่น จัดการสิ่งแวดล้อม,ลดคำที่เป็นการสื่อสารเลิงลบ (อย่า/ไม่) และการปรับเปลี่ยนความยากง่ายกิจกรรมของกิจกรรมเพื่อใหีผู้รับบริการไม่รู้สึกเบื่อ สุดท้ายได้เรียนรู้เทคนิคในการสัมภาษณ์และการให้คำปรึกษาที่จะเป็นเทคนิคที่สำคัญที่จะนำไปใช้ต่อในวิชาชีพต่อไป

•สะท้อนความรู้ในช่วงที่ 3 จากอาจารย์ศุภธิดา

   จากความรู้ที่ได้จากการฟัง ในการจัดทำ Teleconhealth ซึ่งสัมพันธ์กับสหวิชาชีพ ทำให้ผู้รับบริการสามารถติดตามผลได้อย่างสะดวกและต่อเนื่อง ซึ่งการทำ Teleconsultation เป็นการปรึกษาในด้านสุขภาพรวมถึงการทำกิจวัตรในประจำวัน ซึ่งวิธีนี้มีทั้งข้อดี เช่น ลดการเดินทาง และข้อเสีย เช่น ผู้รับบริการบางกลุ่มอาจยังเข้าไม่ถึงหรือขาดโอกาสในการใช้เทคโนโลยี ส่วนการทำ Telerehabilitation คือการให้บริการฟื้นฟูสุขภาพ โดยมีทั้งข้อดีคือการได้ฝึกในบริบทจริง และข้อเสีย เช่น ผู้รับบริการมีการให้ร่วมมือไม่มากพอ,อุปกรณ์ไม่มีในสิ่งที่ผู้บำบัดอยากฝึก เป็นต้น

จากการที่ได้เรียนรู้ในครั้งนี้ทำให้ได้รับความรู้และประสบการณ์จริงจากอาจารย์รุ่นพี่ที่เป็นประโยชน์อย่างมาก ในช่วงการทำงานช่วงCOVID-19 ซึ่งทำให้เห็นถึงการปรับเปลี่ยนแนวทางการบำบัด และสามารถนำไปปรับใช้ได้จริงในอนาคตค่ะ

หมายเลขบันทึก: 688389เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 23:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 23:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

มีการสรุปเนื้อหาสำคัญได้ชัดเจน ทำให้อ่านแล้วเข้าใจได้ง่าย และเห็นด้วยกับประโยคที่ว่า ผู้บำบัดควรจะมีทักษะในด้านการวิเคราะห์กิจกรรม การแก้ปัญหา และการจัดการเวลาที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งที่สามารถนำมาปรับใช้กับตนเองในการทำงานในอนาคตได้ค่ะ

จากการที่ได้อ่านเนื้อหาที่มีการสรุปเรียบเรียงมาพบว่ามีการสรุปเนื้อหาสำคัญได้อย่างชัดเจน เข้าใจได้ง่าย และสามารถนำมาใช้กับการทำงานได้จริง ในข้อมูลส่วนที่ต้องมีการวางแผนก่อนทำจริงเพื่อลดข้อผิดพลาดที่จะเกิดขึ้น

จากการที่ได้อ่านการสรุปความรู้เกี่ยวกับเรื่อง telehealth ด้านบน รู้สึกเห็นด้วยตรงที่ว่าเราควรมีการเตรียมความพร้อมที่รัดกุมในการรักษาผ่านทาง telehealth และรวมไปถึงการพูดถึงผลเสียที่เกิดขึ้นในการทำ telehealth ซึ่งควรนำไปปรับปรุงเพื่อที่จะทำให้การใช้ telehealth มีประสิทธิภาพที่มากขึ้นได้อีกในอนาคต

เนื้อหาที่นัทธ์สิรีกาญจน์ได้สะท้อนความรู้นั้นมรความครบถ้วน ซึ่งเห็นด้วยกับที่บอกว่าการที่มีรุ่นพี่ที่มีประสบการณ์มาให้ความรู้นั้นทำให้ได้เห็นถึงประโยชน์ของtelehealthในบทบาทของนักกิจกรรมบำบัดมากขึ้น telehealthนั้นเหมาะที่จะเป็นทางเลือกหนึ่งในสถานการณ์โควิดแต่ก็ยังมีข้อจำกัดอีกหลายๆที่ไม่สามารถทำได้ นักกิจกรรมบำบัดก็จะต้องมีการเตรียมตัวกับสถานการณ์ต่างๆอยู่เสมอ

   จากการอ่านสรุปของนัทธ์สิรีกาญจน์ มีความเห็นว่า สามารถสรุปเนื้อหาได้ครบถ้วนชัดเจนเกี่ยวกับการให้บริการกิจกรรมบำบัดในรูปเเบบ Telehealth  ซึ่งดิฉันเห็นด้วยว่า ในการจัดทำ Telehealth  ตัวผู้บำบัดควรจะมีทักษะในด้านการวิเคราะห์กิจกรรม,การแก้ปัญหา,การจัดการเวลาที่ดี และนอกจากทักษะเหล่านี้นักกิจกรรมบำบัดควรเตรียมความพร้อมโปรแกรมที่ใช้ เรียนรู้การใช้โปรแกรมเพื่อให้การรักษาจริงเป็นไปได้อย่างราบรื่นและสามารถทำให้ผู้รับบริการเข้าถึงได้เช่นกัน
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท