สะท้อนความรู้จากหัวข้อ Telehealth


          Telehealth หรือ Teletherapy   คือการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ร่วมกับการบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัด เช่น การทำกิจกรรมบำบัดผ่านโปรแกรมที่ส่งเสริมสุขภาพ การให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดผ่านการวิดีโอคอล แสดงให้เห็นถึงการปรับตัวของมนุษย์จากการรักษาทางกิจกรรมบำบัดในบางครั้งอาจไม่จำเป็นต้องทำการรักษาตัวต่อต่อตัว

          การใช้โปรแกรมการรักษาแบบtelehealth ต้องมีการตกลงร่วมกันของผู้รับบริการ ผู้ดูแล(เช่น ผู้ปกครอง , คนในครอบครัว) และนักกิจกรรมบำบัด ถึงเป้าหมายในการให้บริการทางกิจกรรมบำบัด ประเมินความสามารถของผู้รับบริการที่จะจดจ่ออยู่กับการใช้สื่อในการรักษา ความพร้อมของผู้ดูแลในการสนับสนุนผู้รับบริการ รวมไปถึงความพร้อมที่จะรับฟังคำแนะนำของนักกิจกรรมบำบัดในการให้ความช่วยเหลือผู้รับบริการขณะทำกิจกรรม และความพร้อมของอุปกรณ์ของผู้รับบริการ

          ในการเริ่มการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ขั้นตอนของการบำบัดรักษาผ่าน Telehealth นั้นมีขั้นตอนการรักษาใกล้เคียงกับการพบนักกิจกรรมบำบัดที่คลินิก แต่มีการให้ผู้ดูแลมีส่วนร่วมในการรักษามากขึ้น โดยต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำของนักกิจกรรมบำบัด เพื่อให้การรักษาทางกิจกรรมบำบัดไปสู่เป้าหมายการรักษาที่ตั้งเอาไว้

          การรักษาแบบ Telehealth มีเริ่มความสำคัญเนื่องจากสถานการณ์Covid-19 มีในส่วนของ Teleconsultation ที่เน้นเป็นการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาด้านสุขภาพ และTelerehabilitation ที่เน้นในการฟื้นฟูด้านสุขภาพของผู้รับบริการ


ข้อดีของการรักษาแบบ Telehealth

-เหมาะกับสถานการณ์การป้องกัน Covid-19 ตอนนี้

-เหมาะกับผู้รับบริการที่ไม่สะดวกเดินทางไปยังคลินิก สามารถรักษาทางกิจกรรมบำบัดทางไกลได้

-ผู้รับบริการได้รับการฝึกในสิ่งแวดล้อมจริงที่ตนเองอยู่

-ประหยัดเวลามากขึ้น (เนื่องจากไม่ต้องเดินทาง)


ข้อเสียของการรักษาแบบ Telehealth

-มีข้อจำกัดทางการรักษา เนื่องจากที่บ้านของผู้รับบริการอาจไม่ได้มีอุปกรณ์ส่งเสริมเหมือนอย่างในคลินิก

-อาจมีการขัดข้องของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

-ขาดการรักษาแบบเจอตัวต่อตัว ซึ่งอาจไม่ได้ประสิทธิภาพในการรักษาเท่าที่ควร

หมายเลขบันทึก: 688381เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 18:02 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยกับการการเตรียมความพร้อมในหลายๆด้านทั้งด้านตัวผู้บำบัดเอง ผู้รับบริการ ผู้ดูแล รวมถึงอุปกรณ์และสถานที่ ตลอดช่วงบำบัดรักษาแบบ Telehealth ซึ่งการที่มีความพร้อมในด้านต่างๆนี้มีความสำคัญอย่างมากเพื่อให้เกิดการบำบัดรักษาได้อย่างมีประสิทธภาพ

จากบทความข้างต้น เห็นด้วยกับประเด็นที่การให้บริการผ่าน Telehealth นั้น มีทั้งข้อดีและข้อจำกัดหลายด้าน ข้อดีข้อหนึ่งที่ผมคิดว่าเป็นจุดแข็งของการให้บริการทางสุขภาพผ่าน Telehealth คือ ผู้รับบริการได้ฝึกหรือบำบัดฟื้นฟูในสิ่งแวดล้อมจริงที่เป็นของผู้รับบริการเอง แต่ขอเห็นต่างในประเด็นที่ผู้เขียนมองว่าข้อเสียของ telehealth อย่างหนึ่งคือ ที่บ้านของผู้รับบริการอาจไม่มีอุปกรณ์ที่ส่งเสริมเหมือนอย่างในคลินิก หากมองในแง่ของการให้บริการทางกิจกรรมบำบัดแล้ว นักกิจกรรมควรออกแบบกิจกรรมที่มีความยืดหยุ่น ปรับระดับความยากง่าย และใช้อุปกรณ์ที่ผู้รับบริการมีให้สอดคล้องกับการบำบัดรักษาได้ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้บำบัดเอง และการให้ความร่วมมือของผู้รับบริการและญาติด้วย

จากบทความ ผู้เขียนได้พยายามอธิบาย telehealth ผ่านบทบาทของกิจกรรมบำบัด โดยสามารถบอกข้อดีเเละข้อเสียไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ ผู้เขียนได้สรุปความสำคัญของ teletherapy ที่สอดคล้องกันสถานการณ์โรคติดต่อในปัจจุบัน เเละวิธีการอย่างคร่าวๆเพื่อเป็นเเนวทางที่สามารถนำไปใช้หรือศึกษาต่อได้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท