สะท้อนการเรียนรู้วิชากิจกรรมบำบัดในชุมชนครั้งที่4


    

       จากการที่ดิฉันได้เรียนรู้เรื่องการให้การบำบัดรักษาทางกิจกรรมบำบัดโดยวิธีการ telehealth ทำให้รู้ว่าการทำtelehealthกับผู้รับบริการได้นั้นต้องมองที่หลายปัจจัยประกอบด้วย เช่น ความพร้อมทางเทคโนโลยีของผู้รับบริการ สัญญาณอินเทอร์เน็ต ความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีของผู้รับบริการ ด้วยจึงจะสามารถใช้วิธีการบำบัดนี้ได้ ซึ่งจากการที่ได้ฟังการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำtelehealthในเด็กของอาจารย์ปวีณา จะสรุปได้ว่าการบำบัดในรูปแบบนี้กับผู้รับบริการเด็กจะแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ คือ

1. Parent coaching คือการที่นักกิจกรรมบำบัดจะให้ผู้ปกครองทำหน้าที่ไหนการฝึกผู้รับบริการและนักกิจกรรมบำบัดจะมีหน้าที่คอยเเนะนำผู้ปกครองว่าควรจะทำอย่างไร

2. Teletherapy คือการที่นักกิจกรรมบำบัดจะทำหน้าที่ฝึกผู้รับบริการการเองผ่านสื่ออิเล็กโทรนิกส์ เช่น การฝึกผ่านซูม และมีผู้ปกครองคอยช่วยเหลืออยู่ข้างๆผู้รับบริการ

3. Counselling คือการที่นักกิจกรรมบำบัดจะให้คำแนะนำกับผู้ปกครองเพื่อให้ผู้ปกครองสามารถนำไปฝึกผู้รับบริการเองที่บ้านได้ เช่น กิจกรรมที่ควรจะฝึก อาจจะให้เป็นตารางกิจกรรมในแต่ละวัน

ส่วนการเเลกเปลี่ยนของอาจารย์กีรติทำให้เห็นว่าการนำเทคโนโลยีมาช่วยในการบำบัดรักษานั้นได้เริ่มทำมาตั้งเเต่ช่วง ค.ศ.1844 ผ่านการใช้โทรเลขเเละเริ่มนำมาให้มากขึ้นในช่วงนี้ที่เกิดการระบาดของ COVID-19 ซึ่งประโยชน์ของการนำ telehealthมาใช้จะทำให้ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงนักกิจกรรมบำบัดได้มากขึ้น ทำให้สะดวกสะบายไม่ต้องเดินทาง และสามารถให้การบำบัดรักษาได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง telehealthยังสามารถนำมาใช้ได้ทุกกระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ทั้งการประเมิน การให้คำแนะนำ การให้ home programe และการให้การบำบัดรักษา อีกด้วย และการเเลกเปลี่ยนประสบการณ์ของอาจารย์ศุภธิดาจะทำให้เห็นถึงข้อดีข้อเสียของการใช้ telehealthที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น การประหยัดเวลา การได้รับข้อมูลของทีมสหวิชาชีพอื่นมากขึ้น และยังได้เห็นตัวอย่างของการให้การบำบัดรักษาแบบtelehealthของรุ่นพี่ทำให้เห็นการใช้telehealthในการรักษามากขึ้นด้วย

หมายเลขบันทึก: 688379เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 16:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

จากการอ่านการสะท้อนการเรียนรู้ เห็นด้วยกับที่บอกว่า telehealth มีข้อดี เช่น มีความสะดวกสบายต่อการเดินทางและสามารถให้การรักษาได้อย่างต่อเนื่อง

มีการสรุปรูปแบบการทำโทรเวชกรรมได้สั้นและกระชับ มีความสนใจ เห็นด้วยกับข้อมูลในจุดนี้ซึ่งควรจะคำนึงและเลือกใช้ในแต่ละกรณีให้เหมาะสมกับแต่ละเคสครับ ขอชื่นชมในจุดนี้ครับ

จากการอ่านบทความข้างต้น ฉันรู้สึกเห็นด้วยกับการที่เราสามารถนำเอาtelehealthมาใช้ได้กับทุกกระบวนการรักษาทางกิจกรรมบำบัด ยกตัวอย่างเช่น การประเมิน การให้คำแนะนำ การให้home program และการให้การบำบัดรักษา

จากที่ได้อ่านบทความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยกับการที่จะต้องมองปัจจัยหลายๆด้านของการทำ Telehealth ที่ทำให้สามารถเกิดการบำบัดรักษาแนวทางนี้ได้อย่างมีประสิทธิ และได้เรียนรู้ถึงประวัติของ Telehealth ที่มีมาอย่างยาวนาน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท