สะท้อนการเรียนรู้ Perspective on health practice in Occupational therapy during the COVID-19


            จากการเรียนรู้ในหัวข้อนี้ ขอสรุปการสะท้อนการเรียนรู้ และแสดงความคิดเห็นดังนี้

            การทำ Telehealth เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับการฝึกทางกิจกรรมบำบัดในสถานการณ์ COVID-19 ที่ต้องงดการรวมกลุ่มคนหรือเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ( Social Distancing ) ซึ่งสามารถฝึกได้แม้จะอยู่ที่บ้านหรือสถานที่ที่สะดวกสำหรับผู้รับบริการแต่ละราย Setting และรูปแบบการอาจจะเปลี่ยนแปลงไปได้ตามสถานการณ์ ดิฉันคิดว่าการฝึกด้วยรูปแบบการทำ Telehealth เป็นการฝึกที่สะดวกสบาย เพราะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและเวลาในการเดินทาง สามารถฝึกที่บ้านของตัวเองได้ ได้ฝึกในบริบทจริงของผู้รับบริการ เราจะได้เห็นการทำกิจกรรมนั้นจริงๆของผู้รับบริการ เช่น การรับประทานอาหาร การสวมใส่เสื้อผ้า ลักษณะ สภาพแวดล้อมของที่อยู่อาศัยว่าเอื้อต่อการประกอบกิจกรรมหรือไม่ อีกทั้งยังมีความปลอดภัยด้านของเรื่องโรคติดต่อ เช่น COVID-19 แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ยังคงมีข้อเสีย นั่นก็คือข้อจำกัดด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีหรืออินเตอร์เน็ต เช่น อุปกรณ์ไม่พร้อม อินเตอร์เน็ตไม่เสถียร หรือผู้สูงอายุใช้งานไม่เป็น เป็นต้น สิ่งแวดล้อมภายในสถานที่ไม่เอื้ออำนวย มีสิ่งเร้ารบกวน ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลไม่มีความอดทน ดุผู้รับบริการ และในฐานะนักศึกษากิจกรรมบำบัดยังเห็นว่า การฝึกรูปแบบนี้ทำให้เราไม่สามารถประเมินตัวต่อตัวกับผู้รับบริการได้ว่าผู้รับบริการมีความสามารถอย่างไรและเกิด Progression ของการฝึกหรือไม่  
            การทำ Tele therapy ในเด็กเล็กหรือเด็กสมาธิสั้นส่วนใหญ่จะต้องมีผู้ปกครองคอยดูแลอยู่ข้างๆ แต่ถ้าไม่สะดวกอาจจะใช้เป็นวิธี Counselling แล้วสอบถามความคืบหน้าในครั้งถัดไป การฝึกจะมีหลายวิธีเพื่อปรับให้เหมาะสมกับความต้องการและความสะดวกต่อครอบครัวของผู้รับบริการด้วย

    สิ่งที่น่าสนใจอีกสิ่งหนึ่งสำหรับหัวข้อนี้ คือ แอพพลิเคชัน Care4Caregiver ซึ่งสามารถทำให้ผู้รับบริการ Follow up กับทีมสหวิชาชีพได้ โดยช่องแชทในแอพพลิเคชันและช่อง Teleconsultation สามารถใส่ข้อมูลการรับประทานยา การควบคุมอาหารตามหลักโภชนาการและข้อมูลการขับถ่ายได้ นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์อย่างมากต่อผู้รับบริการและบุคลากรทางการแพทย์

            ขอขอบคุณครูพี่แนน นักกิจกรรมบำบัด,  พี่กีรติ OTMU รุ่น1และอาจารย์โม ที่ให้ความรู้และคำแนะนำในคาบนี้ ทำให้เห็นภาพบทบาทรวมทั้งการทำงานด้านวิชาชีพกิจกรรมบำบัดผ่านอุปกรณ์สื่อสารและเทคโนโลยีในช่วงวิกฤติ COVID-19 มากขึ้น 

หมายเลขบันทึก: 688384เขียนเมื่อ 16 มกราคม 2021 20:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มกราคม 2021 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-ไม่ดัดแปลงจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

บทความน่าสนใจ มีการพูดถึงตัวอย่าง แอพลิเคชั่นที่สามารถใช้ได้ในการ Telehealth คือ Care4Caregiver โดยมีฟังชั่นหลายอย่างให้ได้ใช้ในตัวแอพ และเห็นด้วยกับข้อดีและข้อเสียของการใช้วิธีนี้กับกิจกรรมบำบัดในสถานการณ์ COVID19

จากการอ่านบทความนี้ เห็นด้วยอย่างยิ่งในเรื่องของประโยชน์ของ Telehealth และข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมทั้งความน่าสนใจของแอพพลิเคชัน Care4Caregiver ที่มีความสะดวกและใช้งานได้ง่าย นอกจากนี้ขอเพิ่มเติมถึง platform อีก 1 อย่างนอกจาก Teletherapy และ Counselling นั่นก็คือ Parent coaching ที่ผู้ปกครองเป็นส่วนหนึ่งในการทำกิจกรรมกับผู้รับบริการ

เห็นด้วยจากการคำนึงถึงบริบทในข้อจำกัดทางด้านปัจจัยและอุปกรณ์ของกลุ่มผู้รับบริการที่เกิดขึ้นครับ เพราะปัจจัยเหล่านี้อาจส่งผลอย่างมากในขั้นตอนและความก้าวหน้าของการฝึกทางกิจกรรมบำบัดครับ ขอชื่นชมที่มีการระบุถึงข้อมูลในส่วนนี้ครับ

จากการอ่านบทความข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยกับการที่ฝึกผ่าน Telehealth จะทำให้เราได้เห็นการดำเนินกิจวัตรประจำวันผ่านสภาพแวดล้อมและบริบทจริงของผู้รับบริการ สามารถรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่อาจจะไม่สามารถประเมินแบบตัวต่อตัวระหว่างนักกิจกรรมบำบัดและผู้รับบริการได้ ทำให้การประเมินบางอย่างไม่สามารถทำได้ และเกิดข้อจำกัดขึ้น นอกจากนี้ดิฉันสนใจถึงการนำแอพพลิเคชัน Care4Caregiver มาใช้ร่วมกันกับสหวิชาชีพในชุมชน ซึ่งจะทำให้การเก็บข้อมูลทางสุขภาพและการติดตามผลสะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้อาจมีข้อจำกัดบางอย่าง คือ อาจจะใช้งานยากสำหรับผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาทางสายตา

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท